ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการชุมชนร่วมใจ ห่างไกลเบาหวาน : 08000000-7154

สำนักอนามัย : (2566)

70

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 70

กองสร้างเสริมสุขภาพ

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์โรคเบาหวานในปัจจุบันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โรคเบาหวานจึงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่คุกคามสุขภาพคนไทยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จากการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชนของศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ในปีงบประมาณ 2564 พบว่ามีจำนวน 22,447 คน และในปีงบประมาณ 2565 พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 26,744 คน คิดเป็นร้อยละ 19.14 และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่ผ่านมากองสร้างเสริมสุขภาพ มีการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยบุคลากรทางการแพทย์เป็นหลัก จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างครอบคลุม ต่อเนื่อง และยั่งยืนจึงมีแนวคิดในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ภายใต้แนวคิดหลักการทางสาธารณสุขมูลฐานซึ่งให้ความสำคัญกับศักยภาพของประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชน จึงได้มีการคัดเลือกประชาชนให้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เป็นแกนนำสุขภาพ ให้มีความรู้ มีทักษะ ในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค และสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้ รวมทั้งเป็นเครือข่ายประชาชนด้านสุขภาพที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพ ในการเฝ้าระวังการเกิดโรคเบาหวานในชุมชน และเมื่อสิ้นสุดการอบรมแล้ว กองสร้างเสริมสุขภาพคาดหวังว่าแกนนำสุขภาพสามารถนำความรู้ดังกล่าว ไปต่อยอดในการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ชุมชนตนเองได้ โดยแกนนำสุขภาพจำนวน 1 คน สามารถดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้จำนวน 15 คน และจากสัดส่วนการดูแลของแกนนำสุขภาพต่อประชาชนที่ได้รับการดูแลในช่วงปีแรก แกนนำสุขภาพ 345 คน จะสามารถดูแลประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ถึง 5,175 คน ซึ่งการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้ได้ผลนั้น ต้องเน้นการป้องกันในระดับปฐมภูมิ การป้องกันควบคุมปัจจัยเสี่ยงแบบบูรณาการ และส่งเสริมสุขภาพตลอดช่วงชีวิตในระดับครอบครัวและชุมชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดผ่านกลไกการมีส่วนของคนในชุมชน จึงจะสามารถก้ไขปัญหาในระยะยาวได้ จากความสำคัญดังกล่าว สำนักอนามัย โดยกองสร้างเสริมสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ห่างไกลเบาหวาน เพื่อเสริมสร้างบทบาทแกนนำชุมชนในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง ลดผลกระทบและลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานได้อย่างครอบคลุม

08030000/08030000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพของชุมชนนำร่อง 69 แห่ง ให้มีความรู้ มีทักษะ และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้ 2.2 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานของชุมชนนำร่อง 69 แห่ง ได้รับการติดตามดูแล และกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาตามแนวทางที่กำหนด

เป้าหมายของโครงการ

3.1 แกนนำสุขภาพของชุมชนนำร่อง 69 แห่ง แห่งละ 5 คน รวมจำนวน 345 คน 3.2 ประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานของชุมชนนำร่อง 69 แห่ง

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-09-13)

70.00

13/09/2566 : 1. กองสร้างเสริมสุขภาพคืนข้อมูลให้แกนนำสุขภาพ เพื่อนำไปจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนนำร่อง 69 แห่ง และจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวาน และกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคเบาหวาน 2. ขออนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจ ห่างไกลเบาหวาน

** ปัญหาของโครงการ :การจัดกิจกรรมที่ 7 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน จำนวน 6 รุ่น ณ สถานที่ราชการ ยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากกองสร้างเสริมสุขภาพได้จัดทำแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน (Diabetes risk score) แบบออนไลน์ เพื่อให้แกนนำสุขภาพชุมชนนำไปประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในชุมชน ซึ่งการจัดทำแบบประเมิน ต้องดำเนินการตามแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566 โดยได้มีการปรับปรุงแนวทางและประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 กองสร้างเสริมสุขภาพจึงต้องดำเนินการปรับปรุงข้อมูลการคัดกรองในแบบประเมินออนไลน์ที่ได้จัดทำไว้แล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว ทำให้การดำเนินงานโครงการไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-08-30)

55.00

30/08/2566 : แกนนำสุขภาพอยู่ระหว่างดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในชุมชนนำร่อง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-07-27)

50.00

27/07/2566 : แกนนำสุขภาพเตรียมความพร้อมในการดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในชุมชนนำร่อง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-06-28)

50.00

28/06/2566 : จัดอบรมแกนนำสุขภาพของชุมชนนำร่อง 69 ชุมชน จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 2 วัน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-05-29)

40.00

29/05/2566 :อยู่ระหว่างจัดทำคำสั่งผู้เข้ารับการอบรมแกนนำสุขภาพของชุมชนนำร่อง 69 ชุมชน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-04-28)

30.00

28/04/2566 : โครงการได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการขอรายชื่อแกนนำเพื่อเข้ารับการอบรมแกนนำสุขภาพของชุมชนนำร่อง 69 ชุมชน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-03-26)

20.00

26/03/2566 : อยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-02-15)

15.00

15/02/2566 : อยู่ระหว่างจัดทำโครงการเพื่อขอความเห็นชอบและขออนุมัติโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-31)

10.00

31/01/2566 : อยู่ระหว่างวางแผนการดำเนินงาน จัดทำแนวทางฯ และจัดทำโครงการเพื่อขอความเห็นชอบและขออนุมัติโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. วางแผนการดำเนินงานและจัดทำโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. จัดทำแนวทางการดำเนินงานและแจ้งผู้เกี่ยวข้องทราบ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. จัดทำสิ่งสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการฯ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. อบรมแกนนำสุขภาพของชุมชนนำร่อง 69 ชุมชน
:20.00%
เริ่มต้น :2023-02-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-02-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. แกนนำสุขภาพดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในชุมชนนำร่อง
:20.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6. กองสร้างเสริมสุขภาพคืนข้อมูลให้แกนนำสุขภาพ เพื่อจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงในชุมชนนำร่อง
:10.00%
เริ่มต้น :2023-06-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-06-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:7. แกนนำสุขภาพติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงฯ ในชุมชนนำร่อง
:10.00%
เริ่มต้น :2023-06-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-06-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:8. สรุปผลการดำเนินงาน
:10.00%
เริ่มต้น :2023-08-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-08-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 08000000-7154

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 08000000-7154

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0800-6750

ตัวชี้วัด : จำนวนชุมชนนำร่องที่มีระบบ เฝ้าระวังโรคเบาหวานในชุมชน (ผลผลิต)

ค่าเป้าหมาย ชุมชน : 69

ผลงานที่ทำได้ ชุมชน : 69

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ชุมชน)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
0.00

0 / 0
3
69.00

0 / 0
4
69.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **