ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Audit) : 10000000-4169

สํานักการโยธา : (2563)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

นางสาวนฤมล ทองอุฬาร โทร. 2077-8

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศที่มีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินหาทางแก้ไข รวมถึงการหาแนวทางป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางถนนส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้เกี่ยวข้องในหลายระดับตั้งแต่ครอบครัว ผู้ร่วมงานและผู้ใกล้ชิด เมื่อพิจารณาในระดับมหาภาคแล้วพบว่าประเทศไทยต้องประสบกับความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจเนื่องจากปัญหาเหล่านี้ ปีละกว่าหนึ่งแสนล้านบาท แต่เป็นที่เข้าใจกันดีว่าอุบัติเหตุทางถนนนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ให้หมดไป เพียงแต่จะทำอย่างไรให้ลดจำนวนให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยยุทธศาสตร์และมาตรการต่างๆ มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในทางวิศวกรรม การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต้องดำเนินการเชิงรุกการที่จะเข้ามาจัดการกับอุบัติเหตุได้ต้องเข้าใจถึงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุหลักการดังกล่าวสอดคล้องกับวิธีการของการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Audit) เพื่อเป็นไปตามหลักการที่ว่าการป้องกันดีกว่าแก้ไขเพื่อลดจำนวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนซึ่งสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มออกแบบถนนไปจนถึงการตรวจสอบในขั้นตอนอื่นๆ ขั้นตอนหลักของการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนมีหลายขั้นตอนในที่นี้มีหลายขั้นตอน ขั้นตอนที่ถือว่ามีความสำคัญระดับหนึ่ง คือ ขั้นตอนระหว่างการก่อสร้าง (During Construction Stage) และขั้นตอนการเปิดใช้งาน (Pre-Opening Stage) โดยขั้นตอนระหว่างก่อสร้างนั้น จะมีการเคลื่อนที่ของเครื่องจักรกล, รถบรรทุกและกองวัสดุซึ่งล้วนมีศักยภาพในการก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากการจราจรที่ปลอดภัยจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อลดโอกาสการชนกันระหว่างเครื่องจักรก่อสร้างกับรถที่สัญจรไป-มา นอกจากนั้นผิวถนน ป้ายบอกเขตก่อสร้าง ป้ายเตือน หลักหรืออุปกรณ์บอกแนวขอบถนนและไฟฟ้าส่องสว่างฯลฯ มักขาดแคลนหรือถ้ามีก็มักจะต่ำกว่าที่ควรเป็นในแง่ของความปลอดภัยซึ่งเพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุแก่ผู้สัญจรโดยเฉพาะในเวลากลางคืนหรือช่วงฝนตกในส่วนของขั้นตอนก่อนเปิดการใช้งานนับว่ามีความสำคัญเช่นกัน ในงานก่อสร้างบางครั้งการทำตามแบบก่อสร้างเลยทีเดียว อาจมีข้อจำกัดที่เกิดขึ้นได้บ้าง หรือการก่อสร้างที่อาจมีข้อผิดพลาดที่ไม่ได้ตรวจสอบอย่างถูกต้องก่อนเปิดการใช้งานถนนที่ก่อสร้าง ควรมีการตรวจสอบความถูกต้องด้านความปลอดภัยเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดให้ถูกต้อง สำนักการโยธา ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลในด้านโครงสร้างพื้นฐานของกรุงเทพมหานครเห็นความสำคัญอย่างยิ่งของการอำนวยความปลอดภัยตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการก่อสร้างทางและสะพาน โดยในปัจจุบันสำนักการโยธามีงานก่อสร้างทางเพื่อรองรับการขยายตัวของกรุงเทพมหานครทั้งที่เป็นงานก่อสร้างเองและงานจ้างเหมา ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานระหว่างสำนักการโยธากับผู้รับเหมางานก่อสร้างทางและสะพานมีพื้นฐานด้านการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนที่ดี และสามารถปฏิบัติงานก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน เช่น สำนักงานเขต และสำนักการจราจรและขนส่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องหลักการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้ทาง สำนักการโยธาจึงจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตร การตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Audit)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถนำการตรวจสอบความปลอดภัยระหว่างการก่อสร้างไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ก่อสร้างได้ อันจะส่งผลให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้ทางต่อไป

10090000/10090000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Audit) และกรณีศึกษาการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน 2.2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการออกแบบ การควบคุมการก่อสร้าง และการซ่อมแซมบำรุงรักษางานทางและสะพาน 2.3 เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมจราจรกับการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนกับบุคคลากรของกรุงเทพมหานคร สามารถใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนนในระหว่างการก่อสร้าง และการเปิดการใช้งาน ทั้งงานก่อสร้างทางและงานก่อสร้างสะพาน 2.4 เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด มุมมองและประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Audit)

เป้าหมายของโครงการ

จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Audit) โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 154 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 120 คน (รุ่นละ 60 คน) เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ - ชำนาญการพิเศษ ตำแหน่ง วิศวกรโยธา และประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน-อาวุโส ตำแหน่ง นายช่างโยธา และนายช่างสำรวจ จากสำนักการโยธา สำนักการจราจรและขนส่ง และสำนักงานเขต ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 34 คน ได้แก่ คณะอำนวยการและเจ้าหน้าที่ดำเนินการจำนวน 24 คน (รุ่นละ 12 คน) และวิทยากรจำนวน 10 คน (รุ่นละ 5 คน)

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-03-29)

100.00

29/3/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2020-02-25)

60.00

25/2/2563 : อบรมรุ่นที่ 1 แล้วเมื่อวันที่ 12-24 กุมภาพันธ์ 2563

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2020-01-30)

40.00

30/1/2563 : อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ โดยมีกำหนดการจัดอบรมจำนวน 2 รุ่น รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 12 - 14 ก.พ. 63 และรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 26 - 28 ก.พ. 63

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2019-12-24)

30.00

24/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอนจัดทำหนังสือเชิญวิทยากร ประสานกรมทางหลวงและลงพื้นที่เพื่อดูสถานที่ในการฝึกปฏิบัติการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2019-11-30)

15.00

30/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2019-10-30)

10.00

30/10/2562 : กำหนดหลักสูตรการตรวจสอบความปลอดภัยทางถนน (Road Safety Audit) โดยวิทยากรจากสภาวิศวกร อบรมที่จังหวัดนครราชสีมา

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:กำหนดหลักสูตร/สรรหาวิทยากรและสถานที่
:10.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:วางแผนกำหนดรายละเอียดโครงการและประมาณราคาค่าใช้จ่ายในโครงกา
:10.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:แจ้งเวียนหน่วยงานขอรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:เขียนโครงการ/เสนอขออนุมัติโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2019-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการและออกคำสั่งให้ข้าราชการเข้าร่วมโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2019-12-02 00:00:00
สิ้นสุด :2019-12-02 00:00:00
ขั้นตอน 6
:ขออนุมัติงบประมาณดำเนินการ
:10.00%
เริ่มต้น :2019-12-02 00:00:00
สิ้นสุด :2019-12-02 00:00:00
ขั้นตอน 7
:ดำเนินการโครงการประกอบด้วยการบรรยายของวิทยากร Workshop และการอภิปรายของผู้เข้าร่วมโครงการ
:30.00%
เริ่มต้น :2020-01-02 00:00:00
สิ้นสุด :2020-01-02 00:00:00
ขั้นตอน 8
:รายงานผลการดำเนินงานโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2020-02-03 00:00:00
สิ้นสุด :2020-02-03 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 10000000-4169

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 10000000-4169

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 1000-0956

ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
25.00

100 / 100
2
50.00

100 / 100
3
75.00

0 / 0
4
100.00

100 / 100

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **