ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการศึกษาวิจัยพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมการจัดการคุณภาพน้ำ (สจน.) : 11000000-3593

สํานักการระบายน้ำ : (2561)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

จันทนา ริรัตนพงษ์ 2330

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

สวนสาธารณะเป็นสถานที่พักผ่อนที่ประชาชนจำนวนมากเข้ามาใช้บริการ เพื่อประกอบกิจกรรมในด้านต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การพบปะสังสรรค์ หรือชุมนุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น ซึ่งทางผู้รับผิดชอบต้องมีการจัดเตรียมสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ห้องน้ำ และสถานที่จำหน่ายอาหารไว้รองรับผู้มาใช้บริการ อีกทั้งเนื่องจากสวนสาธารณะต้องมีการจัดสถานที่ให้สวยงามและร่มรื่นสำหรับผู้มาใช้บริการ ทำให้สวนสาธารณะต้องมีการใช้ปุ๋ยเป็นจำนวนมากในการบำรุงรักษาต้นไม้ ซึ่งเมื่อเกิดฝนตกจะทำให้ปุ๋ยบางส่วนถูกชะล้างลงสู่บึงในสวนสาธารณะ ประกอบกับมีประชาชนให้อาหารปลา ทำให้ปริมาณปลาในบึงเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุให้น้ำในบึงมีธาตุอาหารพวกไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ซึ่งธาตุอาหารทั้งสองชนิดดังกล่าวเป็นธาตุที่สาหร่ายใช้ในการเจริญเติบโต ทำให้เกิดปัญหา Eutrophication ในแหล่งน้ำ โดยในช่วงกลางวันจะพบว่าน้ำในบึงมีสีเขียวเนื่องจากมีการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย จึงทำให้มีออกซิเจนละลายน้ำอยู่ในปริมาณมาก แต่ในเวลากลางคืนสาหร่ายใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโตทำให้เกิดการแย่งชิงออกซิเจนกับปลาในน้ำ ซึ่งหากปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำไม่เพียงพอให้จะทำให้ปลาตายได้ การบำบัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สารเคมีเพื่อให้เกิดการตกตะกอน และการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการออกแบบก่อสร้าง การดำเนินงาน การดูแลรักษา ซึ่งหากใช้วิธีการนี้ก็จะส่งผลให้จำนวนตะกอนที่จะต้องกำจัดเพิ่มมากขึ้น และทำให้น้ำมีสภาพเป็นด่าง อีกทั้งวิธีการนี้ไม่สอดคล้องกลมกลืนกับสภาพของสวนสาธารณะและสภาพคุณลักษณะของน้ำในสวนสาธารณะที่มีค่าความสกปรกอยู่ระหว่าง 5 – 16 มิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากวิธีการดังได้กล่าวไปแล้วนั้น ยังมีการใช้พืชในการบำบัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัสก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง เนื่องจากไนโตรเจนและฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่ใช้ในการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นเพื่อกำจัดธาตุอาหาร และความสกปรกในน้ำรวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสวนสาธารณะและคุณลักษณะของน้ำในสวนสาธารณะ จึงได้มีการศึกษาชนิดของพืชที่เหมาะสมกับการบำบัดน้ำในสวนสาธารณะโดยการใช้พืชขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลและบำรุงรักษา

11130000/11130000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. ศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำของพืชในการกำจัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ในบึงของสวนลุมพินี 2. เพื่อศึกษาชนิดของพืชที่เหมาะสมกับการบำบัดน้ำในสวนลุมพินีและสามารถนำผลไปประยุกต์ใช้กับสวนสาธารณะอื่นได้

เป้าหมายของโครงการ

1.น้ำในบึงของสวนลุมพินีได้รับการบำบัดให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น 2.สามารถคัดเลือกพืชที่ใช้ในการกำจัดไนโตรเจนและฟอสฟอรัส 3.เป็นแหล่งศึกษาดูงานสำหรับประชาชนและหน่วยงานที่สนใจ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
๑.๑ - ปลอดมลพิษ
๑.๑.๑ แหล่งน้ำสาธารณะทั้งแม่น้ำสายหลักและคูคลองต่างๆ มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภ%
๑.๑.๑.๑ คุณภาพแหล่งน้ำธรรมชาติในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีคุณภาพดีขึ้น

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2018-09-20)

100.00

20/9/2561 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว 1. การบำบัด BOD จากการทดลองใช้ตันพืชทั้ง 4 ชนิด ในการบำบัดน้ำในสวนลุมพินี ในแปลงทดลองโดยใช้แบบพืชลอยน้ำ พบว่าสามารถบำบัด BOD ได้ โดยในแปลงควบคุม สามารถบำบัดได้ ร้อยละ 31 แปลงผักตบชวา บำบัดได้ ร้อยละ 48 แปลงบัวบกยักษ์บำบัดได้ร้อยละ 44 แปลงแพงพวยน้ำบำบัดได้ร้อยละ 45 และแปลงสาหร่ายพุงชะโดบำบัดได้ร้อยละ 37 2. การบำบัด T-P จากการทดลองปลูกพืชน้ำเพื่อกำจัดธาตุอาหารในแปลงทดลอง ทั้ง 4 ชนิดนั้น พบว่า สามารถกำจัดปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดในน้ำได้ โดยค่าที่ได้มีดังนี้ คือ แปลงควบคุมสามารถกำจัดได้ร้อยละ 25 แปลงผักตบชวา, แปลงบัวบกยักษ์ และแปลงสาหร่ายพุงชะโดกำจัดได้ร้อยละ 50 แปลงแพงพวยน้ำกำจัดได้ร้อยละ 25 3. การบำบัดไนเตรท น้ำที่ใช้ในการทดลองในแปลงพืชมีค่าไนเตรทไม่เกินมาตรฐานน้ำผิวดิน แต่จากการทดลองพบว่าค่าไนเตรทที่วิเคราะห์ ในแปลงควบคุมสามารถกำจัดได้ร้อยละ 65 เช่นเดียวกันกับแปลงบัวบกยักษ์ แพงพวยน้ำและสาหร่ายพุงชะโด ส่วนแปลงผักตบชวาสามารถกำจัดได้ถึงร้อยละ 71 โดยสรุปแล้วพบว่าผักตบชวาสามารถบำบัดน้ำในสวนลุมพินีได้สูงสุดทั้ง 3 พารามิเตอร์จากการทดลองปลูกพืช 4 ชนิด โดยสามารถกำจัดธาตุอาหารในน้ำเสียได้ดีที่สุดสอดคล้องกับศาสตร์พระราชาที่ใช้ผักตบชวาในการกำจัดของเสียในน้ำ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 96.00 (2018-09-19)

96.00

19/9/2561 : อยู่ระหว่างรอผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ เพื่อสรุปผลการศึกษา

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 88.00 (2018-08-27)

88.00

27/8/2561 : ดูแลต้นพืชที่ใช้ในระบบบำบัด กำจัดหอยเชอรี่ และตรวจวิเคราะห์น้ำผลการวิเคราะห์ ผักตบชวา บีโอดี 6 mg/l ออกซิเจนละลายน้ำ 3.0 mg/l ฟอสฟอรัสทั้งหมด 0.1 mg/l บ่อบัวบกยักษ์ บีโอดี 7.0 mg/l ออกซิเจนละลายน้ำ 1.4 mg/l ฟอสฟอรัสทั้งหมด 0.2 mg/l บ่อจอดดอกกุหลาบ บีโอดี 6.0 mg/l ออกซิเจนละลายน้ำ 1.20 mg/l ฟอสฟอรัสทั้งหมด 0.2 mg/l บ่อแพงพวยน้ำ บีโอดี 8.0 mg/l ออกซิเจนละลายน้ำ 1.2 mg/l ฟอสฟอรัสทั้งหมด 0.3 mg/l สาหร่ายพุงชะโด บีโอดี 8.0 mg/l ออกซิเจนละลายน้ำ 5.2 mg/l ฟอสฟอรัสทั้งหมด 0.2 mg/l

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2018-07-23)

80.00

23/7/2561 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการดูแล กำจัดวัชพืช และเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจวิเคราะห์ โดยผลการวิเคราะห์ BOD แพงพวยน้ำ 6 mg/l , บัวบกยักษ์ 5 mg/l , ผักตบชวา 4 mg/l , สาหร่ายพุงชะโด 10 mg/l , บ่อเปรียบเทียบ 12 mg/l ค่า DO แพงพวยน้ำ 1.5 mg/l , บัวบกยักษ์ 1.2 mg/l , ผักตบชวา 1.9 mg/l , สาหร่ายพุงชะโด 2.5 mg/l , บ่อเปรียบเทียบ 13.8 mg/l ค่าไนโตรเจนทั้งหมด แพงพวยน้ำ 4.40 mg/l , บัวบกยักษ์ 4.60 mg/l , ผักตบชวา 3.56 mg/l , สาหร่ายพุงชะโด 2.25 mg/l , บ่อเปรียบเทียบ 3.48 mg/l

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 72.00 (2018-06-18)

72.00

18/6/2561 : เก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ(อยู่ระหว่างการวิเคราะห์และรวบรวมผล)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 64.00 (2018-05-23)

64.00

23/5/2561 :บำรุงรักษาพันธุ์พืช และปลูกพืชทดแทนส่วนที่ตาย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 56.00 (2018-04-25)

56.00

25/4/2561 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ และดูแลรักษาต้นไม้ในแปลงทดลอง ผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำแปลงผักตบชวา ค่าบีโอดี 9 mg/l ค่าดีโอ 8.7 mg/l ค่าSS 8 mg/l ค่าTN 2.01 mg/l, แปลงบัวบกยักษ์ ค่าบีโอดี 7 mg/l ค่าดีโอ 4.6 mg/l ค่าSS 7 mg/l ค่าTN 4.91 mg/l, แปลงสาหร่ายพุงชะโด ค่าบีโอดี 9 mg/l ค่าดีโอ 0.7 mg/l ค่าSS 8 mg/l ค่าTN 5.51 mg/l, แปลงลานไพลิน ค่าบีโอดี 9 mg/l ค่าดีโอ 8.7 mg/l ค่าSS 8 mg/l ค่าTN 2.01 mg/l, แปลงแพงพวยน้ำ ค่าบีโอดี 9 mg/l ค่าดีโอ 8.7 mg/l ค่าSS 8 mg/l ค่าTN 2.01 mg/l,แปลงควบคุม ค่าบีโอดี 10 mg/l ค่าดีโอ 0.6 mg/l ค่าSS 12 mg/l ค่าTN 3.12 mg/l

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 48.00 (2018-03-15)

48.00

15/3/2561 : เก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ และดูแลรักษาพืชที่ใช้ในการทดลอง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2018-02-22)

40.00

22/2/2561 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการกำจัดหอยคันและหนอนกินใบในแปลงแพงพวยน้ำและเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ค่าซีโอดี ลานไพลิน 30 mg/l, บัวบกยักษ์ 28 mg/l, แพงพวยน้ำ 35 mg/l, ผักตบชวา 39 mg/l, สาหร่ายพุงชะโด 30 mg/l, น้ำเข้า 58 mg/l

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 32.00 (2018-01-24)

32.00

24/1/2561 :ดูแลและป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น หอยเชอรี่ และอนุบาลต้นพืช

** ปัญหาของโครงการ :ศัตรูพืชและมนุษย์ทำลายต้นพืชในแปลงทดลอง

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 24.00 (2017-12-15)

24.00

15/12/2560 : ดำเนินการปลูกสาหร่ายพุงชะโดลงในแปลงทดลอง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 16.00 (2017-11-29)

16.00

29/11/2560 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดหาพันธุ์พืช และปลูกพืชลงในแปลงทดลอง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(13) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 8.00 (2017-10-30)

8.00

30/10/2560 : อยู่ระหว่างขั้นตอนจัดเตรียมโครงการวิจัย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:จัดทำข้อตกลงร่วม
:20.00%
เริ่มต้น :2017-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2017-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
:30.00%
เริ่มต้น :2017-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2017-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ควบคุมการทำงานของระบบ
:30.00%
เริ่มต้น :2017-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2017-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:รายงานผลการดำเนินการ
:20.00%
เริ่มต้น :2017-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2017-10-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 11000000-3593

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 11000000-3593

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 1100-0712

ตัวชี้วัด : จำนวนผลงานการศึกษาวิจัยนวัตกรรม และการพัฒนาปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้อง (สจน.)

ค่าเป้าหมาย เรื่อง : 1

ผลงานที่ทำได้ เรื่อง : 1

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(เรื่อง)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
1.00

100 / 100
2
1.00

100 / 100
3
1.00

100 / 100
4
1.00

100 / 100

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **