ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 10
ส่วนวิชาการจัดการคุณภาพน้ำ (กลุ่มงานระบบข้อมูลและบริหารการจัดเก็บค่าธรรมเนียม)
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครได้จัดทำแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566- 2570) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีเป้าประสงค์ส่งเสริมคุณภาพน้ำในกรุงเทพมหานครให้ได้รับการกำกับดูแล ฟื้นฟู และพัฒนาให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม จากการจัดทำฐานข้อมูลแหล่งกำเนิดน้ำเสียร่วมกับสำนักงานเขต ในปีพ.ศ. 2563 - 2564 โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่ถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสีย ประกอบด้วย โรงงานอุตสาหกรรม อาคารบางประเภทบางขนาด ที่ดินจัดสรร และสถานีน้ำมันเชื้อเพลิง พบว่ามีแหล่งกำเนิดน้ำเสีย จำนวน 5,307 แห่ง อยู่นอกพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสีย จำนวน 2,991 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่เขต 28 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย เขตคลองสาน เขตคลองสามวา เขตคันนายาว เขตดอนเมือง เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนาเขตธนบุรี เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตบางกะปิ บางขุนเทียน เขตบางเขน เขตบางนา เขตบางบอน เขตบางพลัด เขตบึงกุ่ม เขตประเวศ เขตพระโขนง เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง เขตลาดพร้าว เขตวังทองหลาง เขตวัฒนา เขตสวนหลวง เขตสะพานสูง เขตสายไหม และเขตหนองจอก สำนักการระบายน้ำ โดยสำนักงานจัดการคุณภาพน้ำมีหน้าที่ในการจัดการคุณภาพน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมถึงการส่งเสริมให้อาคารสถานประกอบการต่างๆ ที่เป็นแหล่งน้ำเสียให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำของกรุงเทพมหานคร จึงควรคัดเลือกและถ่ายทอดเกี่ยวกับการปฏิบัติ ที่ดีเพื่อเป็นต้นแบบในการเดินระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่ โดยในปีพ.ศ. 2566 จะเริ่มต้นกับแหล่งกำเนิดน้ำเสียประเภทอาคารชุด โรงแรม และอาคารที่ทำการเอกชน ซึ่งตั้งอยู่นอกพื้นที่บริการน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร โดยนำร่องในพื้นที่ 5 เขต เขตละ 5 แห่ง เข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 25 แห่ง แล้วจึงคัดเลือกอาคารหรือสถานประกอบการของเอกชน เขตละ 2 แห่ง รวมเป็นจำนวน 10 แห่ง ซึ่งเป็นต้นแบบที่ดีด้านการจัดการหรือบำบัดน้ำเสียให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่กำหนด รวมทั้งการประหยัดน้ำและนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ และเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้เกิดการขับเคลื่อนในภาคเอกชนโดยการสร้างความตระหนักในการจัดการน้ำเสียที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของตนเอง และให้ความสำคัญในการดูแลระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพอยู่สม่ำเสมอ
11131020/11131020
2.1 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกอาคารหรือสถานประกอบการที่มีการปฏิบัติที่ดีในการ เดินระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่ 2.2 เพื่อส่งเสริมให้เจ้าของอาคารหรือผู้ประกอบการที่เป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียในกรุงเทพมหานคร มีการจัดการน้ำเสียจากอาคารให้เป็นไปตามกฎหมายและระบายน้ำทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมเป็นไปตามมาตรฐาน 2.3 เพื่อคัดเลือกต้นแบบของอาคารหรือสถานประกอบการที่มีการปฏิบัติที่ดีในการเดินระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่ 2.4 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ด้านการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย และถ่ายทอดแนวทาง การปฏิบัติที่ดีให้กับผู้ควบคุมและเดินระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่ 2.5 เพื่อยกย่องเชิดชูอาคารหรือสถานประกอบการที่มีการดำเนินการจัดการน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
3.1 กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมเปิดตัว “โครงการคัดเลือกและถ่ายทอดเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดี เพื่อเป็นต้นแบบในการเดินระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่” เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนอาคารหรือสถานประกอบการของเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ประเภทอาคารชุด โรงแรม อาคารที่ทำการเอกชน 3.1.1 กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการกรุงเทพมหานครสังกัดสำนักงานเขต 5 เขตๆละ 1 คน จำนวน 5 คน และเจ้าของอาคารหรือผู้ประกอบการในพื้นที่เขต 5 เขตๆละ 5 คน จำนวน 25 คน 3.1.2 ผู้เกี่ยวข้อง เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 10 คน 3.2 กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมคณะกรรมการกำกับการดำเนินโครงการคัดเลือกและถ่ายทอดเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ดีเพื่อเป็นต้นแบบในการเดินระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกอาคารหรือสถานประกอบการที่มีการปฏิบัติที่ดีในการเดินระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่และลงพื้นที่ตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารหรือสถานประกอบการ เพื่อคัดเลือกอาคารหรือสถานประกอบการต้นแบบ และสรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 10 ครั้ง โดยเชิญผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกำกับฯ จำนวน 10 คน 3.3 กิจกรรมที่ 3 จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานด้านการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อถ่ายทอดแนวทางการปฏิบัติที่ดี และจัดพิธีมอบประกาศนียบัตรให้อาคารหรือสถานประกอบการต้นแบบ จำนวน 10 แห่ง โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการฯ จำนวน 1 รุ่น โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวนทั้งสิ้น 50 คน ดังนี้ 3.3.1 กลุ่มเป้าหมาย 3.3.1.1 ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญสังกัดสำนักงานเขต 5 เขตๆละ 2 คน จำนวนทั้งสิ้น 10 คน ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล และฝ่ายโยธา ประกอบด้วย - ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ถึงระดับชำนาญงาน ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุข นายช่างโยธา หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการน้ำเสียของอาคารหรือสถานประกอบการ - ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ถึงระดับชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล วิศวกรโยธา วิศวกรสุขาภิบาล หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการน้ำเสียของอาคารหรือสถานประกอบการ 3.3.1.2 ผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารหรือสถานประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 25 คน 3.3.2 ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ดังนี้ - เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 10 คน - วิทยากร จำนวน 5 คน (วิทยากรสถานที่ศึกษาดูงาน 2 คน วิทยากรจากกรมควบคุมมลพิษ จำนวน 2 คน และวิทยากรเอกชนจากกรุงเทพมหานคร 1 คน)
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-09-30)
30/09/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-08-31)
31/08/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-07-31)
31/07/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-06-30)
30/06/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-05-30)
30/05/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-04-30)
30/04/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-03-31)
31/03/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ ดำเนินการโดยไม่ใช้งบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่ได้รับงบประมาณ
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-27)
27/02/2566 : ไม่ได้รับงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-28)
28/01/2566 : จัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือก
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2022-12-30)
30/12/2565 : สำรวจข้อมูล
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : (2566) แหล่งกำเนิดน้ำเสียจากอาคารและสถานประกอบการที่มีระบบบำบัดน้ำเสียของตนเองมีการเดินระบบบำบัดน้ำเสีย (สจน.)
ค่าเป้าหมาย แห่ง : 10
ผลงานที่ทำได้ แห่ง : 11
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **