ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการพัฒนาEQ และทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล : 09000000-4366

สำนักการศึกษา : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

นางสาวเปรมใจ บุญประสพ

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

EQ ย่อมาจาก Emotional Quotient แปลว่า ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถหรือศักยภาพของบุคคลในการรับรู้อารมณ์ของตนเองรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง สามารถควบคุมจัดการกับอารมณ์ของตนเองและแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม และรับรู้อารมณ์ของผู้อื่น ตอบสนองอารมณ์และความต้องการของผู้อื่นได้ถูกต้อง ความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ในปัจจุบัน คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูง หรือมีทักษะทางอารมณ์ที่ได้รับการพัฒนามาเป็นอย่างดี จะเป็นคนที่สามารถรับรู้ เข้าใจและจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้ดี รวมทั้งเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น จึงมักประสบความสำเร็จ มีความ พึงพอใจในชีวิต ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่สามารถ ควบคุม อารมณ์ได้ มักจะเต็มไปด้วยความขัดแย้งภายในจิตใจ พลอยทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและการทำงาน มีความคิดหมกมุ่น กังวล ไม่ปลอดโปร่ง เกิดปัญหากับบุคคลรอบข้างได้ นอกจากนี้ มาร์ติน เซลิกแมน (Martin Seligman) ศาสตราจารย์ทางจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ผู้มีชื่อเสียงที่สุดในสหรัฐอเมริกาเคยทำวิจัย พบว่า ผู้นำองค์กรทางธุรกิจในอเมริกาที่ประสบความสำเร็จสูงมีคุณลักษณะด้าน EQ สูงถึงร้อยละ 80 ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นคนมี IQ สูง นอกจาก EQ แล้ว คนที่มีความฉลาดทางดิจิทัล (Digital Intelligence Quotient : DQ) คือ กลุ่มของความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ จะทำให้สามารถเผชิญกับความท้าทายบนเส้นทางของชีวิตในยุคดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตในยุคดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม การพัฒนาผู้เรียนให้มีทั้ง EQ และทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะที่สำนักการศึกษามีหน้าที่ กำกับ ดูแลการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ให้มีคุณภาพโดยมีเป้าหมายให้นักเรียนมีทั้งองค์ความรู้และมีทักษะในการดำรงชีวิตเพื่อเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติ จึงได้จัดโครงการพัฒนา EQ และทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลขึ้น โดยการจัดอบรมให้แก่ครูประจำชั้น ป.2 เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมพัฒนา EQ ของนักเรียน ทั้งนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 สำนักการศึกษา ได้จัดอบรมให้แก่ครูประจำชั้น ป.1 ไปแล้ว และจัดอบรมให้แก่ครูแนะแนวหรือครูที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานแนะแนว และครูผู้สอนระดับชั้น ป.4 – 6 เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครจัดกิจกรรมพัฒนา EQ และทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล

09040200/09040200

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมี EQ ในระดับปกติ 2.2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล 2.3 เพื่อพัฒนาครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมพัฒนา EQ ของนักเรียน 2.4 เพื่อพัฒนาครูแนะแนวหรือครูที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานแนะแนว และครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลของนักเรียน 2.5 เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนดำเนินการพัฒนาEQ และทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลของนักเรียน

เป้าหมายของโครงการ

3.1 ด้านปริมาณ 3.1.1 กิจกรรมที่ 1 ครูประจำชั้น ป.2 จำนวน 431 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน จำนวน 431 คน ผู้ที่เกี่ยวข้อง วิทยากร 24 คน เจ้าหน้าที่ 20 คน 3.1.2 กิจกรรมที่ 2 ครูแนะแนวหรือครูที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานแนะแนว จำนวน 431 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน ผู้ที่เกี่ยวข้อง วิทยากร 24 คน เจ้าหน้าที่ 20 คน 3.1.3 กิจกรรมที่ 2 ครูผู้สอนระดับชั้น ป.4 – 6 จำนวน 431 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน จำนวน 431 คน 3.1.4 กิจกรรมที่ 3 ครูแนะแนวหรือครูที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานแนะแนว จำนวน 431 โรงเรียนๆ ละ 1 คน ผู้ที่เกี่ยวข้อง วิทยากร 48 คน เจ้าหน้าที่ 40 คน 3.1.5 กิจกรรมที่ 3 ครูประจำชั้น ป.2 จำนวน 431 โรงเรียน ๆ ละ 1 คน จำนวน 431 คน 3.1.6 กิจกรรมที่ 4 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 431 โรงเรียน 3.2 ด้านคุณภาพ 3.2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการส่งเสริมให้มี EQ ในระดับปกติ ร้อยละ 80 มี EQ ในระดับปกติ 3.2.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ที่ได้รับการส่งเสริมให้มีทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล ร้อยละ 80 มีทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล ระดับดีขึ้นไป 3.2.3 ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ร้อยละ 100 มีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมพัฒนา EQ ของนักเรียน ระดับดีขึ้นไป 3.2.4 ครูแนะแนวหรือครูที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานแนะแนว และครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ร้อยละ 100 มีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลของนักเรียน ระดับดีขึ้นไป 3.2.5 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่เปิดสอนระดับประถมศึกษา ร้อยละ 80 จัดกิจกรรมพัฒนา EQ และทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลของนักเรียน ได้ในระดับดีขึ้นไป

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
๓.๓ - การศึกษาสำหรับทุกคน
๓.๓.๒ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา%
๓.๓.๒.๑ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลัก

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-10-06)

100.00

06/10/2566 : รวบรวมและสรุปผลการดำเนินโครงการ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มี EQ ระดับปกติจำนวน 22913 คน คิดเป็น ร้อยละ 87.07 จากนักเรียนทั้งหมด 26311 คน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 97.00 (2023-09-25)

97.00

25/09/2566 : อยู่ระ่หว่างดำเนินการรวบรวมและสรุปผลการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-08-25)

95.00

25/08/2566 : ศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียนนิเทศติดตามและให้คำปรึกษาในการดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนา EQ และ DQ ของนักเรียน และรวบรวมข้อมูลเพื่อสรุปและประเมินผลโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-20)

90.00

20/07/2566 : ศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียนนิเทศติดตามและให้คำปรึกษาในการจัดทำแผนการดำเนินงาน และสนับสนุนให้โรงเรียนดำเนินการตามแผนฯ โดยระหว่างวันที่ 17-31 กรกฎาคม 2566 ทุกโรงเรียนจะดำเนินการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 84.00 (2023-06-22)

84.00

22/06/2566 : ดำเนินการนิเทศติดตามและให้คำปรึกษาแก่ครูในการจัดทำแผนส่งเสริมและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และความฉลาดทางดิจิทัล (DQ) โดยศึกษานิเทศก์ประจำโรงเรียน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-05-21)

80.00

21/05/2566 : ดำเนินกิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำแผนพัฒนา EQ และทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล จำนวน 4 รุ่น เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ รุ่นที่ 1 วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 รุ่นที่ 2 วันที่ 2 พฤษภาคม 2566 รุ่นที่ 3 วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 รุ่นที่ 4 วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 : ดำเนินกิจกรรมที่ 4 จัดสรรวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมพัฒนา และทักษะการใช้ชัวิตในยุคดิจิทัลให้แก่โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยจัดส่งจัดสรรวัสดุ อุปกรณ์ ไปยังโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-11)

50.00

11/04/2566 : ดำเนินการกิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล เสร็จสิ้นแล้ว ดังนี้ รุ่นที่ 1 วันที่ 8 - 10 กุมภาพันธ์ 2566 รุ่นที่ 2 วันที่ 15 - 17 กุมภาพันธ์ 2566 รุ่นที่ 3 วันที่ 20 - 21 กุมภาพันธ์ 2566 รุ่นที่ 4 วันที่ 1 - 3 มีนาคม 2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2023-02-24)

45.00

24/02/2566 : ดำเนินการกิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล ให้แก่ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 และครูแนะแนว แล้ว 3 รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ 1 วันที่ 8 - 10 กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 218 คน รุ่นที่ 2 วันที่ 15 - 17 กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 218 คน รุ่นที่ 1 วันที่ 20 - 22 กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 214 คน ณ โรงแรมเอส ดี อเวนิว เขตบางพลัด

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-01-22)

40.00

22/01/2566 : อยู่ระหว่างเตรียมการกิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล ดังนี้ - ทำคำสั่งให้ครูเข้ารับการอบรม - ทำหนังสือเชิญวิทยากร - เตรียมเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการอบรม

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2022-12-22)

30.00

22/12/2565 : ดำเนินการกิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนา EQ ของนักเรียน ให้แก่ครูประจำชั้น ป.2 จำนวน 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 วันที่ 7-9 ธันวาคม 2566 และรุ่นที่ 2 วันที่ 20 - 22 ธันวาคม 2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:ขออนุมัุติโครงการและขออนุมัติเงินงวด
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
:5.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ซื้อวัสดุโครงการ
:5.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนา EQ ของนักเรียน
:20.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตในยุดดิจิทัล
:20.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำแผนพัฒนา EQ และทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล
:20.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:กิจกรรมที่ 4 จัดสรรวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมพัฒนา และทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลให้แก่โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
:10.00%
เริ่มต้น :2023-02-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-02-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:สรุปและประเมินผลโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2023-08-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-08-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 09000000-4366

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 09000000-4366

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0900-2076

ตัวชี้วัด : ร้อยละของนักเรียน ที่ได้รับการส่งเสริมให้มี EQ ในระดับปกติ

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
0.00

0 / 0
3
0.00

0 / 0
4
0.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **