ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 94
สำนักงานวิศวกรรมทาง
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
พระราชบัญญัติกำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และแผนปฏิบัติการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2543 กำหนดให้ส่วนราชการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจการดูแลสายทางภายในอาณาเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รัฐดำเนินการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจและอำนาจในการบริหารงานเกี่ยวกับการก่อสร้างและบำรุงรักษาทาง โดยรัฐมีหน้าที่สนับสนุนด้านงบประมาณและการกำกับดูแลเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ที่มีภาระหน้าที่ในการดูแลสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นถนน สินทรัพย์และส่วนประกอบอื่น ๆ ของถนน อาคาร ทางเดินเท้า รวมถึงสะพาน เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก และปลอดภัยจากการใช้งาน ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีสายทางอยู่ในความรับผิดชอบทั้งสิ้น ระยะทางรวมกว่า 4,000 กิโลเมตร ทั้งที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักการโยธา และสำนักงานเขตต่าง ๆ โดยที่ผ่านมาการจัดการข้อมูลสายทางมีข้อจำกัดหลากหลายประการ เช่น จำนวนบุคลากรมีน้อยเมื่อเทียบกับภาระงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายทางที่ต้องดูแลโดยส่วนใหญ่เป็นตรอก ซอย กระจายทั่วพื้นที่ ทำให้การตรวจสอบไม่ทั่วถึง อีกทั้งการจัดสรรงบประมาณซ่อมบำรุงในปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือช่วยพิจารณาอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาระบบ “ระบบบริหารงานบำรุงรักษาทาง” ขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานในการจัดเก็บข้อมูลสายทาง และสภาพของสายทาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันเนื่องจากจำนวนสายทางมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และสภาพการใช้งานมีการเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังไม่มีเครื่องมือในการวิเคราะห์และวางแผนงบประมาณในการซ่อมบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพและนำระบบสารสนเทศสำหรับอำนวยความสะดวกในการทำงาน รวมถึงการพัฒนาระบบบริหารงานบำรุงทาง เพื่อจัดเก็บข้อมูลทั่วไปของสายทาง และส่วนประกอบในสายทางตลอดจนสภาพการใช้งานของสายทาง รวมถึงการแสดงผลบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการปฏิบัติงานเพื่อบำรุงรักษาทางต่อไป จากที่กล่าวมา สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบบริหารงานบำรุงทาง ทั้งในส่วนของการจัดทำข้อมูลทั่วไปของสายทาง ข้อมูลความเสียหาย ประวัติการซ่อมบำรุง วิธีการประเมินและวิเคราะห์สภาพความเสียหาย วิธีการซ่อมบำรุง งบประมาณที่ใช้ การวางแผนงบประมาณในการซ่อมบำรุง การจัดลำดับความสำคัญของการซ่อมบำรุง รวมถึงการส่งออกรายงานให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน (User Requirement) ของผู้ใช้งานในปัจจุบัน เพื่อยกระดับการบริหารงานบำรุงทาง ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเข้าใช้งานได้หลายผู้ใช้งานพร้อมกัน เพื่อให้มีข้อมูลสำหรับการพิจารณาปรับปรุงถนน รวมถึงบประมาณที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละปี จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารบำรุงทางของสำนักการโยธาโดยการจัดเก็บข้อมูลถนน (Road database) ที่มีความถูกต้อง พร้อมพัฒนาโปรแกรมสำหรับการบริหารบำรุงรักษาถนน รวมถึงระบบสารสนเทศ แผนงาน ประมาณการ ที่สามารถช่วยคำนวณงบประมาณและแผนงานในการบำรุงรักษาถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากสามารถดำเนินการโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะทำให้สำนักการโยธาสามารถวางแผนงาน จัดลำดับโครงการ รวมถึงประมาณการงบประมาณในการบำรุงรักษาถนนในความรับผิดชอบได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และใช้งบประมาณด้านบำรุงรักษาถนนได้เกิดประโยชน์สูงสุด
10140000/10140000
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาถนนในความรับผิดชอบของสำนักการโยธา
1 สำรวจและจัดเก็บข้อมูลทั่วไป (Inventory Data) ของถนน และส่วนประกอบอื่นถนนในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร 2 จัดทำบัญชีสินทรัพย์ทั้งในส่วนของถนน และส่วนประกอบอื่นของถนนในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งจัดทำระบบโครงข่ายถนนให้มีประสิทธิภาพ 3 สรุปปริมาณความเสียหาย ประเภทความเสียหาย วิธีการซ่อมบำรุงที่เหมาะสมในส่วนของถนน สำหรับนำไปใช้ในการจัดเตรียมงบประมาณสำหรับดำเนินการซ่อมบำรุง เพื่อการวางแผนบริหารจัดการถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4 จัดลำดับความสำคัญของโครงการซ่อมบำรุงถนนที่เหมาะสมกับกรุงเทพมหานคร และสามารถจัดสรรงบประมาณแบบจำกัดงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ ๗ – การสร้างความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการมหานคร |
๗.๕ -เทคโนโลยีสารสนเทศ |
๗.๕.๑ การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการให้บริการเพื่อขับเคลื่อนภารกิจของกรุงเทพมหานคร% |
๗.๕.๑.๒ การพัฒนาระบบการจัดการภายในอย่างมีประสิทธิภาพ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 94.00 (2023-09-29)
29/09/2566 : อยู่ระหว่างบริหารสัญญา ตรวจรับงานงวดที่ 5 แล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 93.00 (2023-08-31)
31/08/2566 : อยู่ระหว่างบริหารสัญญา ตรวจรับงานงวดที่ 3 แล้ว รอจัดสรรงบประมาณจ่าย และที่ปรึกษาฯ ส่งมอบงานงวดที่ 4 แล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 93.00 (2023-07-27)
27/07/2566 : อยู่ระหว่างบริหารสัญญา ตรวจรับงานงวดที่ 3 แล้ว รอจัดสรรงบประมาณจ่าย และที่ปรึกษาฯ ส่งมอบงานงวดที่ 4 แล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 93.00 (2023-06-30)
30/06/2566 : อยู่ระหว่างบริหารสัญญา ตรวจรับงานงวดที่ 3 แล้ว อยู่ระหว่างขออนุมัติจัดสรรเงินงวดที่ 3
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 93.00 (2023-05-31)
31/05/2566 : อยู่ระหว่างบริหารสัญญา เบิกจ่ายถึงงวดที่ 2
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 93.00 (2023-04-28)
28/04/2566 : อยู่ระหว่างบริหารสัญญา เบิกจ่ายถึงงวดที่ 2
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 92.00 (2023-03-31)
31/03/2566 : อยู่ระหว่างบริหารสัญญา เบิกจ่ายถึงงวดที่ 1
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 91.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : อยู่ระหว่างบริหารสัญญา ตรวบรับงานครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 66 และอยู่ระหว่างเตรียมเบิกจ่ายเงิน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-01-25)
25/01/2566 : อยู่ระหว่างบริหารสัญญา ลงนามสัญญาวันที่ 5 ม.ค. 66 เลขที่สัญญา สวก. 1/2566 ลว. 5 ม.ค. 66
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : (ปี 2566) ความสำเร็จของการดำเนินโครงการสารสนเทศด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 64.5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **