ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองสร้างเสริมสุขภาพ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs) เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโรค และไม่ได้ติดต่อจากคนสู่คน โดยการสัมผัสหรือการหายใจ แต่เป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม กลุ่มโรค NCDs นี้ ประกอบด้วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วนลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็ง เป็นต้น การใช้ชีวิตประจำวันของเราในปัจจุบันมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น ทำให้เรามีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง รวมทั้งการรับประทานอาหารในปริมาณที่มากเกินความต้องการ ของร่างกาย รับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด และอาหารที่มีไขมันสูง เหล่านี้จะทำให้เกิดภาวะอ้วน เกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งอาจจะตีบหรือแตกได้ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่เป็นประจำ ก็จะทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง รวมทั้งโรคมะเร็งต่างๆ ได้ เมื่อประกอบกับความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอรวมกันและสะสมเรื้อรังไปนาน ๆ ก็นำไปสู่การเกิดกลุ่มโรค NCDs ซึ่งก็จะทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคสูง รวมทั้งบางโรคยังรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต อันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ของคนไทย และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สำนักอนามัย โดยกลุ่มงานสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสร้างเสริมสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพขึ้น เป็นโครงการตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 9 มิติ 216 นโยบาย โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงาน ภาคีเครือข่าย จัดบริการหน่วยแพทย์และสาธารณสุขเคลื่อนที่เพื่อให้บริการเชิงรุก ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง ลดภาระค่าใช้จ่าย ลดเวลาในการเดินทาง ลดความแออัดในสถานพยาบาล ยกระดับการเข้าถึงการรักษาพยาบาลคุณภาพดีใกล้บ้านในระดับเส้นเลือดฝอย เพิ่มการเข้าถึงบริการในการดูแลรักษาสุขภาพ ผลการดำเนินงานคัดกรองสุขภาพประชาชนความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปีพ.ศ. 2562-2564 จำนวน 370,499 คน รถคัดกรองมะเร็งสตรีเคลื่อนที่ ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีในชุมชนต่างๆ ของพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2564 จำนวน 53,714 คน จำแนกเป็นผู้มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จำนวน 29,242 คน ผลปกติ จำนวน 25,505 คน ผิดปกติ จำนวน 3,737 คน คัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 24,472 คน ผลปกติ จำนวน 24,204 คน ผิดปกติ จำนวน 268 คน และรถคัดกรองจอประสาทตาเคลื่อนที่ ให้บริการตรวจจอประสาทตาแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานของศูนย์บริการสาธาณสุข 69 แห่ง ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-2564 มีผู้มารับบริการคัดกรองจอประสาทตา จำนวน 15,753 คน ผลการตรวจคัดกรองปกติ จำนวน 13,616 คน เบาหวานขึ้นจอประสาทตาระยะเริ่ม จำนวน 627 คน เบาหวานขึ้นจอประสาทตาระยะรุนแรง จำนวน 69 คน จุดรับภาพบวม จำนวน 124 คน และแปลผลไม่ได้ (ภาพถ่ายไม่ชัด, ม่านตาไม่ขยาย) จำนวน 1,210 คน จะเห็นได้ว่าเป็นโครงการฯ ที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นการดำเนินงานเชิงรุก เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครสามารถเข้าถึงบริการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง
08030000/08030000
2.1 เพื่อจัดบริการด้านสาธารณสุขเชิงรุกแก่ประชาชนทุกกลุ่มวัย ณ ชุมชนต่างๆของพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร 2.2 เพื่อให้สตรีอายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชนต่างๆ ของพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครได้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ได้รับความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และการตรวจเต้านมด้วยตนเอง พร้อมทั้งส่งต่อผู้ที่มีปัญหาไปรับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลตามระบบ 2.3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานของศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ได้รับการคัดกรอง จอประสาทตา และผู้ที่มีปัญหาได้รับการส่งต่อไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาล
3.1 ให้บริการหน่วยแพทย์และสาธารณสุขเคลื่อนที่ ให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัย ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 ครั้ง/ปี 3.2 จัดรถคัดกรองมะเร็งสตรีเคลื่อนที่ เพื่อบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก แก่สตรีในชุมชนต่างๆ ของพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครจำนวน 3 ครั้ง/สัปดาห์ 3.3 จัดรถคัดกรองจอประสาทตาเคลื่อนที่ เพื่อบริการตรวจจอประสาทตาแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ของศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่งจำนวน 3 ครั้ง/สัปดาห์
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-17)
17/09/2566 : วันที่ 14 กันยายน 2566 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ วัดม่วง วันที่ 1 กันยายน 2566 ประชุมจัดเตรียมงานที่สำนักงานเขตสาทร วันที่ 20 กันยายน 2566 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ ลานกว้างหน้าซอย หมู่บ้านเอื้ออาทรสวนพลูพัฒนา
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-09-10)
10/09/2566 : วันที่ 10 สิงหาคม 2566 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ ลานใต้สะพานพระราม 8 ผู้เข้ารับบริการ 3297 ราย ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด วันที่ 15 สิงหาคม 2566 ประชุมจัดเตรียมงานที่สำนักงานเขตดินแดง วันที่ 24 สิงหาคม 2566 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ ลากีฬาชุมชนห้วยขวางเฉลิมพระเกียรติ ผู้เข้ารับบริการ 3648 ราย ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด วันที่ 29 สิงหาคม 2566 ประชุมจัดเตรียมงานที่สำนักงานเขตบางแค
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-08-14)
วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ วัดวชิรธรรมสาธิต ผู้เข้ารับบริการ 3,560 ราย ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 ประชุมจัดเตรียมงานที่สำนักงานเขตลาดพร้าว วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ วัดลาดปลาเค้า ผู้เข้ารับบริการ 2,194 ราย ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 ประชุมจัดเตรียมงานที่สำนักงานเขตบางพลัด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-07-13)
13/07/2566 : วันที่ 8 มิถุนายน 2566 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ วัดอินทราวาส ผู้เข้ารับบริการ 3,244 ราย ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด วันที่ 14 มิถุนายน 2566 ประชุมจัดเตรียมงานที่สำนักงานเขตวังทองหลาง วันที่ 22 มิถุนายน 2566 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ ชุมชนพลับพลา ซ.รามคำแหง 39 ผู้เข้ารับบริการ 3,215 ราย ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ประชุมจัดเตรียมงานที่วัดวชิรธรรมสาธิต เขตพระขโนง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-06-08)
08/06/2566 : วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ประชุมจัดเตรียมงานที่สำนักงานเขตตลิ่งชัน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-05-15)
** ปัญหาของโครงการ :งดกิจกรรมเนื่องจากอยู่ในช่วงเลือกตั้ง
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-04-26)
** ปัญหาของโครงการ :งดกิจกรรมเนื่องจากอยู่ในช่วงเลือกตั้ง
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-03-30)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-03-19)
19/3/66 : วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ ชุมชนมัสยิดอัตตั๊กวา ผู้เข้ารับบริการ 2,693 ราย ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ประชุมจัดเตรียมงานที่สำนักงานเขตประเวศ วันที่ 8 มีนาคม 2566 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ วัดกระทุ่มเสือปลา ผู้เข้ารับบริการ 3,532 ราย ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2023-02-17)
17/02/2566 : วันที่ 4 ตุลาคม 2565 ประชุมจัดเตรียมงานที่สำนักงานเขตสวนหลวง วันที่ 20 ตุลาคม 2565 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ผู้เข้ารับบริการ 1,319 ราย ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ประชุมจัดเตรียมงานที่วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิตเขตบางเขน วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต ผู้เข้ารับบริการ 2,787 ราย ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด วันที่ 12 ธันวาคม 2565 ประชุมจัดเตรียมงานที่สำนักงานเขตบางบอน วันที่ 22 ธันวาคม 2565 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ วัดนินสุขาราม ผู้เข้ารับบริการ 2,291 ราย ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด วันที่ 11 มกราคม 2566 ประชุมจัดเตรียมงานที่สำนักงานเขตทวีวัฒนา วันที่ 26 มกราคม 2566 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ ชุมชนร่วมเกื้อ ผู้เข้ารับบริการ 1,833 ราย ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด วันที่ 31 มกราคม 2566 ประชุมจัดเตรียมงานที่สำนักงานเขตบางซื่อ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 จัดงานกรุงเทพ ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ณ ชุมชนหัวรถจักรตึกแดง ผู้เข้ารับบริการ 1,953 ราย ระดับความพึงพอใจ มาก วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ประชุมจัดเตรียมงานที่สำนักงานเขตมีนบุรี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-31)
31/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : จำนวนผู้รับบริการที่ได้รับการดูแลสุขภาพจากหน่วยเคลื่อนที่เชิงรุกเพิ่มขึ้น (ผลผลิต)
ค่าเป้าหมาย อย่างน้อยร้อยละ : 10
ผลงานที่ทำได้ อย่างน้อยร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **