ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562 ได้กำหนดกลไกการจัดระบบสุขภาพปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิดูแลประชาชนในสัดส่วน ที่เหมาะสมรวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรม มีคุณภาพ และมาตรฐาน ซึ่งมีกระบวนการในการประสานความร่วมมือเพื่อจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและภาคประชาชน รวมทั้งการส่งต่อผู้รับบริการ และการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยบริการทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ประกอบกับนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีนโยบาย 9 ด้าน 9 ดี ในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จึงมีการดำเนินการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพแบบนำร่องโดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย สำนักงานเขตพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถานพยาบาลเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์หลักในด้านการบริการ ในระดับปฐมภูมิ การพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล การขยายโรงพยาบาลเมือง 10 - 90 เตียง ระบบดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะฟื้นฟู ผู้ป่วยแบบประคับประคอง และเวชศาสตร์เขตเมืองโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และมีคำสั่งกรุงเทพมหานครแต่งตั้งคณะทำงานการขับเคลื่อนระบบบริการปฐมภูมิ เพื่อการขับเคลื่อนนโยบาย สำนักอนามัย มีบทบาทหน้าที่ในการให้บริการการแพทย์และสาธารณสุข ครอบคลุมทั้งในด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การบำบัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและการบำบัด ยาเสพติดการจัดการสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลที่ดีให้กับประชาชน โดยมีการบูรณาการการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานภายในสำนักอนามัย และหน่วยงานภายนอก รวมทั้งภาคีเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาวะของประชาชนในลักษณะองค์รวม (Holistic care) ซึ่งการดำเนินงานของสำนักอนามัยมียุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเชิงรุก รวมทั้งการฟื้นฟูสุขภาพและสังคมสงเคราะห์แบบครบวงจร บนพื้นฐานข้อมูลจริง จำแนกตามพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายรวมถึงการสร้างขยายพัฒนา และจัดการเครือข่ายสนับสนุนบริการ ทางการแพทย์การสาธารณสุข และในปีงบประมาณ พ.ศ 2565 ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย 69 แห่ง ได้ผ่านการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 และมีเครือข่ายหน่วยบริการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมดำเนินงาน ซึ่งในการดำเนินงานดังกล่าวประกอบไปด้วยทีมสหวิชาชีพโดยมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นหัวหน้าทีม และมีจุดมุ่งหมายเพื่อดูแลสุขภาพของบุคคลในเขตพื้นที่ ในลักษณะองค์รวมตั้งแต่แรกต่อเนื่องและผสมผสานครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ มีการเชื่อมโยง การทำงาน กับภาคีเครือข่าย ชุมชน และหน่วยบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขระดับทุติยภูมิและตติยภูมิจากความสำคัญดังกล่าวสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข จึงจัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐานเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิของศูนย์บริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้น
08940000/08940000
เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุข และศูนย์บริการสาธารณสุขสาขา
พัฒนาการให้บริการการดูแลรักษาชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวาน เป้าหมายศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
๑.๕ - เมืองสุขภาพดี (Healthy City) |
๑.๕.๑ ความครอบคลุมในการจัดให้มีระบบสุขภาพปฐมภูมิ% |
๑.๕.๑.๑ ความครอบคลุมในการจัดให้มีระบบสุขภาพปฐมภูมิและคลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Cluster: PCC) |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-06)
06/09/2566 : 1.คณะทำงานพิจารณาแก้ไขร่างแนวทางการให้บริการฯ และจัดประชุมคณะทำงาน 2.จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานฯ 3.เปิดให้บริการฯ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง 4.ประเมินผลการให้บริการฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 98.00 (2023-08-07)
07/08/2566 : 1.คณะทำงานพิจารณาแก้ไขร่างแนวทางการให้บริการฯ และจัดประชุมคณะทำงาน (ดำเนินการแล้ว) 2.จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานฯ (ดำเนินการแล้ว วันที่ 9 มกราคม 2566) 3.เปิดให้บริการฯ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง (ดำเนินการแล้วหลังประชุม) 4.ติดตามประเมินผลการให้บริการฯ (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-07-07)
07/07/2566 : 1.คณะทำงานพิจารณาแก้ไขร่างแนวทางการให้บริการฯ และจัดประชุมคณะทำงาน (ดำเนินการแล้ว) 2.จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานฯ (ดำเนินการแล้ว วันที่ 9 มกราคม 2566) 3.เปิดให้บริการฯ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง (ดำเนินการแล้วหลังประชุม) 4.ติดตามประเมินผลการให้บริการฯ (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-06-06)
06/06/2566 : 1.คณะทำงานพิจารณาแก้ไขร่างแนวทางการให้บริการฯ และจัดประชุมคณะทำงาน (ดำเนินการแล้ว) 2.จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานฯ (ดำเนินการแล้ว วันที่ 9 มกราคม 2566) 3.เปิดให้บริการฯ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง (ดำเนินการแล้วหลังประชุม) 4.ติดตามประเมินผลการให้บริการฯ (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 86.00 (2023-05-08)
08/05/2566 : 1.คณะทำงานพิจารณาแก้ไขร่างแนวทางการให้บริการฯ และจัดประชุมคณะทำงาน (ดำเนินการแล้ว) 2.จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานฯ (ดำเนินการแล้ว วันที่ 9 มกราคม 2566) 3.เปิดให้บริการฯ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง (ดำเนินการแล้วหลังประชุม) 4.ติดตามประเมินผลการให้บริการฯ (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 84.00 (2023-04-10)
1.คณะทำงานพิจารณาแก้ไขร่างแนวทางการให้บริการฯ และจัดประชุมคณะทำงาน (ดำเนินการแล้ว) 2.จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานฯ (ดำเนินการแล้ว วันที่ 9 มกราคม 2566) 3.เปิดให้บริการฯ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง (ดำเนินการแล้วหลังประชุม) 4.ติดตามประเมินผลการให้บริการฯ (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 82.00 (2023-03-15)
15/03/2566 : 1.คณะทำงานพิจารณาแก้ไขร่างแนวทางการให้บริการฯ และจัดประชุมคณะทำงาน (ดำเนินการแล้ว) 2.จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานฯ (ดำเนินการแล้ว วันที่ 9 มกราคม 2566) 3.เปิดให้บริการฯ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง (ดำเนินการแล้วหลังประชุม) 4.ติดตามประเมินผลการให้บริการฯ (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-02-10)
10/02/2566 : 1.คณะทำงานพิจารณาแก้ไขร่างแนวทางการให้บริการฯ และจัดประชุมคณะทำงาน (ดำเนินการแล้ว) 2.จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานฯ (ดำเนินการแล้ว วันที่ 9 มกราคม 2566) 3.เปิดให้บริการฯ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง (ดำเนินการแล้วหลังประชุม) 4.ติดตามประเมินผลการให้บริการฯ (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-31)
31/01/2566 : 31/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของศูนย์บริการสาธารณสุขที่พัฒนาการให้บริการการดูแลรักษาชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวาน
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **