ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 10
นายสมจิต คเณวัน
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ในช่วง ๓-๔ ปี ที่ผ่านมานี้ กรุงเทพมหานครต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมขังจากฝนตกในพื้นที่อยู่บ่อยครั้ง สืบเนื่องมาจาก ๒ ปัจจัยหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีการขยายตัวของชุมชุนเมืองเพิ่มอย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกที่ทำให้ปริมาณฝนที่ตกมีความเข้มสูงขึ้นมาก ซึ่งทั้งสองปัจจัยทำให้กรุงเทพมหานครจำเป็นต้องมีระบบจัดการระบายน้ำเชิงรุก (Proactive Drainage Management System) สำหรับเป็นเครื่องมือในการติดตาม สั่งการ และรายงานผล ในการจัดการระบายน้ำฝนที่ตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครไปสู่ระบบระบายน้ำหลัก (อุโมงค์ระบายน้ำ คลองสายหลัก และสถานีสูบน้ำ) ซึ่งได้มีการจัดทำไว้พร้อมแล้ว เพื่อให้ระบบระบายน้ำหลักที่มีอยู่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สำนักการระบายน้ำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการนำเครื่องมือที่มีอยู่เดิมมาพัฒนาเพิ่มเติมให้ครบสมบูรณ์ มีความทันสมัย สามารถรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับใช้ในการควบคุม ติดตาม คาดการณ์ และโต้ตอบ (Control-Monitor-Forecast-Interact) อันจะส่งผลให้ระบบระบายน้ำของกรุงเทพมหานครทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วมขังให้แก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครได้อย่างยั่งยืน ฝนที่ตกหนักเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำนักการระบายน้ำ โดยกองสารสนเทศระบายน้ำ จึงได้จัดทำโครงการจัดทำระบบประเมินน้ำฝนและพยากรณ์ฝนล่วงหน้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยใช้ข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูลปริมาณฝนที่ตรวจวัดในอากาศด้วยเรดาร์มาประเมินเป็นปริมาณฝนที่ตรวจวัดได้จริงโดยใช้วิธีการประเมินฝนและพยากรณ์ฝนจากข้อมูลเรดาร์ที่เป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้ระบบการพยากรณ์ฝน ที่พัฒนาขึ้นจะสามารถประเมินปริมาณฝนรายชั่วโมงและพยากรณ์ฝนล่วงหน้าได้ ๑-๓ ชั่วโมง (Nowcasting) มีความถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือ สามารถตรวจวัดปริมาณน้ำฝนได้อย่างต่อเนื่องภายใต้รัศมีทำการของเรดาร์ และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการประเมินฝนและพยากรณ์ฝนเข้ากับระบบบริหารจัดการน้ำท่วมของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร
11080000/11080000
๒.๑ เพื่อจัดทำระบบประเมินน้ำฝนและการพยากรณ์ฝนล่วงหน้า ๑-๓ ชั่วโมง (Nowcasting) ด้วยเรดาร์ตรวจอากาศ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้ข้อมูลจากเรดาร์ ๒ สถานีร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วยสถานีเรดาร์หนองจอก และสถานีเรดาร์หนองแขม โดยวิธี Composite Radar Reflectivity ให้สามารถประเมินข้อมูลฝนเชิงพื้นที่ในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครได้ ๒.๒ เพื่อเชื่อมโยงระบบการประเมินน้ำฝนและการพยากรณ์ฝนล่วงหน้า ๑-๓ ชั่วโมง เข้ากับระบบบริหารจัดการน้ำท่วมของศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วมแบบ Realtime เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำท่วม การประชาสัมพันธ์และการเตือนภัยล่วงหน้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
๓.๑ การประยุกต์ใช้ข้อมูลตรวจวัดปริมาณฝนด้วยเรดาร์ตรวจอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๓.๒ มีระบบประเมินปริมาณฝนและคาดการณ์ฝนล่วงหน้า ๑-๓ ชั่วโมงที่มีความแม่นยำ น่าเชื่อถือ และได้มาตรฐานในระดับสากล
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-08-25)
25/08/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-07-25)
25/07/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-06-23)
23/06/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-05-25)
25/05/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-04-21)
21/04/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-03-30)
30/03/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-23)
23/02/2566 : ไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากไม่ได้รับงบประมาณปี 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-09)
09/02/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 1.00 (2022-12-26)
26/12/2565 : ไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากไม่ได้รับงบประมาณปี 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : (2566) จำนวนระบบสารสนเทศที่ได้รับการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ผลผลิต)
ค่าเป้าหมาย อย่างน้อย ระบบ : 1
ผลงานที่ทำได้ อย่างน้อย ระบบ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **