ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 1
กองควบคุมการก่อสร้าง
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีนโยบายที่จะพัฒนาคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม สามารถระบายน้ำได้ดี มีความสะอาด และเป็นไปตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ให้กรุงเทพมหานครมีพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียวกระจายทั่วทุกพื้นที่ และได้เล็งเห็นว่าคลองช่องนนทรีมีศักยภาพในการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์ เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่เขตเมืองที่มีประชาชนสามารถเข้าถึงเป็นจำนวนมาก มีถนนสายหลักหลายสาย และมีรถไฟฟ้าผ่านพื้นที่ รวมทั้งภาคเอกชนในพื้นที่มีความร่วมมือที่จะร่วมพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรี จึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรีเพื่อให้เป็นคลองต้นแบบที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม และปลอดภัย ภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สามารถนำไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาคลองต่างๆของกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน ปัจจุบันคลองช่องนนทรีมีปัญหาน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น และสภาพคลองตื้นเขิน เนื่องจากคลองสาทรถูกใช้เป็นที่ตั้งของเสาตอม่อรถไฟฟ้า BTS น้ำในคลองจึงไม่สามารถไหลเวียนในระบบคลองได้ตามธรรมชาติ เกิดการตกตะกอนของสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ทำให้น้ำในคลองเน่าเสีย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน สำนักการโยธาจึงได้บูรณาการการทำงานร่วมกับสำนักการระบายน้ำ สำนักการจราจรและขนส่ง และสำนักงานเขต ริเริ่มโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรีเพื่อฟื้นฟูคลองช่องนนทรี ดำเนินการปรับระบบน้ำในคลองให้มีความสะอาดอย่างยั่งยืน โดยกรุงเทพมหานครจะแก้ปัญหาด้วยการปิดท่อระบายน้ำเสียที่ปล่อยน้ำเสียลงสู่คลองโดยตรง และจะใช้วิธีการดึงน้ำดีที่บำบัดแล้วเข้าสู่คลองช่องนนทรี เพื่อนำน้ำที่บำบัดแล้วไปใช้ในสวนลุมพินี และนำผลักดันน้ำเสียในคลองสาทร และจะก่อสร้างท่อส่งน้ำดีจากคลองสาทรผ่านสวนลุมพินีเข้าสู่คลองไผ่สิงห์โต เพื่อผลักดันน้ำเสียในคลองไผ่สิงห์โต ซึ่งจะทำให้น้ำในคลองทั้งระบบมีคุณภาพดีขึ้น และจะนำแนวคิดการบำบัดน้ำฝนโดยใช้การกรองน้ำธรรมชาติผ่านการปลูกพืชเพื่อดูดซับของเสียในน้ำ เป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดน้ำฝนให้มีคุณภาพดีก่อนปล่อยลงสู่คลองช่องนนทรี นอกจากนี้ในการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองจะใช้พืชน้ำเพื่อช่วยบำบัดน้ำในคลองด้วย ในอนาคตสำนักการโยธาได้บูรณาการร่วมกับสำนักการระบายน้ำจัดทำโครงการท่อรวบรวมน้ำเสียในถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อแยกท่อระบายน้ำเสียออกจากท่อระบายน้ำฝน โดยจะวางท่อรับน้ำเสียเพื่อดึงน้ำเสียจากบริเวณโดยรอบเข้าสู่โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี ถนนพระราม 3 เพื่อบำบัดน้ำเสียโดยตรง ซึ่งจะทำให้โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรีมีความสมบูรณ์ทุกระบบ ด้านปัญหาสภาพคลองที่ตื้นเขิน ส่งผลให้เมื่อเกิดฝนตกหนักคลองจะไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้น้ำในคลองเพิ่มระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว และไหลย้อนเข้าไปในท่อระบายน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่โดยรอบ เช่น ถนนจันทน์ สำนักการโยธาจะแก้ไขปัญหาด้วยการขุดลอกคลองช่องนนทรีเพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำ ซึ่งจะช่วยระบายน้ำฝนและป้องกันปัญหาน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบคลองทั้งสองแห่ง เพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับกรุงเทพมหานคร เป็น landmark แห่งใหม่ของกรุงเทพมหานครที่จะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว ฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กับชุมชนโดยรอบ โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรี มีจุดเริ่มต้นโครงการฯ บริเวณถนนสุรวงศ์ถึงถนนพระรามที่ 3 ระยะทางประมาณ 4.5 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 15 เมตร
10060000/10060000
เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร ทำให้ประชาชนมีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจมากขึ้น สร้างสุนทรียภาพความร่มรื่นให้แก่เมือง รวมทั้งส่งเสริมการทำงานของระบบสาธารณูปโภค เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรกรุงเทพฯ ให้ดียิ่งขึ้น
ดำเนินการงานปรับปรุงภูมิทัศน์คลองช่องนนทรีช่วงที่ 3 จากถนนจันทน์ถึงถนนรัชดาภิเษก มีเนื้องานดังนี้ - ปรับปรุงงานทางเท้า ระยะทางประมาณ 1,000 เมตร - ก่อสร้างลานกิจกรรม - ก่อสร้างสวนสาธารณะ - งานไฟฟ้าส่องสว่างและงานต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ |
๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน |
๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร% |
๔.๓.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูย่าน (Districts) ตามผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคตที่มีอัตลักษณ์และ พัฒนาพื้นที่ชุมชนอันมีความเป็นเอกลักษณ์ของในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 1.00 (2023-09-27)
27/09/2566 : -อยู่ระหว่างเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากปัญหาอุปสรรคในโครงการฯ ความยาวโครงการ 1,600 ม. ปรับลดวงเงินเหลือประมาณ 50,200,000 บาท
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ : -สวก.ปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับกายภาพหน้างาน
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 1.00 (2023-08-24)
24/08/2566 : อยู่ระหว่างเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากปัญหาอุปสรรคในโครงการฯ (ความยาวโครงการ 1,600 ม.)
** ปัญหาของโครงการ :สวก.ปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับกายภาพหน้างาน
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 1.00 (2023-07-25)
25/07/2566 : -อยู่ระหว่างเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากปัญหาอุปสรรคในโครงการฯ (ความยาวโครงการ 1,600 ม.) ปรับลดวงเงินเหลือประมาณ 70,000,000 บาท
** ปัญหาของโครงการ :สวก.ปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับกายภาพหน้างาน
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 1.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : -อยู่ระหว่างเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากปัญหาอุปสรรคในโครงการฯ(ความยาวโครงการ 1,600 ม.) ปรับลดวงเงินเหลือประมาณ 70,000,000 บาท
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 1.00 (2023-05-25)
25/05/2566 : -อยู่ระหว่างเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากปัญหาอุปสรรคในโครงการฯ(ความยาวโครงการ 1,600 ม.) ปรับลดวงเงินเหลือประมาณ 70,000,000 บาท
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 1.00 (2023-04-24)
24/04/2566 : -อยู่ระหว่างเปลี่ยนแปลงรูปแบบ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 1.00 (2023-03-22)
22/03/2566 : -อยู่ระหว่างเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากปัญหาอุปสรรคในโครงการฯ(ความยาวโครงการ 1,600 ม.) ปรับลดวงเงินเหลือประมาณ 70,000,000 บาท
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 1.00 (2023-02-20)
20/02/2566 : -อยู่ระหว่างเตรียมงานก่อสร้าง
** ปัญหาของโครงการ : -อยู่ระหว่างเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากปัญหาอุปสรรคในโครงการฯ(ความยาวโครงการ 1,600 ม.) ปรับลดวงเงินเหลือประมาณ 70,000,000 บาท
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 1.00 (2023-01-26)
26/01/2566 : -อยู่ระหว่างแก้ไขรูปแบบ
** ปัญหาของโครงการ : - เปลี่ยนแปลงรูปแบบจากปัญหาอุปสรรคในโครงการฯ
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 1.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : อยู่ระหว่างเตรียมงานก่อสร้าง
** ปัญหาของโครงการ : -เปลี่ยนแปลงรูปแบบจากปัญหาอุปสรรคในโครงการฯ
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : (ปี 2566) ความสำเร็จของการดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ (ผลผลิต)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 78.42
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **