ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กองทุนหลักประกันสุขภาพ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อให้ทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ และสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ทั้งที่อยู่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขและส่วนอื่นๆ ในสังคม ได้เข้ามามีบทบาทในการจัดบริการสาธารณสุข ดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งสนับสนุนเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร ในการดำเนินงานตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของพื้นที่
08940000/08940000
เพื่อโอนงบประมาณเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพ
สามารถโอนงบประมาณเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ ๗ – การสร้างความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการมหานคร |
๗.๒ - การบริหารแผนและประเมินผล |
๗.๒.๒ การพัฒนาระบบการบริหารแผนและการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ% |
๗.๒.๒.๑ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-29)
29/09/2566 : กรุงเทพมหานครโอนเงินสมทบกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวนเงิน 206,598,303.- บาท เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-09-13)
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร ได้แจ้งจัดสรรค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยประชากรผู้มีสิทธิที่ใช้ในการจัดสรรงบประมาณในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 7,651,789 ราย ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นเงิน 344,330,505 บาท (สามร้อยสี่สิบสี่ล้านสามแสนสามหมื่นห้าร้อยห้าบาทถ้วน) ขณะนี้กรุงเทพมหานครกำลังดำเนินการ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการโอนเงินสมทบเข้าบัญชีกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-08-18)
1. กลุ่มหลักประกัรสุขภาพได้มีหนังสือที่ 685/2566 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2566 เรื่อง ขอกันเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไว้เบิกเหลื่อมปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (กรณียังไม่ก่อหนี้ผูกพัน) ถึงฝ่ายบริหารงานทั่วไป สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร ได้แจ้งจัดสรรค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยประชากรผู้มีสิทธิที่ใช้ในการจัดสรรงบประมาณในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 7,651,789 ราย ณ วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นเงิน 344,330,505 บาท (สามร้อยสี่สิบสี่ล้านสามแสนสามหมื่นห้าร้อยห้าบาทถ้วน) เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครเป็นไปตามประกาศฯ รายละเอียดตามหนังสือ ที่ สปสช. 9.42 /33921 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-07-27)
27/07/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : ประเด็นความคืบหน้าประเด็นเรื่องการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้บุคคลใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขตามมาตรา 9 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มีประเด็นสำคัญ ดังนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งคืนร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง 4 ฉบับไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แต่มีข้อสังเกตว่ามาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ บัญญัติให้ “บุคคลทุกคน” มีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงมีหน้าที่ต้องให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานแก่บุคคลเท่าเทียมกัน กับข้อเท็จจริงว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งครอบคลุมการให้บริการสาธารณสุขเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพ แก่ “ประชากรไทยทุกคน” โดยมิได้ยกเว้นบุคคลตามมาตรา 9 และมาตรา 10 แห่งประราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯดังนั้นสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงมีอำนาจในทางบริหารตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีตามมติดังกล่าวที่จะดำเนินการเพื่อให้บุคคลทุกคนได้รับสิทธิรับบริการสาธารณสุขเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพ และบริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพ และการดำรงชีวิตได้โดยเท่าเทียมกันรายละเอียดตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนที่สุด ที่ นร 0912/61 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-05-31)
กรุงเทพมหานครได้มีหนังสือที่ กท 0702/2162 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 เรื่อง การจัดสรรค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อขอชลอการจัดสรรงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ออกไปก่อน เพื่อรอความชัดเจนในประเด็นการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชนนอกสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-29)
29/04/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-29)
29/03/2566 : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร ได้มีหนังสือที่ สปสช.9.42/6761 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เรื่อง แจ้งยอดการจัดสรรค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2566 โดยขณะนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติยังไม่ได้โดนเงินให้กรุงเทพมหานคร อยู่ในระหว่างรอสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตอบข้อหารือ เรื่อง แนวทางการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนนอกสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-27)
27/03/2566 : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร ได้มีหนังสือที่ สปสช.9.42/6761 ลงวันทีี่่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เรื่อง แจ้งยอดการจัดสรรค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2566 ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร ยังไม่ได้โอนงบประมาณให้กรุงเทพมหานคร ขณะนี้อยู้ในระหว่างขั้นตอนการปรึกษาหารือ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-28)
28/02/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 75
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **