ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

กิจกรรมไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน : 08000000-7125

สำนักอนามัย : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

กองควบคุมโรคติดต่อ

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

โรคไข้หวัดใหญ่ทำให้เกิดการติดต่อแพร่กระจายและก่อโรคในประชากรทั่วไปทุกกลุ่มอายุ พบได้ทั่วโลก ในประเทศไทยมีอัตราการเกิดโรคเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10-20 ของประชากร จากข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและผลการศึกษาวิจัยในประเทศไทยคาดว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ประมาณ 700,000 - 900,000 คน และในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลประมาณ 12,500 - 75,800 คนต่อปี อัตราป่วยตายของโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีภาวะแทรกซ้อนสูงถึงร้อยละ 2.5 ซึ่งคาดว่าก่อให้เกิดความสูญเสียในด้านเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่า 913 -2,453 ล้านบาทต่อปี โดยครึ่งหนึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไปในการรักษาพยาบาล จากข้อมูลสถานการณ์การระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในปี 2564 ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 29 พฤศจิกายน 2564 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศจำนวน 9,921 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 14.94 ต่อประชากรแสนคน ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต อัตราส่วน เพศชายต่อเพศหญิง 1: 1.02 กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 0-4 ปี(39.73 %) 25-34 ปี(9.40 %) 15-24 ปี(9.27 %) จำนวนผู้ป่วยสะสมในภาพรวมมีแนวโน้มลดลงและต่ำกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง และจากรายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ วันที่ 1 มกราคม – 29 พฤศจิกายน 2564 พบผู้ป่วยสะสมจำนวน 344 ราย คิดเป็นอัตราป่วยสะสม 6.07 รายต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียเสียชีวิต เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง พบว่าลดลงในช่วงเวลาเดียวกันและลดลงจากปี 2563 เนื่องจากมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ และประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคทำให้จำนวนผู้ป่วยในปี 2564 ลดลง แต่ช่วงการระบาดตามฤดูกาลของโรคมีความใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาก่อนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คือพบสูงอยู่ 2 ช่วง ช่วงต้นปี(มกราคม-มีนาคม) และช่วงที่ 2 (กรกฎาคม-พฤศจิกายน) ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้หวัดนกทั้งในคนและสัตว์ จึงต้องป้องกันการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างเชื้อไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก ที่อาจทำให้เกิดเชื้อไข้หวัดใหญ่กลายพันธุ์ที่สามารถทำให้เกิดโรครุนแรงเหมือนเชื้อไข้หวัดนกแต่สามารถแพร่กระจายระหว่างบุคคลได้ดีเหมือนเชื้อไข้หวัดใหญ่ ประกอบกับกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การคมนาคมขนส่งมีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นจึงง่ายต่อการติดต่อแพร่กระจายของเชื้อโรค

08080000/08080000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย

เป้าหมายของโครงการ

1. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข 2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ประกอบด้วย - เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปีทุกคน - ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ดังนี้ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด และเบาหวาน - บุคคลที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ทุกคน - ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ - ธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) - โรคอ้วน (น้ำหนัก > 100 กิโลกรัม หรือ BMI > 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-12)

100.00

12/09/2566 : โครงการดำเนินการแล้วเสร็จ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่พบปัญหา

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 96.00 (2023-09-05)

96.00

05/09/2566 : กองควบคุมโรคติดต่อประสานแจ้งศูนย์บริการสาธารณสุขเร่งรัดให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่แก่กลุ่มเป้าหมาย และรายงานผลการดำเนินงาน : ศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่งดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมาย ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค.66 จำนวน 132,567 ราย *100 /วัคซีนที่ได้รับจัดสรรทั้งหมด 138,130 โดส คิดเป็นร้อยละ 95.97

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 82.00 (2023-08-18)

82.00

18/08/2566 : กองควบคุมโรคติดต่อมีหนังสือประสานแจ้งศูนย์บริการสาธารณสุขเร่งรัดให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่แก่กลุ่มเป้าหมาย และรายงานผลการดำเนินงาน : ศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่งดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมาย ข้อมูล ณ วันที่ 18 ส.ค.66 จำนวน 112,686 ราย *100 /วัคซีนที่ได้รับจัดสรรทั้งหมด 138,130 โดส คิดเป็นร้อยละ 81.58

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-08-13)

70.00

13/08/2566 : ศูนย์บริการสาธารณสุขดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมาย ข้อมูล ณ วันที่ 8 ส.ค.2566 จำนวนผู้รับบริการทั้งสิ้น 95,144 ราย *100 จากจำนวนวัคซีนที่ได้รับจัดสรรทั้งหมด 138,130 โดส คิดเป็นร้อยละ 68.88

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-07-19)

60.00

19/07/2566 : ศูนย์บริการสาธารณสุขดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมาย ข้อมูล ณ วันที่ 19 ก.ค.2566 จำนวนผู้รับบริการทั้งสิ้น 69,438 ราย *100 จากจำนวนวัคซีนที่ได้รับจัดสรรทั้งหมด 137,530 โดส คิดเป็นร้อยละ 50.49

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-07-17)

60.00

17/07/2566 : ดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมาย ข้อมูล ณ วันที่ 14 กค 66 จำนวน 53,636 ราย *100 /วัคซีนที่ได้รับจัดสรรทั้งหมด 137,530 โดส คิดเป็นร้อยละ 39

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-06-12)

50.00

12/06/2566 : อยู่ในระหว่างให้บริการฉีดวัคซีน โดยผลการดำเนินงาน (15941x100/97690) = 16.32%

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 38.00 (2023-05-16)

38.00

16/05/2566 : 1. ขออนุมัติกิจกรรม 2. ประชุมชี้แจงแนวทางการให้บริการวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ปี 2566 เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร 3. ขอรับการสนับสนุนวัคซีน จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 4. จัดทำแนวทางการดำเนินงานให้บริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล 5. จัดประชุมชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์บริการสาธารณสุข ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการรณรงค์ให้บริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในช่วงการรณรงค์พร้อมกันทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 31 สิงหาคม 2566 หรือจนกว่าวัคซีนจะหมด

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 23.00 (2023-04-12)

23.00

12/04/2566 : ดำเนินการแล้วเสร็จ 1. ขออนุมัติกิจกรรม 2. ประชุมชี้แจงแนวทางการให้บริการวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ปี 2566 เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร 3. ขอรับการสนับสนุนวัคซีน จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อยู่ระหว่างการดำเนินการ 1. จัดทำคู่มือการดำเนินงานให้บริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล 2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายผ่านศูนย์บริการสาธารณสุข

** ปัญหาของโครงการ :ยังไม่พบปัญหา

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-03-15)

20.00

15/03/2566 :สำรวจกลุ่มเป้าหมายและประสานสปสช.

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 7.00 (2023-02-21)

7.00

21/02/2566 : ทบทวนผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมารวมถึงปัญหาอุปสรรคเพื่อจัดทำโครงการให้มีประสิทธิภาพ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-31)

5.00

31/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
: 1 ขออนุมัติโครงการ
:5.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2 สำรวจประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เป็นเป้าหมาย
:30.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3 ขอรับการสนับสนุนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
:10.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงผ่านศูนย์บริการสาธารณสุข
:20.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5 ดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมาย
:30.00%
เริ่มต้น :2023-05-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-05-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6 สรุปผลการดำเนินงาน
:5.00%
เริ่มต้น :2023-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 08000000-7125

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 08000000-7125

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0800-6783

ตัวชี้วัด : ร้อยละของการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเป้าหมาย

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 85

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 95.97

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ )
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
0.00

0 / 0
3
27.28

0 / 0
4
95.97

100 / 100

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **