ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองสร้างเสริมสุขภาพ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
จากยโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เรื่อง การนำร่องสร้างห้องปั๊มนม ให้นมแม่ในสถานที่ราชการของกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับแม่ที่มีลูก รักษาประสิทธิภาพการทำงานควบคู่ไปกับการเลี้ยงดูลูก ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น ช่วยให้เด็กมีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแรงสมบูรณ์ มีพัฒนาการในทุกๆด้านที่เหมาะสมตามช่วงวัย กองสร้างเสริมสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้แก่บุคลากรสาธารณสุขของสำนักอนามัยและสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ให้สามารถดำเนินงานด้านการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งมุมนมแม่ในสถานที่ของกรุงเทพมหานครให้บุคลากรและประชาชนมีพื้นที่ในการปั๊มนม และให้นมลูกได้อย่างปลอดภัย
08030000/08030000
2.1 เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขของสำนักอนามัยและสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีความรู้และทักษะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่ 2.2 เพื่อให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครมีแนวทางในการจัดตั้งมุมนมแม่สำหรับให้บุคลากรและประชาชนผู้มารับบริการมีสถานที่ในการปั๊มนมหรือให้นมลูกได้อย่างปลอดภัย
3.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ สำหรับบุคลากรสาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานด้านการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 100 คน ประกอบด้วย 3.1.1 กลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 81 คน ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ สังกัดสำนักอนามัย จำนวน 69 คน และสังกัดสำนักการแพทย์ 12 คน โดยดำรงตำแหน่ง ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการพิเศษ 3.1.2 ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 19 คน ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ 12 คน 2) วิทยากร 7 คน 3.2 จัดประชุมชี้แจงแนวทางการจัดตั้งมุมนมแม่ให้แก่สำนักงานเขต จำนวนทั้งสิ้น 60 คน ประกอบด้วย 3.2.1 กลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 50 คน ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ สังกัดสำนักงานเขต 50 คน โดยดำรงตำแหน่ง ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการพิเศษ 3.2.2 ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน ดังนี้ คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 10 คน
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : สรุปผลจัดอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการส่งเสริมทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้ารับการอบรมฯ จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 96 ของกลุ่มเป้าหมาย โดยผู้เข้ารับการอบรมฯ มีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 97 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 131,400 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-05-29)
29/05/2566 : อยู่ระหว่างการสรุปผลการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการส่งเสริมทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-04-28)
28/04/2566 : อยู่ระหว่างการสรุปผลการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการส่งเสริมทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-03-26)
26/03/2566 : จัดอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการส่งเสริมทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างการสรุปผลการจัดอบรมฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-02-15)
15/02/2566 : เตรียมการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการส่งเสริมทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-30)
30/01/2566 : โครงการได้รับความเห็นชอบและผ่านการอนุมัติโครงการเรียบร้อยแล้ว จัดประชุมชี้แจงแนวทางการจัดตั้งมุมนมแม่ในสถานที่ราชการของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สำนักงานเขต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของสถานที่ราชการของกรุงเทพมหานครมีการจัดมุม/ห้องปั๊มนม-ให้นมแม่ (ผลผลิต)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 60
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 57.75
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **