ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

จ้างที่ปรึกษาศึกษาและจัดทำแผนแม่บท (Road Map) การบริหารจัดการเมืองในสถานการณ์วิกฤติ : 21000000-6565

สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ผังเมือง การจราจรและขนส่ง

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ภัยพิบัติ และวินาศภัยต่าง ๆ ในปัจจุบันซึ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากภาวะโลกร้อนและความแออัดของสภาพความเป็นเมือง เช่น ปัญหาน้ำท่วม ตึกถล่ม อัคคีภัย คลื่นความร้อน โรคอุบัติใหม่ หลุมยุบภายในเมือง เป็นต้น ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และเศรษฐกิจของประเทศเป็นจำนวนมหาศาล รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการและการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างระบบการคาดการณ์สถานการณ์ วิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมและกำหนดมาตรการได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที โดยได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 ซึ่งมีนโยบายที่สำคัญ คือ การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบข้อมูลขนาดใหญ่พร้อมด้วยระบบการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะการคาดการณ์สถานการณ์วิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นล่วงหน้า เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้รัฐบาลยังมีนโยบายเร่งด่วน 12 เรื่อง ซึ่งหนึ่งในนโยบายที่สำคัญ คือ การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัยอย่างครบวงจร โดยจัดระบบติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องและกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุดและทันท่วงที ดังนั้น กรุงเทพมหานครในฐานะหน่วยงานของรัฐ จึงมีภาระหน้าที่นำนโยบายดังกล่าวผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของบริบทในพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันกรุงเทพมหานครกำลังเผชิญกับความเสี่ยงสาธารณภัยในด้านต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่สภาวะวิกฤติต่อสาธารณูปโภค และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้ 1. ความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย โดยสำนักการระบายน้ำรายงานว่าในปี พ.ศ. 2564 กรุงเทพมหานครมีจำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยรวม 63 จุด โดยแบ่งเป็นจุดเสี่ยงน้ำท่วมในถนนสายหลัก จำนวน 12 จุด และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วมในถนนสายหลัก จำนวน 51 จุด 2. ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยสำนักการจราจรและขนส่งรายงานว่าในปี พ.ศ. 2564 กรุงเทพมหานครมีจำนวนพื้นที่เสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนทั้งหมด 118 จุด อีกทั้งยังมีผู้เสียชีวิต 718 ราย บาดเจ็บ 83,693 และทุพพลภาพ 1 ราย 3. ความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย โดยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานว่า ในปี พ.ศ. 2564 กรุงเทพมหานครมีชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย จำนวน 122 แห่ง แบ่งเป็น ความเสี่ยงสูง 0 แห่ง ความเสี่ยงปานกลาง 1 แห่ง และความเสี่ยงต่ำ 121 แห่ง 4. ความเสี่ยงต่อการเกิดอาคารถล่ม โดยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานว่า ในปี พ.ศ. 2564 กรุงเทพมหานครประสบภัยจากอาคารถล่มเป็นจำนวน 1 ครั้ง 5. ความเสี่ยงต่อการเกิดวาตภัย โดยสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรายงานว่า ในปี พ.ศ. 2564 กรุงเทพมหานครประสบภัยจากวาตภัย เป็นจำนวน 33 ครั้ง 6. ความเสี่ยงต่อการเกิดพังทลายชายฝั่ง โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประเมินสถานการณ์ในระหว่างปี 2550 - 2555 พบว่ามีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน เป็นระยะทางรวม 4.85 กิโลเมตร 7. ความเสี่ยงต่อการเกิดฝุ่นละออง โดยสำนักสิ่งแวดล้อมรายงานว่าในระหว่างปี พ.ศ. 2560 - 2564 ตรวจวัด PM10 ได้ช่วง 15 - 175 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ PM 2.5 ได้ช่วง 5 - 180 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินกว่าค่ามาตรฐาน จึงทำให้คุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานครลดลง และมีผลต่อสุขภาพของประชาชน 8. ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ และอุบัติซ้ำ โดยสำนักอนามัยรายงานว่า ในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา กรุงเทพมหานครได้ประสบสถานการณ์โรคอุบัติใหม่หลายโรค เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome: MERS) และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ผ่านจากนักเดินทางชาวต่างประเทศ พร้อมทั้งประสบปัญหาจากโรคที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลและโรคประจำถิ่นที่มีการแพร่ระบาดอย่างผิดปกติ เช่น ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป็นต้น แม้ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครจะดำเนินมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาความเสี่ยงดังที่กล่าวมาโดยตลอด แต่ยังขาดการพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบการบริหารจัดการในสถานการณ์วิกฤติเชิงบูรณาการแบบครบวงจร ดังนี้ 1) การเก็บข้อมูลรูปแบบ/ประเภทความเสี่ยงภัย/ภัยคุกคาม 2) การวิเคราะห์สถานการณ์ถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิด 3) การวิเคราะห์และบริหารจัดสรรทรัพยากร อาทิ เครื่องมือ งบประมาณ กำลังคน และสถานที่ ฯลฯ 4) การจำลองรูปแบบการตัดสินใจและสนับสนุนการปฏิบัติการเพื่อยุติสถานการณ์วิกฤตินั้น ๆ เพื่อบรรเทาความรุนแรงของปัญหา รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาสาธารณภัย และสามารถประเมินผลตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2570) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤติการณ์ ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 1.3 ปลอดภัยพิบัติ และยุทธศาสตร์ที่ 7 การสร้างความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการมหานคร ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 7.2 การบริหารและประเมินผลแผนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรศึกษา วิเคราะห์ และออกแบบกระบวนการบริหารจัดการเมืองให้สามารถรับมือกับสถานการณ์วิกฤติที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นแนวทางและเครื่องมือให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครและทุกภาคส่วนสามารถประสานความร่วมมือในการรับมือกับสาธารณภัยและภัยพิบัติต่าง ๆ ของเมืองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพต่อไป

21050200/21050200

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ประเมินและจัดลำดับความสำคัญตามความรุนแรงและความเป็นไปได้ ที่จะเกิดสาธารณภัย/ภัยคุกคามประเภทต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อสาธารณูปโภค และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2.2 เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และนำเสนอหลักเกณฑ์ วิธีการ แนวทาง และรูปแบบการรับมือกับสาธารณภัย/ภัยคุกคามต่าง ๆ และความเป็นไปได้ของผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น 2.3 เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และออกแบบระบบการจัดสรรทรัพยากรของเมือง และระบบสนับสนุนการตัดสินใจและการปฏิบัติการในการบริหารจัดการทรัพยากรของกรุงเทพมหานครต่อสาธารณภัยที่ส่งผลต่อสาธารณูปโภคและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2.4 เพื่อจัดทำแผนแม่บท (Roadmap) การบริหารจัดการเมืองในสถานการณ์วิกฤติที่สอดคล้องกับบริบทกรุงเทพมหานคร

เป้าหมายของโครงการ

กรุงเทพมหานครมีแผนแม่บท (Road Map) การบริหารจัดการเมืองในสถานการณ์วิกฤติที่ผ่านการศึกษาบริบทของเมือง เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยพิบัติ เพิ่มขีดความสามารถในจัดการในภาวะฉุกเฉิน และฟื้นฟูหลังภาวะวิกฤติ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
๗.๒ - การบริหารแผนและประเมินผล
๗.๒.๒ กรุงเทพมหานครมีระบบการติดตามและรายงานความก้าวหน้าผลการดำาเนินงานตามแผนพัฒนากรุงเทพ%
๗.๒.๑.๒ การขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการภารกิจเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพมหานคร

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-04-27)

100.00

27/04/2566 : กทม. โดย กยภ.สยป. และ สถาบันพระปกเกล้าซึ่งเป็นที่ปรึกษาของโครงการฯ ได้ลงนามสัญญาเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 ในขณะนี้ที่ปรึกษาอยู่ระหว่างดำเนินงานตามงวดงานที่ 1

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-03-30)

65.00

30/03/2566 : อยู่ในระหว่างตรวจร่างสัญญาจ้างที่ปรึกษา

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-02-14)

55.00

14/02/2566 : 1. คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาฯ ได้พิจารณาข้อเสนอโครงการ และต่อรองข้อเสนอด้านราคากับที่ปรึกษาที่มายื่น และรายงานผล เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 66 2.ได้ดำเนินการขออนุมัติจ้างที่ปรึกษาและแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566

** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากหน่วยงานที่มายื่นข้อเสนอมีการเปลี่ยนแปลงการกำหนดนโยบายและผู้บริหาร จึงเกิดความไม่ต่อเนื่องในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจ

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:ขออนุมัติโครงการและรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:แต่งตั้งคณะกรรมการและกำหนดขอบเขตการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา และขออนุมัติขอบเขตการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษา
:10.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:แต่งตั้งคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาและดำเนินการจ้างที่ปรึกษาจากสถาบัน การศึกษาที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-11-15 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-15 00:00:00
ขั้นตอน 4
:พิจารณาข้อเสนอโครงการที่ปรึกษามายื่น
:40.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:ต่อรองราคา
:50.00%
เริ่มต้น :2022-12-19 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-19 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6.ขออนุมัติจ้างที่ปรึกษาและแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
:55.00%
เริ่มต้น :2022-12-27 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-27 00:00:00
ขั้นตอน 7
:4.ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา
:60.00%
เริ่มต้น :2023-01-06 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-06 00:00:00
ขั้นตอน 8
:ตรวจร่างและลงนามสัญญา
:65.00%
เริ่มต้น :2023-01-16 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-16 00:00:00
ขั้นตอน 9
:ที่ปรึกษาดำเนินการตามสัญญา
:100.00%
เริ่มต้น :2023-02-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-02-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 21000000-6565

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 21000000-6565

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 2100-2079

ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการภารกิจเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพมหานคร

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 60

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ :

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

100 / 0
2
0.00

0 / 0
3
0.00

0 / 0
4
0.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **