ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

ฝึกอบรมและดูงานการศึกษาเปรียบเทียบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานครและนครราชสีมา : 18000000-6663

สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

กองนโยบายและแผนงาน

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

จังหวัดนครราชสีมา เปรียบเสมือนเป็นประตูสู่ภาคอีสาน เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนประชากรและขนาดของพื้นที่ที่มากเป็นอันดับหนึ่งของภาค และเป็นอันดับ 2 ของประเทศ จังหวัดนครราชสีมามีการเติบโตและพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าของภาคอีสาน เป็นผลจากนโยบายของรัฐเป็นสำคัญ ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 เมื่อสหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ในอินโดจีน และให้การสนับสนุนทางด้านการเงินแก่รัฐบาลไทยเพื่อให้สหรัฐอเมริกาตั้งฐานทัพและสร้างถนนมิตรภาพ เพื่อเชื่อมกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ตั้งฐานทัพของกองทัพสหรัฐฯเพื่อยุทธศาสตร์การทำสงครามในอินโดจีนของสหรัฐอเมริกา เมื่อการคมนาคมสะดวกขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจนครราชสีมาเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า อุตสาหกรรม และการบริการระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดต่างๆในภาคอีสาน การเติบโตของจังหวัดนครราชสีมาดังกล่าว มีความคล้ายคลึงกับการเติบโตของกรุงเทพมหานครในหลายด้าน ในขณะที่นครราชสีมาซึ่งเป็นเมืองที่มีมรดกทางวัฒนธรรม มีประวัติศาสตร์มายาวนานก็ยังคงรักษาอัตลักษณ์ไว้ได้อย่างดีเยี่ยม กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญนับตั้งแต่ได้รับการสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงของประเทศจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 237 ปี ได้แสดงถึงการมีประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมือง วิถีชีวิตของคนในอดีตซึ่งในปัจจุบันยังคงทิ้งเรื่องราวในอดีตผ่านทางพื้นที่ที่ยังคงมีการอนุรักษ์ไว้ แต่อีกด้านหนึ่งกรุงเทพมหานครก็เป็นเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยกระแสการพัฒนาด้านต่างๆที่สำคัญของประเทศและเป็นศูนย์กลางประชาคมอาเซียน รวมทั้งขนาดของประชากรที่เพิ่มขึ้นมาก ส่งผลต่อการพัฒนาเมือง ซึ่งปัจจุบัน ย่านประวัติศาสตร์ของเมืองกลายเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ การหาจุดสมดุลระหว่างกระแสการพัฒนาและกระแสการอนุรักษ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ หากกรุงเทพมหานครขาดแนวทางการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมที่มีประสิทธิภาพ กระแสการพัฒนาที่เกิดขึ้นจะลดทอนอัตลักษณ์ของกรุงเทพมหานครลงได้ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องเรียนรู้แนวทางการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมของเมืองที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร เพื่อให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการวิเคราะห์ผังเมืองและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ศึกษาเปรียบเทียบและนำแนวคิดใหม่ๆมาปรับใช้กับแนวทางที่มีอยู่เดิมของกรุงเทพมหานครต่อไปได้อย่างเหมาะสม กองนโยบายและแผนงาน สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองในฐานะผู้รับผิดชอบหลักในการศึกษาวิจัยเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ ทางด้านผังเมืองของกรุงเทพมหานคร จึงได้ดำเนินโครงการฝึกอบรมและดูงานการศึกษาเปรียบเทียบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานครและนครราชสีมา

18080000/18080000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๑. เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ทางวิชาการและแหล่งโบราณคดี การอนุรักษ์โบราณสถานและพื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ๒. เพื่อให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งปฏิบัติงานด้านการวิเคราะห์ผังเมืองและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ในการศึกษาเปรียบเทียบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม 3. เพื่อประยุกต์ใช้องค์ความรู้เป็นแนวทางในการวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร

เป้าหมายของโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย คือ ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญในสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ประเภทอำนวยการระดับต้น ประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษลงมา และประเภททั่วไประดับอาวุโสลงมา จำนวน 35 คน วิทยากร 1 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ 7 คน รวมทั้งสิ้น 43 คน โดยดำเนินการ ๒ กิจกรรม ดังนี้ 3.1 การฝึกอบรมเรื่อง “การจัดการมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร”ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมประกอบด้วย ข้าราชการประเภทอำนวยการระดับต้น ประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษลงมา และประเภททั่วไประดับอาวุโสลงมา จำนวน 35 คน วิทยากร 1 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ 7 คน รวมทั้งสิ้น 43 คน 3.2 การดูงานเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานครและนครราชสีมา” ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมประกอบด้วย ข้าราชการประเภทอำนวยการระดับต้น ประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษลงมา และประเภททั่วไประดับอาวุโสลงมา จำนวน 35 คน วิทยากร 1 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ 7 คน รวมทั้งสิ้น 43 คน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่%
๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-04)

100.00

04/07/2566 : ดำเนินการแล้วเสร็จ และเบิกจ่ายงบประมาณเรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-03-23)

100.00

23/03/2566 : ดำเนินการแล้วเสร็จ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-02-24)

95.00

24/02/2566 : ติดตามประเมินผลโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการต่อผู้มีอำนาจอนุมัติโครงการ และสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-01-30)

90.00

30/01/2566 : ดำเนินการฝึกอบรมและดูงาน ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2022-12-29)

20.00

29/12/2565 : 1.กำหนดหลักสูตรและสถานที่ฝึกอบรมและดูงาน 2.ประสานวิทยากรจากหน่วยงานสถาบันการศึกษาภาครัฐหรือเอกชนเพื่อจัดการฝึกอบรมตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กำหนด 3.ประสานหน่วยงานที่จะศึกษาดูงานสถานที่พักแรมร้านอาหาร และรถยนต์โดยสารปรับอากาศขนาด 40 ที่นั่งขึ้นไป

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 18000000-6663

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 18000000-6663

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 1800-845

ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการฝึกอบรมและดูงานการศึกษาเปรียบเทียบการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมเพื่ออนุรักษ์พื้นที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของกรุงเทพมหานครและนครราชสีมา

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00

0 / 0
2
100.00

0 / 0
3
0.00

0 / 0
4
0.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **