ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 98
นายปธาน บรรจงปรุ (โทร.2324)
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครประสบปัญหามลพิษทางน้ำมาอย่างยาวนานเห็นได้จากสภาพน้ำในคูคลองที่มีสีดำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็น ประกอบกับขยะมูลฝอยที่ถูกทิ้งทับถมลงในคูคลองต่าง ๆ เป็นจำนวนมากทำให้สภาพความเน่าเสียในคูคลองที่เป็นอยู่รุนแรงมากยิ่งขึ้น สาเหตุสำคัญเกิดจากประชาชนจำนวนมากที่กระจุกตัวอยู่อย่างหนาแน่นในชุมชนทั้งเพื่อการอยู่อาศัย ทำธุรกิจ ในอาคาร สถานประกอบการ ฯลฯ ประกอบกิจกรรมอันก่อให้เกิดน้ำเสียในปริมาณมากแต่ละวัน และน้ำเสียส่วนใหญ่ถูกทิ้งลงสู่คูคลอง และแหล่งน้ำ โดยไม่ได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธี ทำให้เกิดน้ำทิ้งที่ไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ โดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นศูนย์รวมทั้งเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม และความเจริญด้านต่าง ๆ ผลคือ แหล่งน้ำคูคลองกลายสภาพเป็นแหล่งรองรับน้ำเสียที่เกิดขึ้นทุกวันในปริมาณมากๆ จนธรรมชาติไม่สามารถฟื้นฟูสภาพได้ จึงเกิดเป็นสภาวะมลพิษทางน้ำที่รุนแรงเป็นที่ประจักษ์ทั่วทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทางกรุงเทพมหานครจึงมีมาตรการแก้ไขโดยการก่อสร้างตามแผนแม่บทการจัดการน้ำเสียของกรุงเทพมหานครเป็นแนวทางในการดำเนินการ ซึ่งจัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างสำนักการระบายน้ำและองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ในปี พ.ศ.2554 ได้เสนอแนะให้มีการแบ่งพื้นที่การดำเนินโครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียออกเป็น 27 โซน แต่เนื่องจาก มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียและระบบท่อรวบรวมน้ำเสีย ซึ่งไม่ได้งบประมาณจากรัฐบาล ทำให้โครงการบำบัดน้ำเสียเกิดความล่าช้า รัฐบาลให้ความสำคัญของโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมาก จึงได้มีนโยบายส่งเสริมให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ในด้านของการจัดการน้ำเสีย มีจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย บึงหนองบอน ธนบุรี และโครงการปรับปรุงและพัฒนาระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียเคหะชุมชนร่มเกล้า อยู่ในแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2558 - 2562 และตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุดที่ นร 0505/ว(ล) 30409 ลงวันที่ 15 กันยายน 2560 เรื่อง การทบทวนแผนการปฏิบัติการเพื่อให้คลองแสนแสบสะอาดภายใน 2 ปี คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 ลงมติในข้อ 5 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการให้ภาคเอกชนร่วมลงทุน (PPP) ในโครงการขนาดใหญ่ที่มีงบประมาณสูง โดยเฉพาะโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ทั้งในระยะ 5 ปี และระยะ 20 ปี โดยให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย มีความพร้อมในด้านพื้นที่ มีสภาพเป็นศูนย์กลางธุรกิจมีการขยายตัวของเมืองที่มีการเจริญเติบโตสูง มีปัญหามลพิษทางน้ำที่รุนแรง และเป็นโครงการบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ที่เหมาะสมในการเป็นโครงการต้นแบบในการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2558 - 2562 แต่จำเป็นต้องจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖2 มาตรา 22 กำหนดให้ในการเสนอโครงการที่จะให้มีการร่วมลงทุนหน่วยงานเจ้าของโครงการต้องจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ และจัดส่งรายงานเสนอต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการ โดยจะครอบคลุมกระบวนการเสนอโครงการจนได้เอกชนที่จะเข้ามาดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งผลจากการศึกษาและวิเคราะห์โครงการจะทำให้กรุงเทพมหานครได้ เอกชนมาดำเนินโครงการแบ่งรับความเสี่ยงของโครงการที่เหมาะสมและลดภาระเงินลงทุนของภาครัฐ ในการดำเนินโครงการ พื้นที่บริหารของโครงการมีการจัดการน้ำเสียที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ทำให้คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำดีขึ้น
11131030/11131030
2.1 เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตยของกรุงเทพมหานคร 2.2 เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตยของกรุงเทพมหานคร 2.3 กรุงเทพมหานครได้ที่ปรึกษาที่มีความรู้ความสามารถมาดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการบำบัดน้ำเสียรวมของกรุงเทพมหานคร ตลอดจนทำรายงานการศึกษาวิเคราะห์โครงการเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
3.1 ที่ปรึกษามีการวิเคราะห์ จัดทำแนวทางรวมทั้งข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย 3.2 ได้แนวทางในการดำเนินการในลักษณะโครงการที่ให้เอกชนร่วมลงทุน ตามพระราชบัญญัติ การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 เพื่อนำไปใช้กับโครงการบำบัดน้ำเสียอื่น ๆ
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 98.00 (2023-09-25)
25/09/2566 : อยู่ระหว่างขอเบิกเงินงวดที่ 5 จากกองทุนฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-08-27)
27/08/2566 : อยู่ระหว่างขอเบิกเงินงวดที่ 4 จากกองทุนฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-07-21)
21/07/2566 : อยู่ระหว่างขอเบิกเงินงวดที่ 4 จากกองทุนฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-06-20)
20/06/2566 : ตรวจรับงานงวดที่ 4 แล้ว เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 66
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-05-29)
29/05/2566 : อยู่ระหว่างการเบิกเงินงวดที่ 2 และงวดที่ 3 ให้แก่ที่ปรึกษา, ที่ปรึกษาส่งงานงวดที่ 4 แล้วเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 66
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-04-21)
21/04/2566 : อยู่ระหว่างขอเบิกเงินงวดที่ 2 และงวดที่ 3 จากกองทุนฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-03-29)
29/03/2566 : ที่ปรึกษาได้ส่งงานงวดที่ 3 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 และอยู่ระหว่างขอเบิกเงินงวดที่ 2 จากกองทุนฯ และจะดำเนินการตรวจรับงวดที่ 3 ในวันที่ 4 เมษายน 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-02-27)
27/02/2566 : ที่ปรึกษาได้ส่งงานงวดที่ 3 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 และอยู่ระหว่างขอเบิกเงินงวดที่ 2 จากกองทุนฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-01-30)
30/01/2566 : ที่ปรึกษาได้ส่งงานงวดที่ 2 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 และกำลังดำเนินการตรวจรับงานงวดที่ 2
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : ที่ปรึกษาได้ส่งงานงวดที่ 2 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ปริมาณน้ำเสียชุมชนที่ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถรองรับได้ (สจน.)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละปริมาณน้ำเสียชุมชนที่ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถร : 45
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละปริมาณน้ำเสียชุมชนที่ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถร : 46.59
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **