ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 10
ส่วนวิชาการจัดการคุณภาพน้ำ (กลุ่มงานพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย) โทร.2336
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครโดยสำนักการระบายน้ำ มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดการคุณภาพน้ำ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยการศึกษา ตรวจสอบ ติดตามและประเมินสถานการณ์ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำในกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดเป็นแผนหลักและยุทธศาสตร์ในการดำเนินการอย่างเป็นระบบ ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีการระบายน้ำเสียจำนวนมากจากแหล่งกำเนิดต่างๆ ทั้งจากครัวเรือน และสถานประกอบการ เห็นได้จากคูคลองที่ไหลผ่านแหล่งชุมชนหนาแน่นมักมีสภาพเน่าเสีย น้ำกลายเป็นสีดำและมีกลิ่นเน่าเหม็น ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้นอกจากใช้เพื่อการคมนาคม และการระบายน้ำจากคลองลงแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงสภาพแวดล้อม คุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ในด้าน การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรและการสร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์ อย่างยั่งยืน ข้อ 9.5 เร่งรัดการควบคุมมลพิษทั้งทางอากาศ ขยะ และน้ำเสียที่เกิดจากการผลิตและบริโภค เพื่อสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประชาชน และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีดำริให้มี การปรับปรุงคลองแสนแสบให้สะอาดภายใน 2 ปี และการประชุมร่วมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2557 มีมติให้แก้ไขปัญหาคลองแสนแสบเพื่อเป็นต้นแบบ การจัดการปัญหาน้ำเสียในแม่น้ำลำคลอง กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลและดำริของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคลองแสนแสบประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร กรมควบคุมมลพิษ กรมชลประทาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมประชาสัมพันธ์ กรมเจ้าท่า และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และได้จัดให้มีการประชุมร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้คลองแสนแสบสะอาดภายใน 2 ปี เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาน้ำในคลองแสนแสบแบบบูรณาการและอย่างยั่งยืน กรุงเทพมหานครโดยสำนักการระบายน้ำ ได้ดำเนินการสำรวจ ตรวจสอบพื้นที่ตามแนวคลองแสนแสบพบว่าช่วงถนนวิทยุถึงคลองตันมีการระบายน้ำเสียจากท่อระบายน้ำสาธารณะลงคลองแสนแสบจำนวนหลายแห่ง ดังนั้นเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูและปรับปรุงคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบให้สะอาดจึงต้องดำเนินการรวบรวมน้ำเสียจากแหล่งดังกล่าวไม่ให้ระบายลงคลองแสนแสบ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าแนวทาง ที่เหมาะสมคือการก่อสร้างระบบรวมรวมน้ำเสียเพิ่มเติมเพื่อขยายพื้นที่รวบรวมน้ำเสียตามแนวคลองแสนแสบช่วงถนนวิทยุ-คลองตันให้เข้าไปบำบัดที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง และกรุงเทพมหานครได้เสนอโครงการดังกล่าวเข้าที่ประชุมร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้คลองแสนแสบสะอาดภายใน 2 ปี ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบและบรรจุโครงการดังกล่าวไว้ในแผนปฏิบัติการเพื่อให้คลองแสนแสบสะอาดภายใน 2 ปี กระทรวงคมนาคมได้นำแผนปฏิบัติการเพื่อให้คลองแสนแสบสะอาดภายใน 2 ปี เสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการแผนปฏิบัติการดังกล่าวเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานโดยเสนอรายละเอียดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมและงบประมาณ ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
11131040/11131040
2.1 เพื่อขยายพื้นที่รวบรวมน้ำเสียตามแนวคลองแสนแสบช่วงถนนวิทยุ-คลองตัน ให้เข้ารับการบำบัดที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง 2.2 เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบช่วงกรุงเทพชั้นใน (ประตูน้ำ-มีนบุรี) ให้มีค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO) ไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร และค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (BOD) ไม่เกิน 4 มิลลิกรัม/ลิตร
ก่อสร้างระบบรวมรวมน้ำเสียเพิ่มเติมริมคลองแสนแสบจากช่วงถนนวิทยุ-คลองตัน เพื่อส่งไปบำบัดที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง โดยมีปริมาณงานประกอบด้วย 3.1 ก่อสร้างบ่อพักท่อรวบรวมน้ำเสีย จำนวน 46 บ่อ 3.2 ก่อสร้างบ่อรวบรวมน้ำเสีย (CSO) จำนวน 42 บ่อ 3.3 ก่อสร้างท่อรวบรวมน้ำเสียหลักและท่อรวบรวมน้ำเสียรอง 3.3.1 ก่อสร้างท่อรวบรวมน้ำเสียหลัก ความยาวประมาณ 5,500 เมตร 3.3.2 ก่อสร้างท่อรวบรวมน้ำเสียรอง ความยาวประมาณ 920 เมตร
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-09-25)
25/09/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-08-31)
31/08/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-07-26)
26/07/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-06-27)
27/06/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-05-31)
31/05/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-04-28)
28/04/2566 : อยู่ระหว่างพิจารณาความเหมาะสมของราคาจ้างสำนักงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-03-28)
28/03/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-28)
28/02/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-31)
31/01/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 3.00 (2022-12-31)
31/12/2565 :อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมมูล
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ปริมาณน้ำเสียชุมชนที่ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถรองรับได้ (สจน.)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละปริมาณน้ำเสียชุมชนที่ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถร : 45
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละปริมาณน้ำเสียชุมชนที่ระบบบำบัดน้ำเสียสามารถร : 46.59
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **