ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 10
นายปธาน บรรจงปรุ (โทร.2324)
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ปัจจุบันคลองเปรมประชากรช่วงที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เกิดการขยายตัวของเมืองและชุมชนที่ตั้งอยู่ตามแนวคลองอย่างรวดเร็วจากการศึกษาของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พบว่ามีผู้บุกรุกที่อาศัยตามแนวคลองเปรมประชากรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้นประมาณ 5,372 ครัวเรือน ซึ่งน้ำทิ้งจากบ้านเรือนดังกล่าวถูกปล่อยทิ้งลงคลองโดยไม่ได้รับการบำบัด คิดเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียประมาณ 4,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เมื่อร่วมกับน้ำทิ้งจากชุมชนอื่น ส่งผลให้คลองเปรมประชากรมีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ส่งกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชน สอดคล้องกับผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำคลองเปรมประชากร ปี 2555 – 2560พบว่าค่าออกซิเจนละลายน้ำในทุกจุดเก็บของคลองเปรมประชากรมีแนวโน้มลดลงเกือบทุกจุด ค่าบีโอดีเฉลี่ยในทุกจุดเก็บของคลองเปรมประชากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบทุกจุด จากการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในคลองเปรมประชากรที่ผ่านมา พบว่าคุณภาพน้ำเฉลี่ยคลองเปรมประชากรตั้งแต่ช่วงซอยงามวงศ์วาน 59 แยก 5 ลงมาจนถึงทำเนียบรัฐบาล ความยาวประมาณ 11.5 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศูนย์การศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางซื่อกรุงเทพมหานคร และโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดงมีค่าความสกปรกน้อยกว่าคุณภาพน้ำเฉลี่ยคลองเปรมประชากรตั้งแต่ช่วงแยกถนนงามวงศ์วานไปจนสุดเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียให้บริการ แต่เนื่องจาก มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียและระบบท่อรวบรวมน้ำเสีย ซึ่งไม่ได้งบประมาณจากรัฐบาล ทำให้โครงการบำบัดน้ำเสียเกิดความล่าช้า รัฐบาลให้ความสำคัญของโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมาก จึงได้มีนโยบายส่งเสริมให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ในด้านกิจการการจัดการน้ำ การชลประทาน การประปา การบำบัดน้ำเสีย มีจำนวน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย บึงหนองบอน ดอนเมือง บางเขน และโครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียเคหะชุมชนร่มเกล้า ซึ่งอยู่ในแผนการจัดทำโครงการร่วมลงทุน พ.ศ.2563 - 2570 ภายใต้พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 จึงจำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖2 มาตรา 22 กำหนดให้ในการเสนอโครงการที่จะให้มีการร่วมลงทุนหน่วยงานเจ้าของโครงการต้องจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ และจัดส่งรายงานเสนอต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการ โดยจะครอบคลุมกระบวนการเสนอโครงการจนได้เอกชนที่จะเข้ามาดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งผลจากการศึกษาและวิเคราะห์โครงการจะทำให้กรุงเทพมหานครได้เอกชนมาดำเนินโครงการแบ่งรับความเสี่ยงของโครงการที่เหมาะสมและลดภาระเงินลงทุนของภาครัฐ ในการดำเนินโครงการ พื้นที่บริหารของโครงการมีการจัดการน้ำเสียที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ทำให้คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำดีขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในพื้นที่ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งฟื้นฟูคุณภาพน้ำของคลองต่างๆโดยเฉพาะคลองเปรมประชากรช่วงแยกถนนงามวงศ์วานไปจนสุดเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ไหลผ่านพื้นที่ชุมชนในเขตจตุจักร เขตหลักสี่ และเขตดอนเมือง ประกอบกับมีโครงการพัฒนาคลองเปรมประชากร พัฒนาชุมชน สร้างเขื่อนกันตลิ่งควบคู่ไปกับระบบรวบรวมน้ำเสียจากชุมชนริมคลองเปรมประชากร
11131030/11131030
2.1 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการบำบัดน้ำเสียดอนเมืองของกรุงเทพมหานคร 2.2 เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับโครงการบำบัดน้ำเสียดอนเมืองของกรุงเทพมหานคร 2.3 กรุงเทพมหานครได้ที่ปรึกษาที่มีความรู้ความสามารถมาดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการบำบัดน้ำเสียรวมของกรุงเทพมหานคร ตลอดจนทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์โครงการเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และเป็นที่ปรึกษาให้กรุงเทพมหานครตลอดกระบวนการ ที่กำหนดจนกรุงเทพมหานครสามารถคัดเลือกได้ผู้ร่วมลงทุนในโครงการบำบัดน้ำเสียดอนเมือง
3.1 ที่ปรึกษามีการวิเคราะห์ จัดทำแนวทางรวมทั้งข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการบำบัดน้ำเสียดอนเมือง ที่มีขนาดพื้นที่บริการประมาณ 46.2 ตารางกิโลเมตรโดย มีความสามารถในการบำบัด 130,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน 3.2 ได้แนวทางในดำเนินการในลักษณะโครงการที่ให้เอกชนร่วมลงทุน ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 เพื่อนำไปใช้กับโครงการบำบัดน้ำเสียอื่นๆ
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-09-25)
25/09/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-08-27)
27/08/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-07-21)
21/07/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-06-20)
20/06/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-05-29)
29/05/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-04-21)
21/04/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-03-29)
29/03/2566 : ดำเนินการตามสัญญา
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-27)
27/02/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-30)
30/01/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ปริมาณน้ำเสียชุมชนที่ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถรองรับได้ (สจน.)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละปริมาณน้ำเสียชุมชนที่ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถร : 45
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละปริมาณน้ำเสียชุมชนที่ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถร : 46.59
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **