ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

กิจกรรมพัฒนาระบบการรายงานข้อมูลโรคติดต่อเฝ้าระวังให้เชื่อมต่อระบบ API : 08000000-7168

สำนักอนามัย : (2566)

70

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 70

กองควบคุมโรคติดต่อ

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่อที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มพบการระบาดในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ที่ประเทศจีน และมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก ประเทศไทยประสบปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างต่อเนื่องโดยในพื้นที่กรุงเทพมหานครพบการระบาดและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 โดยในปี 2563 พบผู้ป่วยจำนวน 2,245 ราย (อัตราป่วย 40.17 ต่อประชากรแสนคน) เสียชีวิต 28 ราย (อัตราป่วยตายร้อยละ 1.25) ปี 2564 พบผู้ป่วยจำนวน 442,267 ราย (อัตราป่วย 8,000.50 ต่อประชากรแสนคน) เสียชีวิต 6,854 ราย (อัตราป่วยตายร้อยละ 1.55) และในปี 2565 ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 30 ก.ย. 2565 พบผู้ป่วยจำนวน 498,181 ราย (อัตราป่วย 9,011.97 ต่อประชากรแสนคน) เสียชีวิต 1,685 ราย (อัตราป่วยตายร้อยละ 0.34) ด้วยสถานการณ์ผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น สำนักอนามัยได้รับรายงานข้อมูลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากสถานพยาบาลเครือข่าย เข้าสู่ระบบสารสนเทศเครือข่ายศูนย์ระบาดวิทยากรุงเทพมหานคร (EPI-Net) เป็นจำนวนมาก โดยหากเทียบกับจำนวนผู้ป่วยโรคติดต่อที่ได้รับรายงานในปีพ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นปีก่อนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนผู้ป่วยที่เข้าสู่ระบบมีมากขึ้นถึงร้อยละ 130.44 หากยังใช้การส่งต่อข้อมูลซึ่งไปยังกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขรูปแบบเดิมซึ่งเป็นการดำเนินการส่งข้อมูลทางจดหมายอิเล็คทรอนิคเป็นรายสัปดาห์ จะทำให้การนำเสนอข้อมูลสถิติผู้ป่วยในแต่ละวันไม่เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้กรมควบคุมโรคได้เริ่มดำเนินการให้มีการส่งรายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อโรคโคโรนาไวรัส 2019 ผ่านระบบ API เพื่อให้การรายงานโรคทำได้รวดเร็วขึ้น แต่กรุงเทพมหานครมีสถานพยาบาลหลายสังกัด จึงทำให้สถานพยาบาลบางส่วนไม่สะดวกต่อการบันทึกและส่งข้อมูล ผ่านระบบ API ของกระทรวงสาธารณสุข และยังใช้ระบบการส่งข้อมูลผ่านทางช่องทางการรายงานแบบเดิมอยู่ การพัฒนาเชื่อมต่อระบบสารสนเทศเครือข่ายศูนย์ระบาดวิทยากรุงเทพมหานคร (EPI-Net) ให้สามารถเชื่อมต่อระบบ API ของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้สามารถรองรับสถานพยาบาลซึ่งยังใช้ระบบการรายงานแบบเดิมอยู่จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงไว้ซึ่งความครอบคลุมของการรายงานผู้ป่วย

08080000/08080000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเครือข่ายศูนย์ระบาดวิทยากรุงเทพมหานคร ให้สามารถเชื่อมต่อ ผ่าน API กับกรมควบคุมโรคได้ 2.2 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของจำนวนสถานพยาบาลในการส่งรายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

เป้าหมายของโครงการ

3.1 ระบบสารสนเทศเครือข่ายศูนย์ระบาดวิทยากรุงเทพมหานคร สามารถเชื่อมต่อผ่าน API กับระบบรายงานโรคติดต่อของกรมควบคุมโรคได้ 3.2 สถานพยาบาลเครือข่ายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถรายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เข้าสู่ระบบรายงานโรคของกรมควบคุมโรคได้

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-08-16)

70.00

16/08/2566 : กองควบคุมโรคติดต่อ ได้ทำหนังสือที่ กท 0708/1015 ลงวันที่ 20 ก.ค.66 เรื่อง ขอยกเลิกกิจกรรมพัฒนาระบบการรายงานข้อมูลโรคติดต่อเฝ้าระวังให้เชื่อมต่อระบบ API นำเรียน ผู้อำนวยการสำนักอนามัย เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้คลี่คลายลง คณะกรรมการโรคติดต่อ ได้ประกาศยกเลิก "โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019" เป็นโรคติดต่ออันตราย และปรับเป็น "โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง" อีกทั้งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ขยายการรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวังทั้งหมดผ่านระบบ API จึงทำให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปรับปรุงระบบการรายงานโรคผ่านระบบ API ใหม่ทั้งระบบ ซึ่งอยู่ในส่วนพัฒนาระบบ API ทำให้การพัฒนาการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศเครือข่ายศูนย์ระบาดวิทยากรุงเทพมหานคร (EPI-Net) ไปยังฐานข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ไม่เป็นไปตามแผน ไม่สามารถทดสอบระบบและประเมินการใช้งานระบบได้ และยังไม่สามารถใช้งานระบบ API ได้จริง ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-07-18)

70.00

18/07/2566 : การพัฒนาระบบการรายงานข้อมูลโรคติดต่อเฝ้าระวังให้เชื่อมต่อระบบ API จากระบบสารสนเทศเครือข่ายศูนย์ระบาดวิทยากรุงเทพมหานคร (EPI-Net) ไปยังฐานข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขรายงานเฉพาะข้อมูลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อความสะดวกรวดเร็วลดขั้นตอนความซ้ำซ้อน และเพิ่มความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล อีกทั้งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างฐานข้อมูลของกรุงเทพมหานคร กับกรมควบคุมโรค

** ปัญหาของโครงการ :กิจกรรมพัฒนาระบบการรายงานข้อมูลโรคติดต่อเฝ้าระวังให้เชื่อมต่อระบบ API ถูกบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2566 สำนักอนามัย และเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้คลี่คลายลง คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้ประกาศยกเลิก “โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019”เป็นโรคติดต่ออันตราย และปรับเป็น “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง” อีกทั้งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ขยายการรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวังทั้งหมดผ่านระบบ API จึงทำให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปรับปรุงระบบการรายงานโรคผ่านระบบ API ใหม่ทั้งระบบ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบ API ทำให้การพัฒนาการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศเครือข่ายศูนย์ระบาดวิทยากรุงเทพมหานคร (EPI-Net) ไปยังฐานข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ไม่เป็นไปตามแผน ไม่สามารถทดสอบระบบและประเมินการใช้งานระบบได้ และยังไม่สามารถใช้งานระบบ API ได้จริง ภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2566

** อุปสรรคของโครงการ :กองควบคุมโรคติดต่อ พิจารณาแล้วหากในปีงบประมาณถัดไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ปรับปรุงระบบการรายงานโรคผ่านระบบ API แล้วเสร็จ กองควบคุมโรคติดต่อ จะดำเนินการพัฒนาการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศเครือข่ายศูนย์ระบาดวิทยากรุงเทพมหานคร (EPI-Net) ไปยังฐานข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ผ่านระบบ API ต่อไป

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-15)

70.00

15/06/2566 : การดำเนินงานกิจกรรมอยู่ระหว่างการทดสอบการเชื่อมต่อและประเมินผลการใช้งานระบบสารสนเทศทางระบาดวิทยาของสำนักอนามัยและระบบ API ของกระทรวงสาธารณสุุข

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :กระทรวงสาธารณสุขมีการแก้ไขปรับปรุงระบบ จึงทำให้เกิดความล่าช้าของการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างระบบสารสนเทศทางระบาดวิทยาของสำนักอนามัยและระบบ API ของกระทรวงสาธารณสุุข ส่งผลให้การประเมินผลการใช้งานเกิดความล่าช้าตามไปด้วย

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-05-19)

65.00

19/05/2566 : การดำเนินงานกิจกรรมอยู่ระหว่างการประเมินผลการใช้งานระบบสารสนเทศทางระบาดวิทยาของสำนักอนามัยและระบบ API ของกระทรวงสาธารณสุุข

** ปัญหาของโครงการ :การดำเนินงานโครงการระบบ API ของกระทรวงสาธารณสุขมีการแก้ไขปรับปรุงระบบ จึงทำให้เกิดความล่าช้าของการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างระบบสารสนเทศทางระบาดวิทยาของสำนักอนามัยและระบบ API ของกระทรวงสาธารณสุุข ทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อ และประเมินผลการใช้งานระบบได้

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-04-12)

65.00

12/04/2566 : การดำเนินงานกิจกรรมอยู่ระหว่างการประเมินผลการใช้งานระบบสารสนเทศทางระบาดวิทยาของสำนักอนามัยและระบบ API ของกระทรวงสาธารณสุุข

** ปัญหาของโครงการ :การดำเนินงานโครงการระบบ API ของกระทรวงสาธารณสุขมีการแก้ไขปรับปรุงระบบ จึงทำให้เกิดความล่าช้าของการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างระบบสารสนเทศทางระบาดวิทยาของสำนักอนามัยและระบบ API ของกระทรวงสาธารณสุุข ทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อ และประเมินผลการใช้งานระบบได้

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-03-15)

65.00

15/03/2566 : การดำเนินงานกิจกรรมอยู่ระหว่างการประเมินผลการใช้งานระบบสารสนเทศทางระบาดวิทยาของสำนักอนามัยและระบบ API ของกระทรวงสาธารณสุข

** ปัญหาของโครงการ :การดำเนินงานโครงการระบบ API ของกระทรวงสาธารณสุขมีการแก้ไขปรับปรุงระบบ จึงทำให้เกิดความล่าช้าของการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างระบบสารสนเทศทางระบาดวิทยาของสำนักอนามัยและระบบ API ของกระทรวงสาธารณสุุข

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-02-22)

60.00

22/02/2566 : - ประชุมหารือร่วมกับกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข เพื่อดำเนินการเชื่อมต่อระบบระหว่าง API ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกับระบบสารสนเทศทางระบาดวิทยาของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร - จัดทำมาตรฐานกำหนดตัวแปร เพื่อการเชื่อมต่อระบบ - ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลให้ตรงตามาตรฐานกำหนดตัวแปร

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. ประชุมหารือร่วมกับกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. จัดทำมาตรฐานกำหนดตัวแปร เพื่อการเชื่อมต่อระบบ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลให้ตรงตามมาตรฐานกำหนดตัวแปร
:20.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. ทดสอบระบบเชื่อมต่อ
:20.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. ประเมินผลการใช้งานระบบ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6. ชี้แจงการดำเนินการแก่ผู้ใช้งานระบบ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:7. ดำเนินการเชื่อมต่อข้อมูลโรคเข้าระบบ API
:10.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:8. สรุปผลการดำเนินการเชื่อมต่อข้อมูลโรคเข้าระบบ API แก่ผู้บริหาร
:10.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 08000000-7168

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 08000000-7168

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0800-6735

ตัวชี้วัด : พัฒนาระบบการเฝ้าระวังโรคติดต่อ ที่ต้องเฝ้าระวัง - พัฒนาระบบการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังเชื่อมต่อกับระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อ (API) ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (มีระบบรายงานโรคที่เชื่อมต่อกับระบบ API ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1 ร

ค่าเป้าหมาย ระบบ : 1

ผลงานที่ทำได้ ระบบ : 0

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ระบบ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
0.00

0 / 0
3
0.00

0 / 0
4
0.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **