ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองการสังคีต
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
"เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป" พระปฐมบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 บทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นบทเพลงที่มีลักษณะทางดนตรีที่มีความหลากหลาย เช่น ในรูปแบบดนตรีแจ๊ส ดนตรีคลาสสิก รูปแบบเพลงมาร์ชเพลงปลุกใจ เนื้อเพลงพระราชนิพนธ์ยังสะท้อนคุณค่าด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น คุณค่าด้านการจรรโลงใจเกี่ยวกับความเชื่อของคนไทย คุณค่าของความรัก คุณค่าด้านสุนทรียรสที่เกิดจากธรรมชาติและอารมณ์ของมนุษย์ คุณค่าด้านความเข้าใจปรัชญาชีวิต ให้ความหวังและกำลังใจ คุณค่าด้านการสะท้อนอุดมคติให้รักชาติและจงรักภักดีต่อสถาบัน ซึ่งผู้ที่จะขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์จะต้องศึกษารายละเอียดทั้งทางด้านดนตรีและด้านเนื้อหาให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ กองการสังคีต ตระหนักถึงคุณค่าของบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีความงดงามทั้งด้านดุริยศิลป์และวรรณศิลป์ จึงมีแนวคิดในจัดกิจกรรมการประกวดขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อน้อมรำลึกถึงพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีของพระองค์ท่านในฐานะองค์อัครศิลปิน ผู้เข้าร่วมการประกวดจะได้เรียนรู้การขับร้องเพลงที่ถูกต้องและมีคุณภาพผ่านการขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอดให้บทเพลงพระราชนิพนธ์ให้เป็นที่รู้จักของปวงชนชาวไทย และชาวต่างประเทศ ดังพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อไป
23060000/23060000
2.1 เพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี 2.2 เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้ตระหนักถึงคุณค่า รู้จักและร่วมสืบสานบทเพลงพระราชนิพนธ์อย่างแพร่หลาย พร้อมทั้งแสดงความสามารถของตนเองในทางสร้างสรรค์ 2.3 เพื่อใช้ดนตรีเป็นสื่อกลางในการสร้างจิตสำนึกที่ดี รักชาติ รักสถาบันให้แก่เยาวชนไทย
จัดการประกวดขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จำนวน 1 ครั้ง โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 3 ระดับ คือ - ระดับประถมศึกษา อายุไม่เกิน 13 ปี - ระดับมัธยมศึกษา อายุไม่เกิน 19 ปี - ระดับเยาวชนทั่วไป อายุระหว่าง 19 - 25 ปี
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-30)
30/08/2566 : คณะกรรมการตรวจรับ ดำเนินการตรวจรับงานเรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-25)
25/07/2566 : 23 กรกฎาคม 2566 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มอบหมาย นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานกิจกรรมการประกวดขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2566 รอบชิงชนะเลิศ ณ โรงมหรสพหลวง ศาลาเฉลิมกรุง เขตพระนคร ผลการประกวดขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ในแต่ละระดับชั้นมีดังนี้ 1. ระดับประถมศึกษา - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ด.ญ.ภัตนก ทิพย์ธราดล โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ด.ญ.ภาวิดา พรวัฒนานุกูล โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ด.ช.บารมี มีมอญ โรงเรียนบางบัวทองราษฎร์บำรุง - รางวัลชมเชย ได้แก่ ด.ช กษิดิ์เดช ผลทรัพย์ โรงเรียนบ้านแหลมหอย และด.ญ.พีราดา พรรณพญา โรงเรียนเทศบาล 4 เฉลิมพระเกียรติ 2. ระดับมัธยมศึกษา - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ น.ส.ศวิตา สุบรรณน้อย โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านมลายูบางกอก) - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ น.ส.เปมิกา เงินส่งเสริม โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายชลธาร เซ็นเชาวนิช โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา - รางวัลชมเชย ได้แก่ น.ส.วรรณิดา ตันตะราวงศา โรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา” และน.ส.พิมพ์รพี พูลทวี โรงเรียนเตรียมอุดมดนตรีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3. ระดับอุดมศึกษา - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ น.ส.พิมพ์วลัญช์ ดุษฎีปรีชา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ น.ส.ชินานาฎ ทานงาม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายราชศักดิ์ ต่วนเครือ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ - รางวัลชมเชย ได้แก่ น.ส.กมลพร สันธนากร วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และน.ส.พิชชาภา ชนาพรรณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-06-23)
12 มิ.ย. 66 ปิดรับสมัครผู้เข้าประกวด ได้มีผู้สมัครทั้งสิ้น 461 คน แบ่งเป็น - ระดับประถมศึกษา 118 คน - ระดับมัธยมศึกษา 267 คน - ระดับอุดมศึกษา 76 คน 19 มิ.ย. 66 จัดการประกวดรอบคัดเลือก (Demo) ที่ชั้น 19อาคารธานีนพรัตน์ 23 มิ.ย. 66 ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ จำนวนทั้งสิ้น ระดับละ 10 คน 29 มิ.ย. 66 จัดทำการประกวดรอบรองชนะเลิศ ณ ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1 อาคารหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-05-29)
29/05/2566 :- 8 พ.ค.66 ได้ผู้รับจ้างคือบริษัทแอคซิด ดิจิตอล จำกัด - 19 พ.ค.66 จัดงานแถลงข่าวที่ห้องเอนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีท่านสมบูรณ์ หอมนาน เป็นประธานการแถลงข่าว - 19 พ.ค.66 - 9 มิ.ย. 66 เปิดรับสมัครผู้เข้าประกวด - กำลังดำเนินการทำหนังสือติดต่อบริษัทลิขสิทธิ์ดนตรี เพื่อขออนุญาตสิทธิ์เผยแพร่ต่อสาธารณชน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-04-21)
21/04/2566 : ไม่มีผู้มายื่นเสนอราคา ขออนุมัติยกเลิกประกาศจัดจ้างเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566 อยู่ระหว่างจัดทำประกาศจัดจ้างครั้งที่ 2 - กำหนดการเผยแพร่ประกาศเชิญชวนเอกชนเสนอราคาวันที่ 18 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2566 - กำหนดการเสนอราคา วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00 -16.00 น.
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-03-27)
27/03/2566 : อยู่ระหว่างทำหนังสือขอถ้วยพระราชทานและดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-02-23)
23/02/2566 : อยู่ระหว่างคณะกรรมการกำหนด TOR ปรับเปลี่ยนรายละเอียดค่าใช้จ่าย ลดค่าใช้จ่ายส่วนที่ไม่จำเป็น เพิ่มค่าใช้จ่ายในส่วนของรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจผู้ผ่านเข้ารองรองชนะเลิศให้เหมาะสม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-01-11)
11/01/2566 : -ดำเนินการแต่งตั้งคณะทำงานและคณะกรรมการ กำหนดรายละเอียดและประมาณการค่าใช้จ่ายและขั้นตอนการดำเนินงาน -จัดทำรายละเอียดข้อกำหนดและประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม -คณะกรรมการประชุมและพิจารณาขอปรับแก้โครงการและประมาณการโดยเพิ่มเงินรางวัลให้แก่ผู้เข้ารอบรองชนะเลิศ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 66_ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวดำเนินการสำเร็จตามที่เป้าหมายกำหนด
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 76.47
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **