ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองสร้างเสริมสุขภาพ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานคร มีนโยบายที่มุ่งเน้นการนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ประกอบกับแผนปฏิบัติราชการสำนักอนามัย ภารกิจพื้นฐานที่ 3 สาธารณสุขมูลฐานและเครือข่ายสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมและมีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ซึ่งทำหน้าที่เป็นแกนนำสุขภาพที่สำคัญในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาสุขภาพของประชาชนในชุมชน และเป็นเครือข่ายประชาชนด้านสุขภาพอนามัยที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพในชุมชน ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพและการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน ตลอดจนให้คำปรึกษา แนะนำ และเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนในชุมชน ปัจจุบันมีอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็งกระจายอยู่ในชุมชนต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวนมากกว่า 11,500 คน ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ในรูปลักษณ์ใหม่ที่สร้างความสมดุลระหว่างรูปแบบการให้บริการกับรูปแบบการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพตามสถานการณ์และบริบทของกรุงเทพมหานคร กองสร้างเสริมสุขภาพ จึงได้จัดกิจกรรมการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ต้นแบบสู่ความเป็น Smart digital Volunteer
08030000/08030000
1. เพื่อพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครให้เป็น Smart Digital Volunteer ในการประสานงานและสนับสนุนกิจกรรมด้านดิจิทัลให้กับประชาชน 2. เพื่อพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และสามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ สู่ประชาชนในชุมชนได้
กลุ่มเป้าหมายหลัก อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ที่มีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยี ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงาน จำนวน ๓๗๘ คน ผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 1. บุคลากรด้านสาธารณสุข กองสร้างเสริมสุขภาพ สำนักอนามัย จำนวน 10 คน 2. บุคลากรด้านสาธารณสุข ของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย จำนวน 69 คน 3. วิทยากร จำนวน 5 คน
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-06-19)
19/06/2566 : ดำเนินงานการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครเพิ่มเติมตามความสนใจนอกเหนือจากแผน จำนวน 7 รุ่น 7 ศบส. ได้แก่ ศบส.4, 32, 53, 35, 43, 47, และ ศบส.18 จำนวน 1,417 คน ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน โดยการบรรยายและฝึกปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญ และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครทดลองใช้ application ในการปฏิบัติงาน การประสานงาน และแจ้งข่าวสารสู่ประชาชน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี/ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี/ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-05-16)
16/05/2566 : ตามหนังสือที่ กท 0701/2992 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566 เรื่อง การวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ให้ทุกส่วนราชการของสำนักอนามัย งดการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยงข้องกับการรวมตัวของมวลชนในพื้นที่ ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานครกำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี/ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-04-21)
21/04/2566 : ตามหนังสือที่ กท 0701/2992 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2566 เรื่อง การวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ให้ทุกส่วนราชการของสำนักอนามัย งดการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยงข้องกับการรวมตัวของมวลชนในพื้นที่ ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานครกำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี/ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี/ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-03-14)
14/03/2566 : ดำเนินงานการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน โดยการบรรยายและฝึกปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 รุ่น รวมจำนวน 430 ราย (เจ้าหน้าที่ ศบส. 75 ราย อสส. 355 ราย) ระหว่างวันที่ 13 – 24 มกราคม 2566 และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครทดลองใช้ application ในการปฏิบัติงาน การประสานงาน และแจ้งข่าวสารสู่ประชาชน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-02-02)
02/02/2566 : 1. ประชุมชี้แจงการพัฒนาแกนนำเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครในการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน ผ่าน application 2. สำรวจความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร 3. ประสานงาน และรวบรวมข้อมูลความพร้อมใช้เทคโนโลยี และคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ต้นแบบ จากศูนย์บริการสาธารณสุข 4. พัฒนา application ในการปฏิบัติงานสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ต้นแบบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครต้นแบบได้รับการพัฒนา สู่ความเป็น Smart Digital Volunteer
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 93.91
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **