ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กลุ่มงานหลักสูตรการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สะเต็มศึกษา เป็นแนวทางส่งเสริมทักษะที่จําเป็นครอบคลุมทั้ง ๓ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านปัญญา ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาและเชื่อมโยงกับการปฏิบัติจริงและการฝึกทักษะการปฏิบัติ ๒) ด้านทักษะการคิด ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ และ ๓) ด้านคุณลักษณะ ผู้เรียนสามารถมีทักษะการทํางานเป็นกลุ่ม มีทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้เครื่องมือด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดีจากบริบทที่เปลี่ยนแปลงของโลกและการศึกษาที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท ของโลกที่เปลี่ยนไปในศตวรรษที่ ๒๑ การจัดการศึกษาในปัจจุบันจําเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งสามารถแบ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เป็น ๓ องค์ประกอบ ได้แก่ ๑) ปัจจัย ๒) กระบวนการ และ ๓) ผลผลิต ซึ่งปัจจัยที่สําคัญ คือ ปัจจัยที่ ๑ เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ เนื่องจากเป็นปัจจัยสร้างสรรค์ด้วย ปัญญา (Constructionism) และสร้างกระบวนการเรียนรู้ ส่วนปัจจัยที่ ๒ คือ ครู ซึ่งครูจําเป็นต้องเปลี่ยน บทบาทจากการเป็นผู้จัดการเรียนรู้มาเป็นผู้กระตุ้นการเรียนรู้หรือผู้ช่วยเหลือการเรียน (Facilitator) และปัจจัยที่ ๓ คือ นักเรียนที่จะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้เรียนมาเป็นนวัตกร (Innovator) เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมในการ เรียนรู้แบบต่างๆ ตามความสนใจให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนแต่ละโรงเรียน และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งการ ดําเนินงานทางด้านสะเต็มศึกษาเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาครู และนักเรียนของสถานศึกษา เพื่อเตรียมความ พร้อมการเข้าสู่การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ การเรียนรู้ในยุคดิจิทัล และนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ ปัจจุบันเทคโนโลยีถูกพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสตร์เกี่ยวกับหุ่นยนต์ ที่เริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจําวันในรูปแบบต่างๆ การศึกษาหาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ยังไม่ เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย แม้ว่าจะมีหนังสือให้ความรู้ทางด้านนี้อยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ และยังไม่เอื้อ ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะกับนักเรียนในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งกําลัง จะเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่จําเป็นต้องอาศัยความรู้ทางด้านนี้เพื่อใช้ประกอบการเรียน และเป็นวิชาชีพใน อนาคต ซึ่งในเวลาปกติไม่มีโอกาสในการเรียนรู้ และการฝึกฝนให้เกิดความเชี่ยวชาญ จึงทําให้ขาดประสบการณ์ และทักษะในเรื่องราวของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ดังนั้นสํานักการศึกษาจึงได้จัดทําโครงการโครงการพัฒนาและจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา โรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานครขึ้น เพื่อบูรณาการแนวการจัดการเรียนรู้แบบ STEM Education ผ่านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ โดยมุ่งให้นักเรียนมีแนวทาง สามารถศึกษาเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์ได้ด้วยตนเอง กระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ เทคโนโลยีใหม่ๆ ทําให้เกิดมุมมอง และความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง ตลอดจนสามารถประยุกต์ ความคิดเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ช่วยยกระดับความรู้ด้านหุ่นยนต์ของเยาวชนในการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับ นานาชาติ ภายใต้รูปแบบของฐานโครงงานที่เน้นให้นักเรียนได้ออกแบบและประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่มีรูปแบบไม่จํากัด ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ได้เรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่กับความ สนุกสนานเพลิดเพลิน ได้ฝึกฝนทักษะด้านวิศวกรรม ตลอดจนการฝึกคิดเพื่อการแก้ปัญหาแบบครบวงจร ตั้งแต่ขั้น การวางแผน ออกแบบ การประกอบ การทดลองปรับปรุงแก้ไข การลองผิดลองถูก จนได้เป็นชิ้นงานนวัตกรรมที่ นักเรียนสร้างขึ้นด้วยตนเอง โดยนักเรียนจะได้ฝึกทักษะต่างๆ ที่หลากหลาย จากการลงมือทํากิจกรรมด้วยการนํา ความรู้ในวิชาหลักจากห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ในภาคปฏิบัติ รวมทั้งได้ฝึกทักษะการค้นคว้าหาข้อมูล การวิเคราะห์ และการแก้ไขโจทย์ปัญหาที่มีความซับซ้อนด้วยตนเองมากขึ้น ภายใต้ความสอดคล้องกับตัวชี้วัด และสาระการ เรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
09040400/09040400
๒.๓ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา โดยผ่านสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบของฐาน ๒.๒ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของครู เกี่ยวกับทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ใหม่ในการ จัดการเรียนรู้ควบคู่ไปกับวิชาหลักสูตรแกนกลาง Education การเรียนรู้ ๒.๓ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการคิดแบบบูรณาการผ่านระบบ STEM ๒.๔. เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ให้แก่นักเรียนในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และเปลี่ยนการเล่นให้เป็น ๒.๕ เพื่อพัฒนา และส่งเสริมศักยภาพด้านทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนในเวที การแข่งขันระดับประเทศ
๓.๑ ด้านปริมาณ ผู้เข้าร่วมโครงการ รวม ๓๖๖ คน ได้แก่ ๑) ผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน ๑๒๘ คน ๒) ครู จํานวน ๑๒๘ คน ๓) หัวหน้าฝ่ายการศึกษา จํานวน ๕๐ คน และ ๔) ศึกษานิเทศก์ จํานวน 50 คน ๓.๒ ด้านคุณภาพ ๑) ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ และนําไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม ๒) ครูจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม ๓) นักเรียนมีทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนด
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-30)
30/09/2566 : กำเนินการตามแผนแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :เป็นโครงการที่ผู้เรียนให้ความสนใจ และผู้สอนได้ประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ 214การเข้าค่ายสะเต็มศึกษา
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-07-27)
กำลังดำเนินการอยู่ในระหว่างดำเนินการ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-05-25)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------