ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ส่วนการท่องเที่ยว
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่มีพัฒนาการยาวนาน เป็นมหานครที่ เป็นศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ที่สำคัญคือเป็นเมืองศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว โดยกรุงเทพมหานคร มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ วัดวาอาราม พิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ย่านสร้างสรรค์ในพื้นที่ต่างๆ แหล่งท่องเที่ยวที่ทันสมัย แหล่งช้อปปิ้ง แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แม่น้ำลำคลอง ป่าชายเลน พื้นที่สวนเกษตร ทั้ง ๕๐ สำนักงานเขต การดำเนินการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร ในระดับท้องถิ่น ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีระหว่างภาคีเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่บุคลากรการท่องเที่ยวของสำนักงานเขต ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันในการทำงานในพื้นที่ ร่วมกับประชาชนในแหล่งท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนการจัดกิจกรรม งานเทศกาล งานประเพณี การสนับสนุนการทำความสะอาดแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมจิตอาสา เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ให้เป็นที่ศึกษาดูงาน ที่น่าสนใจ อันเป็นหัวใจในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เล็งเห็นความสำคัญของทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ ทรัพยากรมนุษย์ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องจัดกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง เพราะความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด และคนยังเป็นทรัพยากรที่รู้จักคิด วิเคราะห์ การรักษา สร้างสรรค์แนวทางการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ มีคุณภาพ และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว จึงเห็นควรพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มพูนวิสัยทัศน์ ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีความสามารถ มีศักยภาพในการดำเนินงาน และบริหารจัดการงานด้านการท่องเที่ยววิถีถิ่นได้อย่างสมดุล รวมถึงสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายภาคประชาชนด้านการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร นำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป
23070000/23070000
๒.๑ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร เสริมสร้างวิสัยทัศน์ เรียนรู้ประสบการณ์ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและจำเป็นในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่
พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวภาคส่วนต่างๆ ในสังคมให้มีความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์การท่องเที่ยวที่จำเป็นให้สามารถนำไปปฏิบัติงานได้ รวมทั้งเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว จำนวน ๒ กลุ่ม ดังนี้ ๓.๑ กลุ่มเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๘๐ คน (ผู้เข้าอบรม ๗๐ คน และเจ้าหน้าที่ ๑๐ คน) เป็นการอบรมแบบไป - กลับ ณ โรงแรมหรือสถานที่ฝึกอบรมในกรุงเทพมหานคร จำนวน ๑ วัน และอบรมศึกษาดูงานแบบพักค้าง ณ สถานที่ฝึกอบรม ณ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๓ วัน ๒ คืน ๓.๒ กลุ่มบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๘๐ คน (ผู้เข้าอบรม ๗๐ คน และเจ้าหน้าที่ ๑๐ คน) เป็นการอบรมแบบไป - กลับ ณ โรงแรมหรือสถานที่ฝึกอบรมในกรุงเทพมหานคร จำนวน ๑ วัน และอบรมศึกษาดูงานแบบพักค้าง ณ สถานที่ฝึกอบรม ณ จังหวัดขอนแก่น จำนวน ๓ วัน ๒ คืน
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-05-30)
30/05/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-04-30)
30/04/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-03-23)
23/03/2566 : อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล สรุปผลทำรายงานการอบรม และสรุปผลตัวชี้วัดตามโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว งบประมาณ ๘๖๓,๖๐๐.- บาท ใช้งบประมาณดำเนินการ จำนวน ๘๒๖,๖๐๐.- บาท (ระบบให้กรอก ๘๖๓,๖๐๐.- บาท) กลุ่มเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวนบุคลากรเข้ารับการอบรมค่าเป้าหมายตามโครงการ ๗๒ คน จำนวนบุคลากรเข้ารับการอบรมครบทั้งหลักสูตร ๖๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๐๕ จำนวนบุคลากรเข้ารับการอบรมครบทั้งหลักสูตรและทำแบบประเมินความรู้ ๖๗ คน จำนวนบุคลากรมีผลการประเมินการได้รับความรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ๕๖ คน ผ่านร้อยละ ๘๐ (๑๖ ข้อ จาก ๒๐ ข้อ) คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๕๘ งบประมาณที่ใช้ไป ๓๑๑,๕๕๐.- บาท มีเงินเหลือจ่าย ๒๘,๘๕๐.- บาท กลุ่มบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวนบุคลากรเข้ารับการอบรมค่าเป้าหมายตามโครงการ ๗๐ คน จำนวนบุคลากรเข้ารับการอบรมครบทั้งหลักสูตร ๖๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๕๗ จำนวนบุคลากรเข้ารับการอบรมครบทั้งหลักสูตรและทำแบบประเมินความรู้ ๖๙ คน จำนวนบุคลากรมีผลการประเมินการได้รับความรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ๖๘ คน ผ่านร้อยละ ๘๐ (๑๖ ข้อ จาก ๒๐ ข้อ) คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๕๕ งบประมาณที่ใช้ไป ๓๔๓,๐๕๐.- บาท มีเงินเหลือจ่าย ๘,๑๕๐.- บาท ค่ายานพาหนะ (นครราชสีมา) ๗๗,๔๐๐.- บาท ค่ายานพาหนะ (ขอนแก่น) ๘๔,๖๐๐.- บาท ค่าวัสดุ ๑๐,๐๐๐.- บาท
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-03-01)
01/03/2566 : 01/03/2566 : วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00-16.00 น. สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว โดยส่วนการท่องเที่ยว จัดอบรมบุคลากรการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร และผู้เกี่ยวข้องตามโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยวฯ ณ ห้องกรุงเทพ บอลล์รูม โรงแรมรอยัล ซิตี้ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร จากนั้นวันที่ 23-25 กุมภาพันธ์ 2566 นำผู้เข้าร่วมโครงการฯ ศึกษาดูงาน ณ จังหวัดขอนแก่น รายละเอียดกำหนดการอบรม กำหนดการโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว กลุ่มบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครและผู้ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องปิ่นเกล้า ๑ โรงแรมรอยัล ซิตี้ ชั้น ๙ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร (แบบไป - กลับ) และการอบรมศึกษาดูงาน (แบบพักค้าง) จำนวน ๓ วัน ๒ คืน ณ จังหวัดขอนแก่น ..................................................... วันพุธที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๐๐ - ๐๘.๓๐ น. ลงทะเบียน ณ ห้องปิ่นเกล้า ๑ โรงแรมรอยัล ซิตี้ ชั้น ๙ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เวลา ๐๘.๓๐ - ๐๙.๐๐ น. พิธีเปิดโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. การอภิปราย หัวข้อ “การจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน” โดย วิทยากร จำนวน ๒ คน ๑. รองศาสตราจารย์ ดร.ฑีรัตม์ พิริยะพลิน ๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ เอี่ยมสำอางค์ เวลา ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารมื้อกลางวัน เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐น. การอภิปราย หัวข้อ “การดึงอัตลักษณ์ พลิกวิธีคิด สร้างเศรษฐกิจชุมชน” โดย วิทยากร จำนวน ๒ คน ๑. นายสุขสันติ์ ชื่นอารมย์ ๒. นางเพชรดา ศรชัยไพศาล เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. สรุปกิจกรรม / นัดหมายการศึกษาดูงานจังหวัดขอนแก่น วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เวลา ๐๕.๐๐ - ๐๕.๓๐ น. ลงทะเบียน ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เวลา ๐๕.๓๐ – ๑๑.๓๐ น. ออกเดินทาง (รับประทานอาหารเช้า อาหารว่างและเครื่องดื่ม บนรถโดยสารฯ) เวลา ๑๑.๓๐ - ๑๒.๓๐ น. รับประทานอาหารมื้อกลางวัน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา มีความสำคัญด้วยตามมติคณะรัฐมนตรีคัดเลือกให้เป็นสถานที่เตรียมเข้าร่วมการแข่งขันประมูลสิทธิในการเป็นเจ้าภาพการจัดงานพืชสวนโลก พ.ศ. ๒๕๗๒ เวลา ๑๒.๓๐ - ๑๔.๐๐ น. ออกเดินทางไปยังบ้านหนองบัวน้อย ตำบลโสกนกเต็น อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. คณะศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “การบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่น” ณ บ้านหนองบัวน้อย ตำบลโสกนกเต็น อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชน แหล่งเรียนรู้ otop นวัตวิถี วิสาหกิจชุมชนทอผ้าไหมผ้าฝ้ายบ้านหนองบัวน้อย โดย วิทยากรท้องถิ่นภาคประชาชน จำนวน ๒ คน ๑. นางเกษร นามวงศ์ ๒. นางสวรรยา ลาแพงศรี เวลา ๑๗.๐๐ - ๑๘.๓๐ น. ออกเดินทางเข้าสู่ที่พัก โรงแรมโฆษะ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เวลา ๑๘.๓๐ - ๒๑.๐๐ น.๑ ช รับประทานอาหารมื้อเย็น กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์และกิจกรรมต้อนรับ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานขอนแก่น เวลา ๒๑.๐๐ น. พักผ่อนตามอัธยาศัย วันศุกร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เวลา ๐๖.๐๐ - ๐๗.๓๐ น. รับประทานอาหารมื้อเช้า ณ โรงแรมที่พัก เวลา ๐๗.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. ออกเดินทางไปยังบ่อเกลือเวียงเก่า ตั้งอยู่ที่บ้านบ่อ ตำบลเขาน้อย อำเภอเวียงเก่า เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คณะศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “การบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวที่มีต้นทุนอัตลักษณ์จากธรรมชาติ” การจัดการท่องเที่ยวชุมชนบ่อเกลืออำเภอเวียงเก่า เกลือสินเธาว์ที่มีอายุสมัยไดโนเสาร์ พร้อมชมชุมชนทอผ้าฝ้ายธรณิน ๑๓๐ ล้านปี โดย วิทยากรท้องถิ่น จำนวน ๒ คน ๑. นางละมุน ชารีขันธ์ ๒. นางสาวชนิดาภา หล้ามูลชา เวลา ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารมื้อกลางวัน ณ ชุมชนบ่อเกลือ อำเภอเวียงเก่า เวลา ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. ออกเดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. คณะศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “การบริหารจัดการเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงสถานที่ประวัติศาสตร์” ณ ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ และอุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น โดย วิทยากร จำนวน ๒ คน ๑. นายปรีชา ซ้ายหนองขาม ๒. นางสาวยลธิดา เหล่าธรรม เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. ออกเดินทางกลับโรงแรมที่พัก เวลา ๑๘.๐๐ - ๑๙.๓๐ น. รับประทานอาหารมื้อเย็น เวลา ๑๙.๐๐ น. พักผ่อนตามอัธยาศัย วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ เวลา ๐๗.๐๐ - ๐๘.๐๐ น. รับประทานอาหารมื้อเช้า ณ โรงแรมที่พัก เวลา ๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐ น. ออกเดินทางไปยังวัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ยังสู่หมู่บ้านเต่า เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. คณะศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “ศาสนสถาน ประวัติศาสตร์เมือง กับการท่องเที่ยววิถีชุมชน” ณ วัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดย วิทยากร จำนวน ๒ คน ๑. นายพัฒนา ซาตา ๒. นางเพชรดา ศรชัยไพศาล พร้อมด้วยท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดขอนแก่นให้การต้อนรับ เวลา ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารมื้อกลางวัน เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. คณะเยี่ยมชมเรือนไม้โบราณ 26 อำเภอ พร้อมสักการะพระธาตุสิโรดม ณ ลานวัฒนธรรม หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เวลา ๑๔.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ออกเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร เวลา ๒๐.๐๐ น. ถึงกรุงเทพมหานคร โดยสวัสดิภาพ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2566 เวลา 09.00 น. นายสิงห์ ลิ้มพิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว กลุ่มเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องปิ่นเกล้า1 โรงแรมรอยัล ซิตี้ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนางสาวเยาวลักษณ์ พิมพะนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว นางสาวอมรรัตน์ นาคสุข หัวหน้ากลุ่มงานแผนการท่องเที่ยวและนางสาวปัทมนันท์ ธนาพรประดิษฐ์ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว ส่วนการท่องเที่ยว จากนั้นวันที่ 28-30 มกราคม 2566 นำผู้เข้าร่วมโครงการฯ ศึกษาดูงาน ณ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร ให้ได้รับความรู้และประสบการณ์ สามารถสร้างชุมชนในกรุงเทพมหานครเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์) ในการ "ดึงอัตลักษณ์ สร้างเศรษฐกิจ ๕๐ ย่านทั่วกรุงเทพมหานคร" โดยมีรายละเอียดกำหนดการการอบรมศึกษาดูงาน โครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว กลุ่มเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง วันศุกร์ที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖ (แบบไป - กลับ) ณ โรงแรมรอยัล ซิตี้ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร และ ระหว่างวันเสาร์ที่ ๒๘ - วันจันทร์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๖ (แบบพักค้าง) จำนวน ๓ วัน ๒ คืน ณ จังหวัดนครราชสีมา วันศุกร์ที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๐๐ - ๐๘.๓๐ น. ลงทะเบียน ณ ห้องปิ่นเกล้า ๑ โรงแรมรอยัล ซิตี้ ชั้น ๙ เวลา ๐๘.๓๐ - ๐๙.๐๐น. พิธีเปิดโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐น. การอภิปราย หัวข้อ “การจัดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน” โดย วิทยากร จำนวน ๒ คน ๑. รองศาสตราจารย์ ดร.ฑีรัตม์ พิริยะพลิน ๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อำนาจ เอี่ยมสำอางค์ เวลา ๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารมื้อกลางวัน เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. การอภิปราย หัวข้อ “การดึงอัตลักษณ์ พลิกวิธีคิด สร้างเศรษฐกิจชุมชน” โดย วิทยากร จำนวน ๒ คน ๑. รองศาสตราจารย์ ดร. พีรดร แก้วลาย ๒. นางเพชรดา ศรชัยไพศาล เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. สรุปกิจกรรม / นัดหมายการศึกษาดูงานจังหวัดนครราชสิมา กำหนดการการอบรมศึกษาดูงาน โครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว กลุ่มเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันเสาร์ที่ ๒๘ - วันจันทร์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๖ แบบพักค้าง จำนวน ๓ วัน ๒ คืน ณ จังหวัดนครราชสีมา วันเสาร์ที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐5.3๐ - ๐๖.0๐ น. ลงทะเบียน ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ๑ (เสาชิงช้า) เวลา ๐๖.0๐ - 09.3๐ น. ออกเดินทางไปยังชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเต่าพัฒนา ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา รับประทานอาหารมื้อเช้าบนรถยนต์โดยสารปรับอากาศ ๔๐ ที่นั่ง เวลา 09.3๐ - ๑2.3๐ น. แบ่งกลุ่มอบรมศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “การบริหารจัดการชุมชนท่องเที่ยวในดงทรัพยากรธรรมชาติ” ณ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเต่าพัฒนา ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดย วิทยากรท้องถิ่น จำนวน ๒ คน ๑. นายปวรุตม์ ศิริลาภ ๒. ว่าที่ร้อยตรีณรงค์ วงษ์ระหงษ์ เวลา ๑2.3๐ - ๑๓.๓๐ น. รับประทานอาหารมื้อกลางวัน ณ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านถ้ำเต่าพัฒนา เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๔.๓๐ น. ออกเดินทางไปยังบ้านพันดุง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา เวลา ๑๔.๓๐ - ๑๗.๓๐ น. แบ่งกลุ่มอบรมศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “กำหนดจุดปักหมุดเส้นทางท่องเที่ยว เชิงภูมิศาสตร์ในพื้นที่โคราชจีโอพาร์ค กรณีศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ Wellness Tourism” ณ ศูนย์การเรียนรู้โคราชจีโอพาร์ค “เกลือสินเธาว์พันดุง” บ้านพันดุง อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา โดย วิทยากรท้องถิ่น จำนวน ๒ คน ๑. นางสุภาพ ขุนสันเทียะ ๒. นางมาลัย งัดสันเทียะ เวลา ๑๗.๓๐ – ๑๘.๐๐ น. เดินทางเข้าสู่ที่พัก ณ โรงแรมดิอิมพีเรียล จังหวัดนครราชสีมา เวลา ๑๘.๐๐ – 19.๐๐ น. รับประทานอาหารมื้อเย็น ณ โรงแรมดิอิมพีเรียล จังหวัดนครราชสีมา พักผ่อนตามอัธยาศัย วันอาทิตย์ที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๗.๐๐ - ๐๘.๐๐ น. รับประทานอาหารมื้อเช้า ณ โรงแรมดิอิมพีเรียล (เก็บสัมภาระเพื่อเปลี่ยนโรงแรมที่พัก) เวลา ๐๘.๐๐ – ๐๙.๐๐ น. ออกเดินทางไปยังแหล่งโบราณคดีชุมชนบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง เวลา ๐๙.๐๐ – ๑2.๐๐ น. แบ่งกลุ่มอบรมศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “การบริหารจัดการเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงสถานที่ประวัติศาสตร์” ณ แหล่งโบราณคดี ๓๕๐๐ ปี บ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา โดยวิทยากรท้องถิ่น จำนวน ๒ คน ๑. นายเทียม ละอองกลาง ๒. นายจรัญ จอมกลาง เวลา ๑2.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารมื้อกลางวัน ณ ชุมชนบ้านปราสาท เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๔.๐๐ น. ออกเดินทางไปยังอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เวลา 14.00 - ๑๖.๐๐ น. เข้าที่พัก ณ โรงแรมพิมายพาราไดส์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พักผ่อนตามอัธยาศัย เวลา 16.00 - ๑7.๐๐ น. ลงทะเบียนเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อ.พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ชมตลาดย้อนยุคพิมายพันปี รับการต้อนรับตามประเพณีจากชาวอำเภอพิมาย และจากการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย สำนักงานนครราชสีมา ยุวมัคคุเทศก์โรงเรียนพิมายวิทยา นำชมอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เวลา 17.00 - ๑๘.3๐ น. รับประทานอาหารมื้อเย็น ณ บริเวณลานด้านนอกอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เวลา 18.30 - 20.๓0 น. เข้าสู่ที่นั่งชมกิจกรรมชมการแสดงแสง สี เสียง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย พิธีกรกล่าวแนะนำประธานฯ คณะศึกษาดูงานฯและแขกผู้มีเกียรติ ประธานในพิธีฯ กล่าวต้อนรับคณะศึกษาดูงานฯและแขกผู้มีเกียรติ ชมการแสดงประกอบ แสง สี เสียง Mini light & sound Phimai และการแสดงเชิงวัฒนธรรม โดยนักเรียนโรงเรียนพิมายวิทยา ประธานในพิธีฯ และผู้แทนกรุงเทพมหานคร ถ่ายภาพร่วมกัน เสร็จสิ้นกิจกรรม เวลา 20.๓๐ น. กลับที่พัก ณ โรงแรมพิมายพาราไดส์ จังหวัดนครราชสีมา พักผ่อนตามอัธยาศัย วันจันทร์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๖.๓๐ - ๐๗.๓๐ น. รับประทานอาหารมื้อเช้า ณ โรงแรมพิมายพาราไดส์ จังหวัดนครราชสีมา เวลา ๐๗.๓๐ - ๐๘.๐๐ น. ออกเดินทางไปยังชุมชนบ้านพะงาด ตำบลขามสมบูรณ์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๑.๐๐ น. แบ่งกลุ่มอบรมศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “การบริหารจัดการชุมชน เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่สะท้อน อัตลักษณ์ท้องถิ่น” ณ ชุมชนแหล่งผลิตผ้าไหม“อารยธรรมไหมไทยโคราช” ชุมชนบ้านพะงาด ตำบลขามสมบูรณ์ อำเภอคง โดย วิทยากรท้องถิ่น จำนวน ๑ คน (นางสาวเกศสุดา ภักดีแก้ว) เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๓๐ น. ออกเดินทางไปยังวัดบ้านเมืองคง ตำบลคูขาด อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เวลา ๑1.3๐ - ๑2.3๐ น. รับประทานอาหารมื้อกลางวัน ณ วัดบ้านเมืองคง ตำบลคูขาด อำเภอคงก สักการะพระพุทธศรีศากยะนครคง วัดบ้านเมืองคง เวลา 12.30 - 13.00 น. ออกเดินทางไปยัง ตำบลบ้านปรางค์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. แบ่งกลุ่มอบรมศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมผ่านนักเล่าเรื่องท้องถิ่น” ณ ตำบลบ้านปรางค์ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา โดย วิทยากรนักเล่าเรื่องท้องถิ่น จำนวน ๑ คน (นายศิริวัฒน์ วราธนาวิชญ์) เวลา ๑๖.๐๐ น. ออกเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร เวลา ๒๑.๐๐ น. ถึงกรุงเทพมหานคร โดยสวัสดิภาพ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-01-31)
31/01/2566 : 1. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ได้โปรดพิจารณาอนุมัติให้บุคคลภายนอก กลุ่มเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๗๒ คน 2. อนุมัติและลงนามในคำสั่งให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ กลุ่มบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๗๐ คน เข้าร่วมการฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว สำเนาคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๒๑๒/๒๕๖๖ ลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๖ รายละเอียดตามหนังสือสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ด่วนที่สุด ที่ กท ๑๒๐๗/๐๑๓๖ ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๖
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-01)
01/12/2565 : ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ได้โปรดอนุมัติดำเนินการและอนุมัติประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดกิจกรรมอบรมศึกษาดูงาน ให้แก่บุคลากรการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร จำนวน ๒ กลุ่ม รายละเอียด ดังนี้ ๑. กลุ่มเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๘๐ คน (ผู้เข้าอบรม ๗๒ คน และเจ้าหน้าที่ ๘ คน) กำหนดการอบรมแบบไป - กลับ จำนวน ๑ วัน ณ โรงแรมเอกชนหรือสถานที่ฝึกอบรมในกรุงเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๖๖ และกำหนดการอบรมศึกษาดูงาน แบบพักค้าง จำนวน ๓ วัน ๒ คืน ณ จังหวัดนครราชสีมา ในวันเสาร์ที่ ๒๘ - วันจันทร์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๖ โดยมีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๔๒๗,๘๐๐.- บาท (สี่แสนสองหมื่นเจ็ดพันแปดร้อยบาทถ้วน) ๒. กลุ่มบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๘๐ คน (ผู้เข้าอบรม ๗๐ คน และเจ้าหน้าที่ ๑๐ คน) กำหนดการอบรมแบบไป - กลับ จำนวน ๑ วัน ณ โรงแรมเอกชนหรือสถานที่ฝึกอบรมในกรุงเทพมหานคร ในวันพุธที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ และกำหนดการอบรมศึกษาดูงานแบบพักค้าง ณ จังหวัดขอนแก่น ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ - วันเสาร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ โดยมีค่าใช้จ่ายเป็นเงิน ๔๓๕,๘๐๐.- (สี่แสนสามหมื่นห้าพันแปดร้อยบาทถ้วน) โดยมีรายการค่าใช้จ่ายค่าวัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการดำเนินการตามโครงการฯ จำนวน ๘ รายการ เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐.- บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) รายละเอียดตามหนังสือกลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว ที่ ๐๑๖๓ /๒๕๖๕ ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-31)
31/12/2565 : อยู่ระหว่างเตรียมการเพื่อจะจัดสัมมนาโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 6661_ร้อยละของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครผ่านเกณฑ์การอบรมตามที่กำหนดระบบออนไลน์และ/หรือออฟไลน์
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 99.27
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **