ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 10
หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย โทร.2336
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครโดยสำนักการระบายน้ำ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดการคุณภาพน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยการศึกษา ตรวจสอบ ติดตามและประเมินสถานการณ์ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำในกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดเป็นแผนหลักและยุทธศาสตร์ในการดำเนินการอย่างเป็นระบบ กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการก่อสร้างโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดงมีพื้นที่บริการบำบัด น้ำเสีย 37 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่เขตดุสิต พญาไท ดินแดง ราชเทวี ปทุมวัน พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตสัมพันธวงศ์ สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 350,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และเริ่มเดินระบบบำบัดเมื่อปี พ.ศ. 2547 จากข้อมูลการเดินระบบบำบัดน้ำเสียของโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดงพบว่าปริมาณน้ำเสียเข้าระบบในปี 2555-2557 มีปริมาณเฉลี่ย 195,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันหรือคิดเป็นร้อยละ 56 ของขีดความสามารถ การบำบัดน้ำเสียที่ออกแบบไว้ ดังนั้นโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดงจึงมีศักยภาพรองรับปริมาณน้ำเสียได้อีก องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) โดยบริษัท โตเกียว เอ็นจิเนียริ่ง คอน-ซัลแทนส์ จำกัด (TEC) และบริษัท นิปปอน โคเอะ จำกัด (NK) ได้ทำการสำรวจเบื้องต้นเพื่อปรับปรุง แผนแม่บทโครงการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร ซึ่งตามรายงานการปรับปรุงแผนแม่บทได้เสนอยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย โดยยุทธศาสตร์ที่ 2.1 การขยายบริการบำบัดน้ำเสีย ข้อ 1) การปรับพื้นที่ให้บริการบำบัดน้ำเสีย ได้ตรวจสอบพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียที่เปิดดำเนินการในปัจจุบันเพื่อตรวจสอบโรงควบคุมคุณภาพน้ำที่มีปริมาณน้ำเสียเข้าระบบยังไม่สูงเท่ากับขีดความสามารถที่ออกแบบไว้จริง และมีความเป็นไปได้ที่จะขยายการให้บริการบำบัดน้ำเสีย โดยพิจารณาจากอัตราการไหลของน้ำเสียในปัจจุบัน ขีดความสามารถที่ได้ออกแบบไว้ อัตราการไหลของน้ำเสียในอนาคต และความสามารถรับน้ำเสียจากพื้นที่ข้างเคียงเข้ามาบำบัดเพิ่มเติมได้อีก ซึ่งตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้เสนอให้ใช้ประโยชน์จากขีดความสามารถ การบำบัดน้ำเสียส่วนที่เหลือของโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง โดยข้อเสนอหนึ่งคือการขยายพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของเขตห้วยขวาง ซึ่งจะทำให้โรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดงมีปริมาณน้ำเสียเข้าระบบบำบัดเพิ่มขึ้นประมาณ 60,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน (ปี พ.ศ. 2583) และมีพื้นที่บริการเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 15 ตารางกิโลเมตร กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการระบายน้ำ เห็นว่าการขยายพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียของโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดงให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของเขตห้วยขวาง ตามข้อเสนอในรายงานการสำรวจเบื้องต้นเพื่อปรับปรุงแผนแม่บทโครงการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานครจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพการบำบัด น้ำเสียของโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง ช่วยประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างโรงควบคุมคุณภาพน้ำ แห่งใหม่ และช่วยฟื้นฟูคุณภาพน้ำคลองต่างๆให้ดีขึ้นอย่างเป็นระบบ กล่าวคือ เมื่อคุณภาพน้ำคลองในพื้นที่ เขตห้วยขวางดีขึ้นจะทำให้คลองลาดพร้าวซึ่งเป็นคลองสายหลักที่รับน้ำจากคลองในพื้นที่เขตห้วยขวางมีสภาพดีขึ้น และเมื่อคลองลาดพร้าวมีสภาพดีขึ้นก็จะช่วยลดภาระความสกปรกของน้ำจากคลองลาดพร้าวที่ลงคลองแสนแสบ ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพน้ำคลองแสนแสบดีขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงเสนอให้มีการดำเนินการโครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียเพิ่มเติมพื้นที่เขตห้วยขวางเข้าโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง
11131040/11131040
1 เพื่อก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียในพื้นที่เขตห้วยขวางรวบรวมส่งไปบำบัดที่โรงควบคุม คุณภาพน้ำดินแดง 2 เพื่อฟื้นฟูคุณภาพน้ำคลองอย่างเป็นระบบ ได้แก่ คลองภายในพื้นที่เขตห้วยขวางคลองลาดพร้าว และคลองแสนแสบ
ก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสีย(เพิ่มเติม)พื้นที่เขตห้วยขวางเข้าโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง ประกอบด้วย 1. สำรวจ ออกแบบรายละเอียดระบบรวบรวมน้ำเสีย(เพิ่มเติม)พื้นที่เขตห้วยขวางเข้าโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง ครอบคลุมพื้นที่เขตห้วยขวางทั้งหมดประมาณ 15 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำเสียเข้าระบบประมาณ 60,600 ลูกบาศก์เมตร/วัน (ปี พ.ศ. 2583) 2. ก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสีย (เพิ่มเติม) พื้นที่เขตห้วยขวางเข้าโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-09-25)
25/09/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-08-31)
31/08/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-07-26)
26/07/2566 : อยู่ระหว่างรายงานผลการจัดจ้างต่อกระทรวงมหาดไทย และขอเห็นชอบความเหมาะสมของราคาจากสำนักงบประมาณสำนักนายกรัฐมนตรี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-06-27)
27/06/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-05-31)
31/05/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-04-28)
28/04/2566 : อยู่ระหว่างรายงานผลการจัดจ้างต่อกระทรวงมหาดไทย และขอเห็นชอบความเหมาะสมของราคาจากสำนักงบประมาณสำนักนายกรัฐมนตรี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-03-28)
28/03/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-28)
28/02/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 24.00 (2023-01-31)
31/01/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2022-12-31)
31/12/2565 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ปริมาณน้ำเสียชุมชนที่ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถรองรับได้ (สจน.)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละปริมาณน้ำเสียชุมชนที่ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถร : 45
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละปริมาณน้ำเสียชุมชนที่ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถร : 46.59
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **