ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

พัฒนาระบบศูนย์สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ : 09000000-4369

สำนักการศึกษา : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

นางสาวเพ็ญนภา จันทร์จรัสทอง โทร.3495

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

สำนักการศึกษาโดยกองเทคโนโลยีการศึกษา มีหน้าที่ในการออกแบบ วิเคราะห์ พัฒนา และสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีการศึกษา จึงได้ออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้ “ศูนย์สื่อการเรียนรู้ออนไลน์” เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่สื่อการเรียนรู้ที่มีมาตรฐาน อำนวยความสะดวกให้ครูและนักเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ ซึ่งระบบดังกล่าวเปิดใช้งานมากว่า 10 ปี และด้วยบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปของการจัดการเรียนรู้ ทำให้ต้องปรับปรุงระบบเพื่อให้สอดรับกับการใช้งานในปัจจุบัน รวมถึงการเตรียมความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีทักษะในการจัดการเรียนรู้ออนไลน์เพิ่มขึ้น กองเทคโนโลยีการศึกษาจึงได้จัดทำโครงการเพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้และแนวทางในการออกแบบระบบการเรียนการสอนออนไลน์เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบศูนย์สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

09120300/09120300

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 2.2 เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบระบบการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับการจัดทำแพลตฟอร์มการศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

เป้าหมายของโครงการ

3.1 ด้านปริมาณ 3.1.1 ต้นแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ 3.1.2 แนวทางการออกแบบระบบการเรียนการสอนออนไลน์ 1 ระบบ 3.2 ด้านคุณภาพ 3.2.1 มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีการสำหรับใช้จัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 3.2.2 มีแนวทางออกแบบระบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่สอดรับกับความต้องการของโรงเรียน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-25)

100.00

25/09/2566 : สรุปการดำเนินงานของคณะทำงานศึกษารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการสำรวจและเก็บข้อมูลปัจจัยที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ รวมถึงแนวทางการบูรณาการสอนโดยใช้สื่อ เทคโนโลยีของโรงเรียน จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างของโรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ ซึ่งได้เป็นโรงเรียนนำร่องในการใช้งานโครมบุ๊ค ในการเรียนการสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ โดยได้สอบถามถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นภายในห้อง และแนวทางการจัดการเรียนการสอน ซึ่งสามารถสรุปผลการสำรวจได้ดังนี้ สภาพแวดล้องของห้องเรียน ๑.ควรมีระบบอินเทอร์เน็ต (wifi) ภายในห้องเรียนที่มีความสเถียร เชื่อมต่อง่าย ๒.มีโทรทัศน์ ภายในห้องเรียน เพื่อใช้แสดงสื่อของครู ๓.คอมพิวเตอร์พกพาให้นักเรียนใช้ในการเรียนและใช้สำหรับสืบค้นข้อมูล ช่วยเสริมการเรียนรู้ที่ดี แต่ครูเห็นว่าไม่ควรใช้ตลอดเวลา ควรใช้เป็นอุปกรณ์เสริมการเรียนรู้ จะช่วยดึงความสนใจและพัฒนาทักษะของนักเรียน ด้านทักษะและความรู้ของครูในการใช้เทคโนโลยี ๑.ครูมีทักษะการใช้เทคโนโลยีไม่เท่ากัน และเครื่องมือที่ใช้ยังมีไม่มีความเชี่ยวชาญทำให้ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ๒.ครูต้องการให้มีการอบรมเพื่อการพัฒนาทักษะความรู้การใช้งานแอปพลิเคชั่นที่หลากหลายและสามารถเลือกใช้งานได้ตามความถนัด ๓.การใช้ระบบ Google workspace ยังเป็นเครื่องมือใหม่ที่ครูยังไม่มีความชำนาญจึงใช้ระยะเวลาในการนำมาใช้ในทำสื่อการสอน เมื่อเทียบกับโปรแกรมของไมโครซอฟท์ ที่มีพื้นความรู้ดีและใช้งานได้ง่ายกว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้ จากการอบรมการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๖๖ แก่ข้าราชการครูที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑๑ โรงเรียน ๑๒๗ คน ตามกิจกรรมของโครงการพัฒนาห้องเรียนดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ผู้เข้ารับการอบรมได้ออกแบบการจัดเรียนรู้ตามแนวทาง Active learning และบูรณาการเครื่องมือ Google work space เพื่อออกแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ตามกลุ่มวิชาที่สอน ได้แก่ วิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ การงานอาชีพ คอมพิวเตอร์ ดนตรี ศิลปะ โดยจะนำไปใช้ในการเรียนการสอนของโรงเรียนนำร่อง ระดับชั้น ป. ๔ และ ม.๑ ในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๖

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-08-27)

50.00

27/08/2566 :จัดอบรมการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้แก่ข้าราชการครูฯ ที่เข้าร่วมโครงกาาร 11 โรงเรียน 5 สค. 66 จัดอบรมข้าราชการครูที่เข้าร่วมโครงการในการพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลผู้เรียน 8-9 สค. 66 อบรมการใช้เครื่องมือเทคโนโลยี 19 สค. 66 อบรมการโค้ชการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 26 สค. 66 กิจกรรมสะท้อนคิดและระดมสมองเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2023-07-29)

35.00

29/07/2566 : ประชุมการโค้ชออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2566 และอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานเครื่องมือเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 ให้แก่ข้าราชการครูที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Active learningและอบรมการสร้างเสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการออกแบบสื่อการเรียนรู้และการสอนออนไลน์

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-06-23)

30.00

23/06/2566 : จัดประชุมเตรียมความพร้อมโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 11 โรงเรียนในการจัดทำบัญชีผู้ใช้ของนักเรียน สำหรับระบบการเรียนรุั้ออนไลน์ต้นแบบ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-05-31)

25.00

31/05/2566 : อยู่ระหว่างจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-04-29)

20.00

29/04/2566 : ประชุมเตรียมแผนการดำเนินงาน และการฝึกอบรมครู ของโรงเรียนนำร่องที่เข้าร่วมโครงการ และมอหมายหน้าที่หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการดำเนินกิจกรรมการอบรมและการจัดทำสื่อการเรียนรู้

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-03-30)

15.00

30/03/2566 : ประชุมร่วมกับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในการกำหนดกรอบและการออกแบบการจัดการเรียนรู้ การใช้งานเครืองมือที่สนับสนุนการจัดการเรียนรู้และสื่อออนไลน์

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-02-23)

15.00

23/02/2566 : รวบรวมข้อมูลการสำรวจ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-01-19)

15.00

19/01/2566 : รวบรวมข้อมูลการสำรวจ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2022-12-28)

15.00

28/12/2565 :แต่งตั้งคณะทำงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา เรียบร้อยแล้วอยู่ระหว่างกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อการออกแบบระบบการเรียนรู้ออนไลน์

** ปัญหาของโครงการ :ไม่ไม่

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2022-12-22)

15.00

22/12/2565 : จัดทำคณะทำงานศึกษารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ และอยู่ระหว่างออกแบบสำรวจความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. ขออนุมัติโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. จัดทำคณะทำงานศึกษารูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์
:5.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. จัดทำแบบสำรวจ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-11-16 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-16 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. เก็บข้อมูล
:15.00%
เริ่มต้น :2022-12-16 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-16 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. จัดทำประชุมเชิงปฏิบัติการออกแบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์
:10.00%
เริ่มต้น :2023-03-16 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-16 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6. จัดทำวีดิทัศน์เผยแพร่
:10.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:7. ทดลองการจัดการเรียนการสอนออนไลน์
:20.00%
เริ่มต้น :2023-07-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-07-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:8. ติดตามและประเมินผล
:15.00%
เริ่มต้น :2023-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-09-01 00:00:00
ขั้นตอน 9
:9. สรุปประเมินผลและรายงานผลการดำเนินโครงการ
:5.00%
เริ่มต้น :2023-09-16 00:00:00
สิ้นสุด :2023-09-16 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 09000000-4369

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 09000000-4369

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0900-2047

ตัวชี้วัด : ร้อยละของโรงเรียนมีเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาในการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 60

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
5.00

0 / 0
2
10.00

0 / 0
3
30.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **