ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ด้วยยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ว่า ภาครัฐมีความทันสมัย พัฒนาและปรับระบบวิธีการปฏิบัติราชการให้ทันสมัยโดยมีการกําหนดนโยบายและการบริหารจัดการที่ตั้งอยู่บนข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ มุ่งผลสัมฤทธิ์ มีความโปร่งใส ยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง นํานวัตกรรม เทคโนโลยี ระบบการทํางานที่เป็นดิจิทัลมาใช้ในการบริหารและการตัดสินใจ และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 - 2565) ด้านที่ 7 การบริหารจัดการเมืองมหานคร มิติที่ 7.5 เทคโนโลยีสารสนเทศ เป้าประสงค์ที่ 7.5.1.2 มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลได้พัฒนาระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Leave) โดยสามารถยื่นลาป่วย ลากิจส่วนตัว และลาพักผ่อนผ่านอินเตอร์เน็ต (http://eleave.bangkok.go.th/public) ซึ่งเป็นข้อสั่งการของปลัดกรุงเทพมหานครที่มอบให้สำนักงาน ก.ก. นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน ในการใช้ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์นั้นผู้ลาสามารถยื่นใบลาได้ตลอดเวลา สามารถดูวันลาสะสมได้ตนเอง สะดวกในการค้นคืนข้อมูลการลา ในขณะที่ผู้ตรวจสอบสามารถตรวจสอบและค้นคืนข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้บริหารสามารถเรียกดูรายงานการลาในภาพรวมได้ ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์นี้สามารถลดปริมาณการใช้กระดาษและลดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร สำนักงาน ก.ก. ได้นำเรียนปลัดกรุงเทพมหานครรับทราบผลการใช้ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ และเห็นชอบให้สำนักงาน ก.ก. เผยแพร่การใช้งานระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ให้กับส่วนราชการกรุงเทพมหานครรับทราบ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวได้ใช้การลาโดยใช้ใบลาในรูปแบบกระดาษตามแบบแนบท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 โดยผู้ลาต้องเสนอหรือจัดส่งใบลาในรูปแบบกระดาษขออนุญาตลาต่อผู้มีอํานาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาก่อนหรือในวันที่ลา ในบริบทการปฏิบัติงานของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวหากผู้ลาปฏิบัติงานที่ศูนย์เยาวชน ศูนย์กีฬา และห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ หรือปฏิบัติงานนอกสถานที่ทำงานตามมาตรการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ย่อมไม่มีความสะดวก ต้องเดินทางส่งใบลา ทำให้เกิดความล่าช้า และต้องสอบถามข้อมูลการลาจากผู้ตรวจสอบอีกด้วย นอกจากนี้ ส่วนราชการต้องเสียงบประมาณในการพิมพ์ใบลา เสียตู้เอกสารใบลาและพื้นที่จัดเก็บแฟ้มใบลา และเจ้าหน้าที่ต้องจัดเก็บใบลาเข้าแฟ้ม รวมถึงผู้มีอํานาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาต้องเสียเวลาในการลงนามใบลา จะเห็นได้ว่าการลาโดยใช้ใบลาในรูปแบบกระดาษนั้นไม่เพิ่มผลผลิตให้กับส่วนราชการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว และยังไม่ตอบโจทย์การปฏิบัติงานในยุคดิจิทัลด้วย ดังนั้น หากนำระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวเช่นเดียวกับสำนักงาน ก.ก. ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว และอำนวยความสะดวกในการลาของข้าราชการ จึงได้จัดทำโครงการใช้ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Leave) กับสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เพื่อให้เป็นไปตามข้อสั่งการของปลัดกรุงเทพมหานครที่ให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงาน ในการนี้ ประสานงานไปยังสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลขอใช้ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์
23020200/23020200
2.1 เพื่อให้สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวมีการใช้ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ 2.2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว 2.3 เพื่อนำระบบการทํางานที่เป็นดิจิทัลมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวมีการใช้ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์โดยสามารถยื่นลาป่วย ลากิจส่วนตัว และลาพักผ่อนผ่านอินเทอร์เน็ต (http://eleave.bangkok.go.th/public)
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๒ - การบริหารแผนและประเมินผล |
๗.๒.๑ กรุงเทพมหานครมีระบบการติดตามและรายงานความก้าวหน้าผลการดำาเนินงานตามแผนพัฒนากรุงเทพ% |
๗.๒.๑.๑ พัฒนาระบบการติดตามและรายงานความก้าวหน้าตามแผนพัฒนา |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2022-02-24)
24/02/2565 : - ให้ความรู้ความเข้าใจการใช้ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์กับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการลาของส่วนราชการ - ปรับปรุงข้อมูลข้าราชการให้เป็นปัจจุบัน - นำเข้าข้อมูลข้าราชการในระบบ
** ปัญหาของโครงการ :ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Leave) ของ กบพ. ยังไม่สมบูรณ์ 100% ผู้พัฒนาระบบจะปรับปรุงต่อไป
** อุปสรรคของโครงการ :ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Leave) ของ กบพ. ยังไม่สมบูรณ์ 100% ผู้พัฒนาระบบจะปรับปรุงต่อไป
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2022-01-24)
24/01/2565 : - ปรับปรุงข้อมูลของข้าราชการบางรายให้เป็นปัจจุบันและมีความถูกต้อง โดยส่งข้อมูลให้กับ กบพ. ดำเนินการในระบบ - ส่วนราชการกำลังทดสอบการใช้ระบบ E-Leave
** ปัญหาของโครงการ :- ผู้ใช้งาน/ผู้ตรวจสอบการลายังไม่เข้าใจการใช้ระบบ E-Leave - ควรให้ผู้พัฒนาระบบมาให้ความรู้การใช้ระบบ E-Leave
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2021-12-27)
27/12/2564 : - จัดส่งข้อมูลข้าราชการที่มีการปรับปรุงแก้ไขให้เป็นปัจจุบันให้กับ กบพ. เพื่อลงในฐานข้อมูล - ได้วางลิงก์ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Leave) บนเว็บไซต์ สวท. เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าใช้งาน
** ปัญหาของโครงการ :การดำเนินการปรับปรุงข้อมูลข้าราชการให้เป็นปัจจุบันมีล่าช้ามาก
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-11-26)
26/11/2564 : - ปรับปรุงข้อมูลข้าราชการให้เป็นปัจจุบัน - นำส่งข้อมูลข้าราชการให้นักพัฒนาระบบของ กบพ.
** ปัญหาของโครงการ :การตรวจสอบข้อมูลข้าราชการเพื่อใช้ในระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์มีความล่าช้า
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-10-28)
28/10/2564 : - ศึกษาหนังสือสำนักงาน ก.ก. ที่ กท 0303/2111 ลว. 16 ธันวาคม 2563 - ศึกษาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555 - จัดทำหนังสือขอความเห็นชอบนำระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับ สวท. - จัดทำหนังสือถึง สยป. แจ้งความประสงค์ขอใช้ระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ - จัดทำหนังสือถึงส่วนราชการขอให้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลข้าราชการเพื่อใช้ในระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Leave)
** ปัญหาของโครงการ :- การขอให้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลข้าราชการเพื่อใช้ในระบบการลาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Leave) กับส่วนราชการมีความล่าช้า
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวดำเนินการสำเร็จตามที่เป้าหมายกำหนด
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 80
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **