ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 10
นางสาวนฤมล ทองอุฬาร โทร. 2077-8
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
เงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) หมายถึง“เงินชดเชย”ที่ต้องจ่ายให้กับผู้รับจ้างเหมา หรือ “เงินเรียกคืน”ที่ผู้รับจ้างเหมาต้องจ่ายคืนให้กับหน่วยคู่สัญญา ตามดัชนีราคาที่ใช้คำนวณตามสูตรที่ใช้กับสัญญาแบบปรับราคาได้ที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละเดือน เพื่อลดความเสี่ยงของ ผู้รับจ้างและป้องกันไม่ให้ผู้รับจ้างเหมาบวกราคาเผื่อการเปลี่ยนแปลงราคาวัสดุไว้ล่วงหน้าสูงเกินควร รวมทั้งยังก่อให้เกิด ความเป็นธรรมต่อคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย โดยมีเงื่อนไข หลักเกณฑ์ ประเภทงานก่อสร้าง สูตร และวิธีการคำนวณที่ใช้กับสัญญาแบบปรับราคาได้ สำนักการโยธาเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการรับเรื่องพิจารณาตรวจสอบเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) จากทุกหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร มักพบปัญหาบ่อยครั้งที่เกิดความคลาดเคลื่อนของการคำนวณ ค่า K ที่คำนวณได้ของหน่วยงานคู่สัญญา และผู้รับจ้างเหมาไม่ตรงกับของสำนักการโยธา และของสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาจเกิดจากความไม่เข้าใจในการจำแนกประเภทของงาน หลักเกณฑ์ สูตร และวิธีการคำนวณ รวมถึงในปัจจุบันที่จะต้องยึดถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ภาครัฐ พ.ศ. 2560 ประกาศ กฎกระทรวง และจะต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2532 ซึ่งได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างกรณีที่ราคาวัสดุก่อสร้างมีการผันผวน โดยให้นำสัญญาแบบ ปรับราคาได้(ค่า K) มาใช้เป็นการถาวรจนถึงปัจจุบัน โดยกำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมาย ว่าด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐให้ถือปฏิบัติเหมือนกันหมด ซึ่งมีสูตรปรับราคาที่ใช้เป็น การถาวรรวม 34 สูตร สำหรับงานก่อสร้าง 35 ประเภท ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไม่เช้าใจแนวทางและวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว ทำให้การคำนวณค่า K มีความผิดพลาด และอาจถูกทักท้วงเรียกคืนเงินจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เนื่องจากทำให้ราชการได้รับความเสียหาย กรณีไม่ได้ทำการเปรียบเทียบราคาค่าวัสดุก่อสร้างในการส่งมอบงานของผู้รับจ้างก่อสร้าง ตามหลักเกณฑ์ ดังกล่าวนี้ สำนักการโยธาตระหนักถึงความสำคัญถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น จึงจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการตรวจสอบเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) เพื่อเพิ่มทักษะให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติในการกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์สัญญาแบบปรับราคาได้ไว้ในสัญญาจ้างก่อสร้าง รวมถึงการจำแนกประเภทของงาน หลักเกณฑ์ สูตร และวิธีการค่า K
10090000/10090000
2.1 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติในการกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์สัญญาแบบปรับราคาได้ไว้ในสัญญาจ้างก่อสร้าง 2.2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติการด้านการตรวจสอบเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) 2.3 เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด มุมมองและประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิบัติการด้านการตรวจสอบเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K)
จัดฝึกอบรมด้านการตรวจสอบเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 96 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คนดังนี้ 1) ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ - ชำนาญการ ตำแหน่ง วิศวกรโยธา จากสำนักการโยธา สำนักการระบายน้ำ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สำนักการศึกษาและสำนักงานเขต 2) ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน-อาวุโส ตำแหน่ง นายช่างโยธา จากสำนักการโยธา สำนักการระบายน้ำ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สำนักการศึกษาและสำนักงานเขต ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 16 คน ดังนี้ 1) คณะอำนวยการและเจ้าหน้าที่ดำเนินการ 14 คน 2) วิทยากรจำนวน 2 คน
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-04-29)
29/4/2563 : ยกเลิกโครงการ เนื่องจากคืนเงินงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2020-03-29)
29/3/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ชลอโครงการเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาด
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2020-02-25)
25/2/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอนรวบรวมรายชื่อผู้เข้ารับการอบรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2020-01-30)
30/1/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2019-12-24)
24/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอนประสานวิทยากรและแนวทางการนำเสนอ หัวข้อที่จำฝึกอบรม ดูสถานที่อบรมที่เหมาะสม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2019-11-30)
30/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอนประสานวิทยากร
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2019-10-30)
30/10/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอนจัดเตรียมหลักสูตรและติดต่อวิทยากร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **