ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กลุ่มงานสรรหาบุคคล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สำนักงานการเจ้าหน้าที่ จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและ เจตคติที่ดีและมีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อวิชาชีพครูมาทดแทนตำแหน่งที่ว่างเพื่อให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
09020700/09020700
๒.๑ เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ มีเจตคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อวิชาชีพครูเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครในกลุ่มวิชาที่ตรงกับ ความต้องการของสถานศึกษา ๒.๒ เพื่อสนับสนุนอัตรากำลังของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
3.๑ ด้านปริมาณ ผู้ที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีทางด้านการศึกษาและมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งครูผู้ช่วย จำนวน 35,000 คน 3.๒ ด้านคุณภาพ มีอัตรากำลังของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล |
๗.๓.๒ กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลเข้มแข็งเอื้อต่อความเป็นธรรมสามารถสร้างสมดุล% |
๗.๓.๒.๑ ทบทวนและปรับปรุงกรอบอัตราก?าลัง และโครงสร้างอัตราก?าลังให้มีความ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-19)
19/09/2566 : 1. สำนักการศึกษาประกาศรับสมัครก่อนวันรับสมัครไม่น้อยกว่า 7 วัน และมีระยะเวลารับสมัคร ไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ส่งประกาศทางอินเตอร์เน็ต ประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ต และทางสื่อต่างๆ 2. เปิดรับสมัครสอบทางอินเตอร์เน็ต กรอกข้อความในใบสมัครให้ถูกต้องครบถ้วน โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดแล้วทำการสมัคร 3. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบแข่งขัน ประกาศวัน เวลา และสถานที่สอบ ตลอดจนกำหนดระเบียบว่าด้วยการปฏิบัติของผู้เข้าสอบ และระเบียบอื่นๆ เกี่ยวกับการสอบแข่งขันเท่าที่จำเป็น ณ สำนักการศึกษาทางอินเตอร์เน็ต และสื่อต่างๆ 4. เมื่อการสอบแข่งขันเสร็จสิ้นแล้ว ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเกณฑ์การสอบข้อเขียน ทั้งภาค ก และภาค ข เป็นผู้มีสิทธิ์เข้ารับการเข้าสอบความเหมาะสมกับกับวิชาชีพครู (สัมภาษณ์) รวมคะแนน และประกาศผลการสอบแข่งขันเพื่อขึ้นบัญชีต่อไป เกณฑ์การตัดสิน ผู้ที่ถือว่าเป็นผู้สอบแข่งขันต้องได้คะแนนในแต่ละภาคไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ 1. ประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ โดยเรียงลำดับที่จากผู้สอบได้คะแนนรวมทุกภาคจากมาก ไปหาน้อย โดยแยกตามคุณวุฒิ กลุ่มวิชาหรือทาง หรือสาขาวิชาเอก กรณีได้คะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้สอบได้คะแนน ภาค ข มากกว่า เป็นผู้อยู่ในลำดับที่ดีกว่า หากได้คะแนน ข เท่ากันให้ผู้สอบได้คะแนนภาค ก มากกว่า เป็นผู้อยู่ในลำดับที่ดีกว่า ถ้าได้คะแนนภาค ก เท่ากันอีก ให้ผู้ที่ได้รับเลขประจำตัวสอบก่อนเป็นผู้ที่อยู่ในลำดับที่ดีกว่า 2. บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ให้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ เว้นแต่ มีการประกาศขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในคุณวุฒิ กลุ่มวิชาหรือทาง หรือสาขาวิชาเอกเดียวกันครั้งใหม่แล้ว บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ครั้งก่อนเป็นอันยกเลิก ๑๒. ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม (อธิบาย) 12.1 เปิดรับสมัครสอบทางอินเตอร์เน็ต ระหว่างวันที่ 6 – 13 ธันวาคม 2565 มีผู้มาสมัครสอบ 25,886 คน จำนวน 18 กลุ่มวิชาเอก ดังนี้ 1. กลุ่มวิชาแนะแนว จำนวน 247 คน 2. กลุ่มวิชาการศึกษาพิเศษ จำนวน 323 คน 3. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 3,422 คน 4. กลุ่มวิชาอนุบาลศึกษา จำนวน 3,478 คน 5. กลุ่มวิชาภาษาไทย จำนวน 2,015 คน 6. กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 2,956 คน 7. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 6,036 คน 8. กลุ่มวิชาประถมศึกษา จำนวน 851 คน 9. กลุ่มวิชาพลศึกษา จำนวน 2,830 คน 10. กลุ่มวิชาศิลปศึกษา-วาดเขียน จำนวน 648 คน 11. กลุ่มวิชาบรรณารักษ์ จำนวน 174 คน 12. กลุ่มวิชาคหกรรม จำนวน 357 คน 13. กลุ่มวิชานาฏศิลป์ จำนวน 914 คน 14. กลุ่มวิชาเกษตรกรรม จำนวน 316 คน 15. กลุ่มวิชาวัดผล จำนวน 54 คน 16. กลุ่มวิชาฟิสิกส์ จำนวน 476 คน 17. กลุ่มวิชาเคมี จำนวน 344 คน 18. กลุ่มวิชาชีววิทยา จำนวน 445 คน 12.2 จัดสอบข้อเขียน ภาค ก ภาค ข และ ภาค ค๑ (ความเหมาะสมกับตำแหน่ง) ในวันที่ 1 – 2 เมษายน 2566 ณ สนามสอบ 7 สนามสอบ ได้แก่ สนามสอบมหาวิทยาลัยสวนดุสิต สนามสอบมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สนามสอบมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สนามสอบวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการราชดำเนิน สนามสอบโรงเรียนชลประทานวิทยา สนามสอบโรงเรียนบ้านบางกะปิ และสนามสอบโรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ โดยมีผู้เข้าสอบจำนวน มีผู้เข้าสอบครบถ้วนทุกวิชา จำนวน 15,927 คน คิดเป็นร้อยละ 61.53 ของผู้สมัครสอบ และมีผู้สอบผ่านข้อเขียน ภาค ก และภาค ข ซึ่งได้คะแนนในแต่ละภาคไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบตามเกณฑ์การตัดสินที่กำหนด จำนวน 1,941 คน คิดเป็นร้อยละ 12.19 ของผู้เข้าสอบทั้งหมด 12.3 จัดสอบสัมภาษณ์ผู้สอบผ่านภาค ก และภาค ข ในวันที่ 29 – 30 เมษายน 2566 ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย – ญี่ปุ่น) เขตดินแดง 12.4 ประกาศรายชื่อผู้สอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ตำแหน่งครูผู้ช่วย ทั้ง 18 กลุ่มวิชา จำนวน 1,917 คน ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 โดยแยกเป็นกลุ่มวิชา ดังนี้ 1. กลุ่มวิชาแนะแนว จำนวน 21 คน 2. กลุ่มวิชาการศึกษาพิเศษ จำนวน 25 คน 3. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 183 คน 4. กลุ่มวิชาอนุบาลศึกษา จำนวน 220 คน 5. กลุ่มวิชาภาษาไทย จำนวน 295 คน 6. กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 218 คน 7. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 554 คน 8. กลุ่มวิชาประถมศึกษา จำนวน 80 คน 9. กลุ่มวิชาพลศึกษา จำนวน 77 คน 10.กลุ่มวิชาศิลปศึกษา-วาดเขียน จำนวน 51 คน 11.กลุ่มวิชาบรรณารักษ์ จำนวน 7 คน 12.กลุ่มวิชาคหกรรม จำนวน 19 คน 13.กลุ่มวิชานาฏศิลป์ จำนวน 50 คน 14.กลุ่มวิชาเกษตรกรรม จำนวน 11 คน 15.กลุ่มวิชาวัดผล จำนวน 5 คน 16.กลุ่มวิชาฟิสิกส์ จำนวน 7 คน 17.กลุ่มวิชาเคมี จำนวน 49 คน 18.กลุ่มวิชาชีววิทยา จำนวน 45 คน
** ปัญหาของโครงการ :งบประมาณที่ใช้ 13,548,350.- บาท
** อุปสรรคของโครงการ :กระบวนการจัดการสอบไม่มีปัญหาอุปสรรค ไม่พบการทุจริต เนื่องจากมีการป้องกันที่ได้มาตรฐาน
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-05-03)
03/05/2566 : สำนักการศึกษา ดำเนินการสอบข้อเขียน ภาค ก ภาค ข เมื่อวันที่ 1 - 2 เมษายน 2566 จำนวน 18 กลุ่มวิชาเอก ณ สนามสอบ 7 สนามสอบ มีผู้สมัคร จำนวน 25,877 คน มีผู้เข้าสอบ จำนวน 15,927 คน และประกาศรายชื่อผู้ผ่านฯ จำนวน 1,941 คน ยื่นเอกสารรายงานตัว และเข้าสอบสัมภาษณ์ ภาค ค 2 จำนวน 1,918 คน ประมวลผลสอบรอบสุดท้าย เมื่อวันที่ 24 - 25 เมษายน 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานครเพียงพอต่อการบริหารจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
ค่าเป้าหมาย ร้อยละของอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึก : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละของอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึก :
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **