ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 81
สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในยุค Disruption ซึ่งเป็นยุคที่ผู้คนรุ่นใหม่ได้นำความรู้และมุมมองในด้านต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีในสมัยก่อน มาปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานและการดำรงชีวิตซึ่งส่งผลกระทบ ไปทั่วโลก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกมิติรวมถึงมิติของสังคมและศิลปวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์แบบข้ามพรหมแดน การผสมผสานทางด้านการรับรู้ ด้านแนวคิด ด้านรูปแบบ และด้านรสนิยม ซึ่งส่งผลต่อ การปรับเปลี่ยนรูปแบบของสังคมและศิลปวัฒนธรรมอย่างประจักษ์ชัด ดังนั้น การดำเนินงานด้านการศึกษาเพื่ออนุรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงาม จึงมีความสำคัญยิ่ง โดยได้กำหนดให้มีแผนงานเพื่อส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๗ และ มาตรา ๒๓ (๓) ที่ได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในประเทศและระหว่างประเทศ สำนักการศึกษา มีหน้าที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครกับนักเรียนสังกัดอื่น ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะนักเรียนเมืองยาชิโย ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมกับนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นประจำทุกปี จึงได้จัดทำโครงการเพื่ออนุรักษ์ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครกับนักเรียนเมืองยาชิโย ประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ ยุวทูตของทั้งสองประเทศได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การใช้ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของแต่ละฝ่าย อันจะนำไปสู่ความเข้าใจในวิถีชีวิตของสังคมในแต่ละประเทศ ทำให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจ และพร้อมที่จะอนุรักษ์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม รวมถึงประเพณีดั้งเดิมผสมผสานกับความร่วมสมัยสืบไป
09110000/09110000
๒.๑ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามอัตลักษณ์แห่งมหานคร แก่นักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ตามแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2564 - 2569) ๒.๒ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครได้พัฒนาศักยภาพด้านการใช้ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและประเพณีของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ๒.๓ เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยระหว่างกรุงเทพมหานครและเมืองยาชิโย ประเทศญี่ปุ่น
๓.๑ ด้านปริมาณ 3.1.1 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนและคัดเลือกผู้แทนนักเรียนเพื่อเป็นยุวทูตกรุงเทพมหานคร รอบที่ 1 จำนวน 977 คน ประกอบด้วย นักเรียน 862 คน วิทยากร 25 คน กรรมการ 40 คน และเจ้าหน้าที่ 50 คน รอบที่ 2 จำนวน 105 คน ประกอบด้วย นักเรียน 80 คน วิทยากร 5 คน กรรมการ 8 คน และเจ้าหน้าที่ 12 คน ๓.๑.2 ให้การต้อนรับคณะยุวทูตและเจ้าหน้าที่จากเมืองยาชิโย ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 150 คน ประกอบด้วย ยุวทูตญี่ปุ่น 10 คน เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่น 7 คน เจ้าหน้าที่ กทม. 16 คน ล่าม 2 คน และผู้ร่วมกิจกรรม 115 คน 3.1.3 กิจกรรมฝึกอบรมยุวทูตกรุงเทพมหานครก่อนการเดินทาง จำนวน 17 คน ประกอบด้วย ยุวทูตกรุงเทพมหานคร 12 คน วิทยากร 3 คน และเจ้าหน้าที่ 2 คน และกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนการเดินทาง จำนวน 30 คน ประกอบด้วย ยุวทูตกรุงเทพมหานคร 12 คน เจ้าหน้าที่ที่เดินทาง 7 คน ครูผู้ควบคุมนักเรียนและเจ้าหน้าที่ 11 คน 3.1.4 คณะยุวทูตกรุงเทพมหานครเดินทางไปเมืองยาชิโย จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ยุวทูตกรุงเทพมหานคร 12 คน ข้าราชการระดับสูง 2 คน ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ 5 คน ๓.๒ ด้านคุณภาพ ๓.๒.๑ นักเรียนมีคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ผู้เรียนแห่งมหานคร ตามแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2564 - 2569) ๓.๒.๒ นักเรียนมีการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ได้เปิดโลกทัศน์และมีโอกาสได้เรียนรู้ทักษะการใช้ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น ๓.๒.๓ ยุวทูตกรุงเทพมหานครเดินทางไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างกรุงเทพมหานครและเมืองยาชิโย ประเทศญี่ปุ่น
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 81.00 (2023-05-25)
25/05/2566 : คณะยุวทูตเดินทางไปเมืองยาชิโย ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 17-24 พฤษภาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-04-21)
21/04/2566 : สำนักการศึกษา ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกรุงเทพมหานครและเมืองยาชิโย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างและพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามอัตลักษณ์แห่งมหานคร แก่นักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ส่งเสริมให้นักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้พัฒนาศักยภาพด้านการใช้ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ส่งเสริมการเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างกรุงเทพมหานครและเมืองยาชิโย ประเทศญี่ปุ่น แบ่งการดำเนินงานเป็น 3 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพนักเรียนและคัดเลือกผู้แทนนักเรียนเพื่อเป็นยุวทูตกรุงเทพมหานคร รอบที่ 1 นำนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 274 คน จาก 153 โรงเรียน 47 สำนักงานเขต เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพและคัดเลือกผู้แทนนักเรียนเพื่อเป็นยุวทูตกรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 23 - 24 มกราคม 2566 ณ ห้องบางกอก ชั้น B2 อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เขตดินแดง โดยมีวิทยากร 21 คน กรรมการ 12 คน และเจ้าหน้าที่จากสำนักการศึกษา 50 คน ร่วมกันพิจารณาและคัดเลือกนักเรียนให้เหลือตัวแทนจำนวน 80 คน รอบที่ 2 นำตัวแทนนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 80 คน จาก 64 โรงเรียน 47 สำนักงานเขต เข้าร่วมกิจกรรมแบบพักค้าง เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ในระหว่างวันที่ 15 - 17 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมรอแยล เบญจา (Royal Benja Hotel) เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยมีวิทยากร 5 คน กรรมการ 8 คน และเจ้าหน้าที่จากสำนักการศึกษา 12 คน ร่วมกันพิจารณาและคัดเลือกนักเรียนให้เหลือผู้แทนนักเรียนเพื่อเป็นยุวทูตกรุงเทพมหานคร จำนวน 12 คน กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมยุวทูตกรุงเทพมหานครก่อนการเดินทาง 2.1 ฝึกอบรมยุวทูตกรุงเทพมหานครก่อนการเดินทาง โดยการจัดอบรมเพื่อพัฒนา ศักยภาพด้านการสื่อสารและบุคลิกภาพ และศิลปวัฒนธรรมของไทยและญี่ปุ่น ให้แก่ยุวทูตกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 29-31 มีนาคม 2566 แบบพักค้าง เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ณ โรงแรมรอแยล เบญจา (Royal Benja Hotel) เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย ยุวทูตกรุงเทพมหานคร 12 คน วิทยากร 3 คน และเจ้าหน้าที่ 2 คน รวมทั้งหมด 17 คน 2.2 เตรียมความพร้อมยุวทูตกรุงเทพมหานครก่อนการเดินทาง โดยการจัดอบรม เพื่อเรียนรู้เรื่องรอบตัว วัฒนธรรมเมืองยาชิโย การปฏิบัติตนกับครอบครัวอุปถัมภ์ ตลอดจนการออกแบบ การแสดงของยุวทูตกรุงเทพมหานคร แบบไป-กลับ กำหนดจัดระหว่างวันที่ 24-26 เมษายน 2566 เป็นเวลา 3 วัน ณ โรงเรียนนาหลวง เขตทุ่งครุ และห้องประชุมศิรินาม ชั้น 3 สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย ยุวทูตกรุงเทพมหานคร 12 คน เจ้าหน้าที่ที่เดินทาง ได้แก่ ข้าราชการระดับสูง ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญสังกัดสำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร และพลเมืองกิตติมศักดิ์ของเมืองยาชิโย จำนวน 7 คน ครูผู้ควบคุมนักเรียนจากโรงเรียนของยุวทูตกรุงเทพมหานคร (โรงเรียนละ 1 คน) จำนวน 9 คน และเจ้าหน้าที่ 2 คน รวมทั้งหมด 30 คน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------