ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองควบคุมโรคติดต่อ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 2
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนเป็นวิธีป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความคุ้มค่า นานาประเทศทั่วโลกใช้วัคซีนเป็นเครื่องมือเป็นเครื่องมือป้องกันควบคุมโรคที่เป็นปัญหาสำคัญอย่างได้ผลดี สำหรับประเทศไทย ได้ดำเนินการตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอย่างเป็นระบบมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2520 ด้วยการให้วัคซีนตามกำหนดการปกติ (Routine immunization) แก่เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กนักเรียน เป็นผลให้โรคป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ลดลงอย่างมาก แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ เช่น การระบาดของโรคคอตีบ ปี พ.ศ. 2556-2558 การระบาดของโรคหัด ปี พ.ศ. 2558-2561 เป็นต้น เมื่อปี พ.ศ. 2561 องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้ขยายกลุ่มเป้าหมายการให้วัคซีนในวัยรุ่นและผู้ใหญ่เพิ่มเติม สำหรับการให้วัคซีนในผู้ใหญ่ของประเทศไทยได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 และในปี พ.ศ. 2559 มีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในผู้ใหญ่โดยดำเนินงานคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่นำร่อง 4 อำเภอ ใน 4 จังหวัด ในปี พ.ศ. 2561 มีการขยายพื้นที่การดำเนินงานเป็น 12 จังหวัด และมีการขยายพื้นที่การดำเนินงานไปทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2562 จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผ่านมามติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 ได้เห็นชอบให้มีการจัดระบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในผู้ใหญ่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเข้ารับวัคซีนโควิด 19 ได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และยั่งยืน ส่งเสริมให้กลุ่มผู้ใหญ่มีช่องทางการเข้าถึงวัคซีนอื่นๆ และยกระดับภูมิคุ้มกันโรคให้ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย และสร้างความมั่นคงทางสุขภาพด้วยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค กองควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ทางวิชาการ การวางแผนในการป้องกัน ควบคุมโรค และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยดำเนินภารกิจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เห็นความสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงตามนิยามที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกำหนด จึงได้จัดทำกิจกรรมเร่งรัดการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ในศูนย์บริการสาธารณสุขขึ้น เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย
08080000/08080000
1. เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเข้ารับวัคซีนโควิด 19 ในศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ของสำนักอนามัย ได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และยั่งยืน 2. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มผู้ใหญ่มีช่องทางในการเข้าถึงวัคซีนอื่นๆ 3. เพื่อยกระดับภูมิคุ้มกันโรคให้ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย และสร้างความมั่นคงทางสุขภาพด้วยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
กลุ่มเป้าหมายที่รับบริการจากศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-12)
12/09/2566 : โครงการดำเนินงานแล้วเสร็จ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-08-17)
17/08/2566 : อยู่ในระหว่างดำเนินการเร่งรัดศูนย์บริการสาธารณสุขให้บริการวัคซีนโควิด 19
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 74.00 (2023-07-17)
17/07/2566 : ประชุมแจ้งความก้าวหน้าโครงการและแจ้งเร่งรัดการให้บริการวัคซีนโควิด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-12)
12/06/2566 : อยู่ระหว่างให้บริการฉีดวัคซีน โดยผลให้บริการฉีดวัคซีนโควิด เฉพาะเดือนพ.ค.66 =31,065 คน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-05-16)
16/05/2566 : ดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมายในศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ผลการดำเนินการ (ต.ค. 65 - เม.ย 66) รวมจำนวน 130,520 ราย ตุลาคม 2565 ดำเนินการแล้ว 9,213 ราย พฤศจิกายน 2565 ดำเนินการแล้ว 10,990 ราย ธันวาคม 2565 ดำเนินการแล้ว 55,604 ราย มกราคม 2566 ดำเนินการแล้ว 24,052 ราย กุมภาพันธ์ 2566 ดำเนินการแล้ว 11,475 ราย มีนาคม 2566 ดำเนินการแล้ว 3,910 ราย เมษายน 2566 ดำเนินการแล้ว 15,276 ราย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-04-12)
12/04/2566 : ดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมายในศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ผลการดำเนินการ (ต.ค. 65 - มี.ค. 66) รวมจำนวน 115,244 ราย ตุลาคม 2565 ดำเนินการแล้ว 9,213 ราย พฤศจิกายน 2565 ดำเนินการแล้ว 10,990 ราย ธันวาคม 2565 ดำเนินการแล้ว 55,604 ราย มกราคม 2566 ดำเนินการแล้ว 24,052 ราย กุมภาพันธ์ 2566 ดำเนินการแล้ว 11,475 ราย มีนาคม 2566 ดำเนินการแล้ว 3,910 ราย
** ปัญหาของโครงการ :ยังไม่พบปัญหา
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-15)
15/03/2566 : ดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมายในศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ผลการดำเนินการ (ต.ค. 65 - ก.พ. 66) รวมจำนวน 111,334 ราย ตุลาคม 2565 ดำเนินการแล้ว 9,213 ราย พฤศจิกายน 2565 ดำเนินการแล้ว 10,990 ราย ธันวาคม 2565 ดำเนินการแล้ว 55,604 ราย มกราคม 2566 ดำเนินการแล้ว 24,052 ราย กุมภาพันธ์ 2566 ดำเนินการแล้ว 11,475 ราย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-02-15)
15/02/2566 : ดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมายในศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ดำเนินการมาแล้ว 4 เดือน (ต.ค. 65 - ม.ค. 66) รวมจำนวน 99,859 ราย ตุลาคม 2565 ดำเนินการแล้ว 9,213 ราย พฤศจิกายน 2565 ดำเนินการแล้ว 10,990 ราย ธันวาคม 2565 ดำเนินการแล้ว 55,604 ราย มกราคม 2566 ดำเนินการแล้ว 24,052 ราย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : อัตราป่วยตายด้วยโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด 19)
ค่าเป้าหมาย ไม่เกินร้อยละ : 0.1
ผลงานที่ทำได้ ไม่เกินร้อยละ : 0.25
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **