ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นายภูริชญ์ พิทักษ์วรพันธ์ โทร.3181
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
1 เพื่อพัฒนาระบบติดต่อสื่อสารภายในองค์กร โดยจัดตั้งเครือข่ายระบบสื่อสารแบบ Digital Trunked Radio System (DTRS) ทีมีเสถียรภาพ ให้สามารถครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบเครือข่ายวิทยุสื่อสารเพื่อการประสานงาน การควบคุม สั่งการ และติดต่อสื่อสาร ภายในหน่วยงาน และระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ ให้มีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการควบคุมสั่งการและติดต่อสื่อสาร ด้วยสัญญาณเสียงและข้อมูลที่ถูกต้องระหว่างผู้บริหารกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และระหว่างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการด้วยกันให้เกิดประสิทธิภาพทั้งระบบ และป้องกันการรบกวนและการลักลอบดักฟังของผู้ไม่หวังดี
17140100/17140100
1 เพื่อพัฒนาระบบติดต่อสื่อสารภายในองค์กร โดยจัดตั้งเครือข่ายระบบสื่อสารแบบ Digital Trunked Radio System (DTRS) ทีมีเสถียรภาพ ให้สามารถครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบเครือข่ายวิทยุสื่อสารเพื่อการประสานงาน การควบคุม สั่งการ และติดต่อสื่อสาร ภายในหน่วยงาน และระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ ให้มีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการควบคุมสั่งการและติดต่อสื่อสาร ด้วยสัญญาณเสียงและข้อมูลที่ถูกต้องระหว่างผู้บริหารกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และระหว่างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการด้วยกันให้เกิดประสิทธิภาพทั้งระบบ และป้องกันการรบกวนและการลักลอบดักฟังของผู้ไม่หวังดี 4 เพื่อพัฒนาระบบเครือข่าย อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถขยาย และเชื่อมต่อโครงข่ายที่มีอยู่เข้ากับโครงข่ายของหน่วยงานอื่น เพื่อขับเคลื่อนภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ อย่างสอดคล้องและพร้อมเพรียงกัน 5 เพื่อเพิ่มระดับการให้บริการของหน่วยงาน และการแก้ไขปัญหาของประชาชน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1 เพื่อปรับปรุงสมรรถนะและคุณภาพของการติดต่อสื่อสาร ด้วยโครงข่ายระบบ Digital Trunked Radio System (DTRS) ให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2 ขยายขอบเขตการใช้งานของระบบการติดต่อด้วยวิทยุสื่อสารให้กว้างขึ้นและโครงข่ายมีความเป็นส่วนตัว (Private Network) มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะภารกิจรับผิดชอบในปัจจุบันของหน่วยงานที่บริหารงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครตลอดจนถึงสามารถขยายระบบ เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนภารกิจรับผิดชอบของศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดังนี้ 2.1 ด้านการสื่อสารทางเสียง จากเดิมที่เป็นอนาลอกจะถูกเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล ส่งผลให้การใช้งานคลื่นความถี่ (Frequency Carrier) เกิดความคุ้มค่ามากขึ้น ทั้งนี้ในการทดแทนระบบจากโครงข่ายระบบอนาลอกเดิมไปเป็นระบบโครงข่าย Digital Trunked Radio System (DTRS) นั้น สามารถทยอยทำที่ละส่วนได้ โดยที่โครงข่ายทั้งหมดยังสามารถติดต่อถึงกันได้หมด แต่อย่างไรก็ดีคุณภาพและขอบเขตการให้บริการในบางส่วนอาจจะต่างกันไป ขึ้นกับสถาปัตยกรรมของการออกแบบระบบนั้นๆ นอกจากนี้ระบบโครงข่าย Digital Trunked Radio System (DTRS) ยังมีขีดความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์พื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานอีกด้วย 2.2 ด้านความปลอดภัยจากการถูกลอบดักฟังการติดต่อสื่อสารจากผู้ไม่หวังดี เนื่องด้วย Digital Trunked Radio System (DTRS) ใช้เทคโนโลยีการผสมสัญญาณแบบดิจิตอลและมีการจัดสรรทรัพยากรของระบบ เช่น ความถี่หรือ ตำแหน่งตามเวลาสำหรับการขอเข้าใช้งานของผู้ใช้แต่ละราย ซึ่งมีลักษณะการออกแบบเช่นเดียวกับเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.3 ด้านการสื่อสารข้อมูล โครงข่ายระบบ Digital Trunked Radio System (DTRS) สามารถรองรับการส่งผ่านข้อมูล ซึ่งทำให้สามารถรองรับการทำงานต่างๆได้หลากหลาย ซึ่งสามารถเลือกได้ตามความต้องการ เช่นระบบ SCADA หรือ Telemetry, การรับ-ส่งข้อความ (SMS) เป็นต้น 3 ด้านการสนับสนุนงานกู้ภัย และ บรรเทาสาธารณภัย โครงข่ายระบบ Digital Trunked Radio System (DTRS) มีฟังก์ชั่นสนับสนุนที่เป็นประโยชน์ในลักษณะงานดังกล่าว เช่น ข้อมูลพิกัดตำแหน่ง (GPS) เพื่อแสดงผลบนระบบแผนที่ของกรุงเทพมหานครได้, การบันทึกบทสนทนา, การเฝ้าสังเกตการณ์จากส่วนควบคุมกลาง เป็นต้น ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญในการประสานความร่วมมือไปยังฝ่ายงานต่างที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อช่วยในการคลี่คลายสถานการณ์เสี่ยงภัย ณ ขณะนั้นได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที 4 เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพความคล่องตัวในการแก้ปัญหาจากทรัพยากรโครงข่ายระบบที่ไม่เพียงพอ เป็นประเด็นปัญหาซึ่งพบบ่อยโดยเฉพาะการใช้งานในกรณีฉุกเฉินจากโครงข่ายระบบอนาลอกดังเดิม เช่น ปัญหาการลักลอบใช้คลื่นความถี่วิทยุ การจัดชั้นความลับและ ปัญหาพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณไม่เพียงพอ
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๕ - เทคโนโลยีสารสนเทศ |
๗.๕.๑ กรุงเทพมหานครให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและโปร่งใส โดยประยุกต์% |
๗.๕.๑.๓ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีประสิทธิภาพ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2018-01-11)
11/1/2561 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 82.00 (2017-12-18)
18/12/2560 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...1.ผู้รับจ้างดำเนินการติดตั้งสถานีแม่ข่าย จำนวน 23 สถานี แล้วเสร็จตามสัญญา และติดตั้งสถานีแม่ข่ายเพิ่มเติม จำนวน 2 สถานี เพื่อให้สัญญาณครอบคลุมทั่วพื้นที่ กทม. 2.ผู้รับจ้างดำเนินการติดตั้งศูนย์ควบคุมกลางและสั่งการเครือข่าย ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และติดตั้งศูนย์สั่งการ ณ สำนักการจราจรและขนส่ง สำนักเทศกิจ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แล้วเสร็จ ตามสัญญา 3.ผู้รับจ้างดำเนินการติดตั้งวิทยุสื่อสารแบบประจำที่ครบถ้วนตามสัญญา 4.ผู้รับจ้างอยู่ระหว่างดำเนินการแจกจ่ายเครื่องวิทยุสื่อสารแบบติดตามตัวและติดตั้งวิทยุสื่อสารในรถยนต์ ตามหน่วยงานต่างๆของกรุงเทพมหานคร 5.ผู้รับจ้างอยู่ระหว่างดำเนินการทดสอบสัญญาณและทดสอบระบบการทำงานเครือข่ายของโครงการ 6.ผู้รับจ้างอยู่ระหว่างจัดอบรมการใช้งานวิทยุสื่อสารให้กับบุคลากร ของกทม. 7.ผู้รับจ้างดำเนินการ ส่งมอบงาน งวดที่5 และงวดที่6 เมื่อวันที่ 13 ธค. 60
** ปัญหาของโครงการ :ปัญหาเกี่ยวกับการหารถยนต์ติดตั้งวิทยุสื่อสาร...เนื่องจากรถมีการยุบสภาพและรอจำหน่าย หลายคันและยังไม่มีการจัดซื้อทดแทน
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 81.00 (2017-11-28)
28/11/2560 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ดำเนินการก่อสร้างสถานีแม่ข่ายแล้วเสร็จครบตามสัญญา จำนวน 23 สถานี และติดตั้งสถานีแม่ข่ายเพิ่มเติมอีก 2 สถานี เพื่อให้สัญญาณครอบคลุมพื้นที่กทม.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 แล้วเสร็จ ติดตั้งศูนย์ควบคุมและสั่งการเครือข่าย จำนวน 4 สถานี แล้วเสร็จ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2017-10-31)
31/10/2560 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ดำเนินการก่อสร้างสถานีแม่ข่ายแล้วเสร็จ จำนวน 23 สถานี เปิดทดสอบระบบ จำนวน 20 สถานี อยู่ระหว่างการปรับตั้งระบบ จำนวน 3 สถานี ขณะนี้อยู่ระว่างดำเนินการเตรียมความพร้อม ในการส่งมอบงานงวดที่5-8
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 12.ร้อยละความสำเร็จของโครงการพัฒนาระบบสื่อสาร/สารสนเทศ
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **