ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 60
ส่วนวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ประเทศไทยกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ในยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ไว้ว่าเป็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตโดยพัฒนาทักษะความสามารถการเรียนรู้ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ที่ข้อมูล ข่าวสารและสารสนเทศมีจำนวนมากมายมหาศาล สามารถเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว และมีทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง เชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้ปะปนกัน มนุษย์จึงต้องมีเครื่องมือด้านกระบวนการคิดมาช่วยในการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลนั้นๆ ก่อนตัดสินใจเชื่อ หรือกระทำสิ่งใดๆ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสมเหตุสมผล มีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุน และไม่ผิดศีลธรรมหรือจริยธรรม ไม่ถูกครอบงำด้วยความเชื่อที่ไม่ได้ไตร่ตรอง หรือถูกชักจูงไปในทางที่ผิดได้ กระบวนการคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking) ซึ่งเป็นการคิดที่นำไปสู่วิธีการแก้ปัญหา การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หรือกระบวนการคิดซับซ้อนอื่นๆ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในโลกยุคดิจิทัลให้มีสมรรถนะการคิดขั้นสูง โดยเฉพาะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือความสามารถในการวิเคราะห์ ตีความหมาย ประเมินค่า สรุป และสังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และใช้ผลลัพธ์ในการแก้ไขปัญหา หรือตัดสินใจในการเชื่อหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง บนพื้นฐานของความเชื่อ สังคม-วัฒนธรรม และคุณธรรม-จริยธรรมที่ถูกต้องและดีงาม เป็นกระบวนการคิดที่ใช้ทั้งความรู้และคุณธรรมกำกับการคิด จึงส่งผลให้ผลลัพธ์ของการคิด ความเชื่อ หรือการตัดสินใจนั้นๆ เป็นไปอย่างสมเหตุสมผล นำไปสู่ความสมดุลและความพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้แบบหนึ่งที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน หรือ “การเรียนรู้เชิงรุก” (Active Learning) ที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะสำคัญและสมรรถนะการคิดขั้นสูง "การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน" คือการใช้กิจกรรมเป็นที่ตั้งเพื่อที่จะฝึกหรือพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนด ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นด้านการรู้คิด กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้จากตัวผู้เรียนเองมากกว่าการฟังผู้สอนในห้องเรียนและการท่องจำ มุ่งเน้นความรับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ใช้การอ่าน เขียน คิด อภิปราย และเข้าร่วมในการแก้ปัญหา สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมาย (Meaningful Learning) ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่คงทน ผู้เรียนเข้าใจเห็นภาพ เชื่อมโยงกับชีวิตจริงได้ พร้อมกับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ ไปกับการเรียนรู้ร่วมกัน ผู้เรียนจึงสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้กิจกรรมเป็นฐานเป็นการเรียนรู้ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ของบลูม (Bloom’s Taxonomy) ที่บูรณาการทั้งในด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย ทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาสมรรถนะการคิดไปสู่การคิดขั้นสูง คิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถเปลี่ยนแนวคิดเชิงนามธรรม เป็นรูปธรรม บูรณาการให้ผู้เรียนสามารถใช้ทั้งความรู้และคุณธรรมกำกับการคิด ตลอดจนพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนอกห้องเรียน และตลอดชีวิตอีกด้วย
09110120/09110120
1. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีสื่อกิจกรรมการเรียนรู้ และมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ 2. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะด้านการคิดขั้นสูง และทักษะที่สำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติตามแนวคิด Active Learning 3. เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะการคิดขั้นสูงโดยใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-based Learning) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ด้านปริมาณ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 โรงเรียน มีสื่อกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการคิดขั้นสูงและทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 โดยแบ่งโรงเรียนเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดใหญ่ 2. ด้านคุณภาพ 1) ผู้เรียนได้รับการพัฒนากระบวนการคิดขั้นสูง 2) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 3) ผู้สอนมีสื่อจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมและหลากหลาย เพื่อพัฒนาสมรรถนะการคิดขั้นสูงโดยใช้การัดการเรียนรู็โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-07-27)
27/07/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธี E-Bidding
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-04-24)
24/04/2566 : อยู่ระหว่างจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่าง TOR และกำหนดราคากลาง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : อยู่ระหว่างขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-17)
17/01/2566 : อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลเพื่อขออนุมัติแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-26)
26/12/2565 : อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลเพื่อขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมประจำพื้นฐานของสำนักการศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ.2566
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ :
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **