ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวกนกวรรณ ชารีแสน โทร 3472
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ในปี ๒๕๕๘ เป็นปีแห่งการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนแต่ละประเทศได้เตรียมให้เยาวชนและประชากรของตนพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนให้มากที่สุด ต่างให้ความสำคัญในการพัฒนาด้านภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยเน้นให้สามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว ในการใช้ภาษาที่เป็นภาษาทางการ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ นอกจากนั้น แต่ละประเทศยังเพิ่มโอกาสพิเศษให้แก่เยาวชนโดยส่งเสริมให้ได้เรียนรู้ภาษาอื่นเพิ่มเติมเพื่อใช้สื่อสารกับประเทศใกล้เคียง เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมระหว่างประชาชนตามแนวตะเข็บชายแดนมากยิ่งขึ้น กรุงเทพมหานคร ในฐานะศูนย์กลางประชาคมอาเซียน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มโอกาสทางการเรียนรู้ภาษาอาเซียนอื่นๆ นอกจากภาษาอังกฤษ เพื่อให้เยาวชนในส่วนกลางสามารถสื่อสารภาษาถิ่นกับเยาวชนอาเซียนในแต่ละภาคส่วนได้อย่างเหมาะสม เช่น ภาษามลายูซึ่งเป็นภาษาดั้งเดิมที่มีวัฒนธรรมมาแต่โบราณ มีต้นกำเนิด มีประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ เป็นภาษาที่เป็นรากฐานการสื่อสารในประเทศแถบภาคใต้ของประเทศไทยและประเทศในแหลมมลายูหลายประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนิเซีย บรูไนดารุสซาลาม สิงคโปร์ ฯลฯ ซึ่งประเทศต่างๆ เหล่านี้ ล้วนมีบทบาททางด้านเศรษฐกิจ การค้า การส่งออกที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียนด้วย การที่เยาวชนกรุงเทพมหานครได้เรียนรู้ภาษาที่มีความเชื่อมโยงไปยังประเทศต่างๆ เหล่านี้ได้ ย่อมเกิดประโยชน์สำหรับการเจรจาต่อรองที่ได้เปรียบ การส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมครบทุกด้านสำนักการศึกษา จึงได้จัดทำโครงการนำร่องสอนภาษามลายูให้แก่นักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในระดับมัธยมศึกษาจำนวน ๗ โรงเรียน ในลักษณะสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร *หมายเหตุ เป็นโครงการที่โอนงบประมาณให้สำนักงานเขต เป็นค่าตอบแทนการสอนภาษามลายู เป็นเงิน ๑,๐๕๖,๐๐๐ บาท
09040000/09040000
๑. เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะการใช้ภาษามลายู ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในลักษณะโรงเรียนนำร่อง ให้เข้าใจ และสื่อสารได้ ๒. นักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ตระหนักและเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ๗ โรงเรียน จำนวน ๘๔๐ คน ได้แก่ ๑. โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ สำนักงานเขตสวนหลวง ๒. โรงเรียนนาหลวง สำนักงานเขตทุ่งครุ ๓. โรงเรียนสุเหร่าลำแขก สำนักงานเขตหนองจอก ๔. โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย สำนักงานเขตหนองจอก ๕. โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ สำนักงานเขตหนองจอก ๖. โรงเรียนบางชัน สำนักงานเขตคลองสามวา ๗. โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ สำนักงานเขตบางกะปิ
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All |
๓.๓ - การศึกษาสำหรับทุกคน |
๓.๓.๒ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา% |
๓.๓.๒.๑ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลัก |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2019-10-24)
24/10/2562 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว ผลการดำเนินงาน พบว่า โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการสอนภาษามลายู จำนวน 7 โรงเรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษามลายูให้แก่นักเรียนตามระดับชั้นที่กำหนด ส่งผลให้นักเรียนได้รับความรู้ มีการพัฒนาทักษะด้านภาษามลายู นักเรียนทีมีผลการเรียนภาษาจีน “ผ่าน” เกณฑ์การทดสอบที่โรงเรียนกำหนด คิดเป็นร้อยละ 100
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการโครงการประจำพื้นฐานของสำนักการศึกษา
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 12.99
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **