ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพนักเล่าเรื่องท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร : 23000000-6672

สํานักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

นางสาวสุชาดา นันทะโสม

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยและของภูมิภาค มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน มีศิลปวัฒนธรรม ประเพณี รวมทั้งวิถีชีวิตที่หลากหลาย เป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การคมนาคม เทคโนโลยี แหล่งเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้คือต้นทุนทางวัฒนธรรม ส่งผลให้เกิดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในทุกพื้นที่ของประเทศ นักเดินทางภายในประเทศและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่เดินทางมาเยือนกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน แหล่งท่องเที่ยวภูมิปัญญา แหล่งท่องเที่ยววิถีท้องถิ่น โดยแต่ละที่ต่างมีเอกลักษณ์มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว และแต่ละแหล่งจะมีบุคลากรในท้องถิ่นซึ่งเป็นบุคคลสำคัญ ซึ่งเป็นคนในท้องถิ่น คนในชุมชน คนในพื้นที่ คนในพื้นที่ใกล้เคียง หรือคนนอกพื้นที่ ที่สามารถเป็นผู้ถ่ายทอดความเป็นมาของท้องถิ่น บอกเล่าเหตุการณ์ ตำนาน นิทาน บทเพลง บทกวี ความเป็นพื้นถิ่น พื้นบ้าน หรือเรื่องราวในอดีตจนปัจจุบันของท้องถิ่น แลกเปลี่ยนข้อมูล ถามตอบเหตุการณ์สำคัญของพื้นที่ สามารถนำเสนอภาพเก่าเล่าเรื่อง ประวัติศาสตร์ความรู้ ทั้งทางวิชาการ หรือความระลึกถึงอดีตได้อย่างเป็นธรรมชาติ ได้อย่างสนุกสนาน มีความสัมพันธ์กับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว บอกเล่าความสัมพันธ์ของคนในพื้นที่และย่านแหล่งท่องเที่ยวได้น่าน่าสนใจ นักเล่าเรื่องท้องถิ่น สามารถเป็นได้ทั้ง ครูภูมิปัญญา ผู้เฒ่าผู้แก่ผู้อาวุโส เจ้าของบ้านเก่า พิพิธภัณฑ์ชุมชน พระคุณเจ้า ปราชญ์ชุมชน ผู้นำทางศาสนา เจ้าของกิจการ/เถ้าแก่ คนทำขนมโบราณ เกษตรกร นักดนตรี คนพายเรือ นายท้ายเรือ ไกด์ท้องถิ่น นักสะสม บ้านโบราณ ร้านหัตถกรรม ผู้นำชุมชน ผู้ริเริ่มการท่องเที่ยวในท้องถิ่น นักเล่าเรื่องกลุ่มเด็กเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่เสมือนบันทึกตำนานประวัติศาสตร์ไว้ พร้อมที่จะถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ให้คนทั่วไปหรือนักท่องเที่ยวได้รับรู้และตระหนักถึงคุณค่าวัฒนธรรมชุมชน บุคคลสำคัญในพื้นที่ชุมชนนี้ถูกนิยามเรียกว่า “นักเล่าเรื่องท้องถิ่น” ซึ่งสมควรที่จะได้เป็นหนึ่งในวิชาชีพที่ได้รับการยกย่อง เชิดชูคุณค่าและ ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่และได้รับข้อมูลจากสำนักงานเขต พบว่า ในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครมีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ที่มีประสบการณ์ชีวิต สามารถเป็นนักเล่าเรื่องท้องถิ่นได้ ทั้งประชาชน ผู้สูงวัย รวมถึงกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ แต่บางท่านยังขาดทักษะในการเล่าเรื่อง การสื่อสาร การแนะนำความสำคัญของท้องถิ่น การเชื้อเชิญการชักชวนให้เรียนรู้สิ่งที่น่าสนใจ รวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยว การดึงสมรรถนะ การดึงศักยภาพที่จำเป็น เพื่อให้การเล่าเรื่องในแหล่งท่องเที่ยวตนเองได้มีอรรถรสได้อย่างน่าสนใจ สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ได้พิจารณาจัดทำโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพนักเล่าเรื่องท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเล็งเห็นว่าอาชีพ “นักเล่าเรื่องท้องถิ่น”เป็นกลไกสำคัญของภาคประชาชนที่จะยังคงอยู่คู่กับแหล่งท่องเที่ยว จึงเห็นควรพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มพูนวิสัยทัศน์ ความรู้ ความเข้าใจ ด้านการพัฒนาทักษะการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวการพัฒนาสรรถนะดึงศักยภาพนักเล่าเรื่องท้องถิ่นให้เป็นบุคลากรที่สำคัญต่อแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร นำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนต่อไป

23070000/23070000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๒.๑ เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถเพิ่มสมรรถนะบุคลากรด้านการท่องเที่ยวภาคประชาชน ให้เป็นนักเล่าเรื่องท้องถิ่นแบบมืออาชีพ ๒.๒ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนอาชีพนักเล่าเรื่องท้องถิ่น จากเครือข่ายภาคประชาชนให้ตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยววิถีถิ่นของตน ให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจ ความมั่นใจในการถ่ายทอดวัฒนธรรมในชุมชน ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ในแหล่งท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร ๒.๓ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยวชุมชน สร้างงาน กระจายรายได้สู่ชุมชน

เป้าหมายของโครงการ

พัฒนาศักยภาพนักเล่าเรื่องท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นบุคลากรด้านการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครท้องถิ่นภาคประชาชน ให้มีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของการเป็นนักเล่าเรื่องท้องถิ่น สามารถนำแนวทางไปเพิ่มพูนทักษะการเล่าเรื่องในแหล่งท่องเที่ยวที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น รวมถึงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเพณีไทย และวิถีชีวิตในชุมชน จากผู้แทนนักเล่าเรื่องท้องถิ่นทั้ง ๕๐ สำนักงานเขต จำนวน ๒ รุ่น ได้แก่ (๑) กลุ่มเครือข่ายนักเล่าเรื่องท้องถิ่นรุ่นเยาวชน ๗๒ คน รวมเจ้าหน้าที่ ๘ คน รวมเป็น ๘๐ คน (๒)กลุ่มเครือข่ายนักเล่าเรื่องท้องถิ่นรุ่นประชาชนทั่วไป ๗๒ คน รวมเจ้าหน้าที่ ๘ คน รวมเป็น ๘๐ คน โดยเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในลักษณะการอบรมเชิงปฏิบัติการ ณ โรงแรมหรือสถานที่อบรมในกรุงเทพมหานคร จำนวน รุ่นละ ๑ วัน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-03-27)

100.00

โครงการพัฒนาศักยภาพนักเล่าเรื่องท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร งบประมาณ ๑๑๐,๘๐๐ บาท ใช้งบประมาณดำเนินการ จำนวน ๙๔,๙๕๐.- บาท กลุ่มเครือข่ายนักเล่าเรื่องท้องถิ่นรุ่นประชาชนทั่วไป จำนวนบุคลากรเข้ารับการอบรมค่าเป้าหมายตามโครงการ ๗๒ คน จำนวนบุคลากรเข้ารับการอบรมครบทั้งหลักสูตร ๖๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๔.๔๔ งบประมาณที่ใช้ไป ๓๔,๒๐๐.- บาท มีเงินเหลือจ่าย ๑,๘๐๐.- บาท กลุ่มเครือข่ายนักเล่าเรื่องท้องถิ่นรุ่นเยาวชน จำนวนบุคลากรเข้ารับการอบรมค่าเป้าหมายตามโครงการ ๗๒ คน จำนวนบุคลากรเข้ารับการอบรมครบทั้งหลักสูตร ๖๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๗.๕ งบประมาณที่ใช้ไป ๓๑,๙๕๐.- บาท มีเงินเหลือจ่าย ๔,๐๕๐.- บาท ค่าวัสดุ ๑๐,๐๐๐.- บาท ค่าสมนาคุณวิทยากร ๒๘,๘๐๐.- บาท การติดตามประเมินผลโครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ ตัวชี้วัด ร้อยละของผู้ที่เข้าอบรมฯ มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการเล่าเรื่องผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ค่าเป้าหมาย ร้อยละ ๗๐ ของผู้เข้ารับการอบรมฯ ประเภทตัวชี้วัด ผลลัพธ์ วิธีการคำนวณ/เครื่องมือในการวัด จำนวนร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมฯ ที่ผ่านเกณฑ์/ใช้แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ ระยะเวลา ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-03-02)

100.00

02/03/2566 : วันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2566 เวลา 08.30 น. ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว มอบหมายนายสิงห์ ลิ้มพิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพนักเล่าเรื่องท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ณ ห้องประชุมปิ่นเกล้า โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนางสาวเยาวลักษณ์ พิมพะนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ ให้กับกลุ่มเครือข่ายนักเล่าเรื่องท้องถิ่นภาคประชาชน ให้เป็นนักเล่าเรื่องท้องถิ่นแบบมืออาชีพ สร้างอาชีพนักเล่าเรื่องท้องถิ่นให้กับคนในชุมชน สร้างความรัก ความภาคภูมิใจ ความมั่นใจในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร และตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์) ในการ “ดึงอัตลักษณ์ สร้างเศรษฐกิจ ๕๐ ย่าน ทั่วกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ที่จะถ่ายทอดได้ดีคือนักเล่าเรื่องท้องถิ่น นโยบายฯดังกล่าว จะทำให้กรุงเทพมหานครเดินหน้าและพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่เป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วนในกรุงเทพมหานคร อันได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมทั้งองค์กรต่างๆ และในวันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2566 เวลา 08.30 น. นางสาวเยาวลักษณ์ พิมพะนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพนักเล่าเรื่องท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร กลุ่มเครือข่ายนักเล่าเรื่องท้องถิ่นรุ่นเยาวชน ณ ห้องประชุมปิ่นเกล้า โรงแรมเอส.ดี.อเวนิว เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร พร้อมนางสาวปัทมนันท์ ธนาพรประดิษฐ์ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว ส่วนการท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ ให้กับกลุ่มเยาวชน ให้เป็นนักเล่าเรื่องท้องถิ่นแบบมืออาชีพ สร้างอาชีพนักเล่าเรื่องท้องถิ่นให้กับคนในชุมชน สร้างความรัก ความภาคภูมิใจ ความมั่นใจในการถ่ายทอดวัฒนธรรมในชุมชนที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ในแหล่งท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร และตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์) ในการ “ดึงอัตลักษณ์ สร้างเศรษฐกิจ ๕๐ ย่าน ทั่วกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ที่จะถ่ายทอดได้ดีคือนักเล่าเรื่องท้องถิ่น นโยบายฯดังกล่าว จะทำให้กรุงเทพมหานครเดินหน้าและพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่เป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วนในกรุงเทพมหานคร อันได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมทั้งองค์กรต่างๆ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-02-28)

85.00

28/02/2566 : จัดกิจกรรม​นักเล่าเรื่อง​ท้องถิ่น​ ทั้ง2​ รุ่น​ เสร็จเรียบร้อย​

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-01-31)

70.00

31/01/2566 : กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยวได้ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักเล่าเรื่องท้องถิ่นกรุงเทพมหานครแล้วเสร็จ จำนวน ๒ รุ่น ดังนี้ ๑. รุ่นประชาชนทั่วไป เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๖ ผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งสิ้น ๖๘ คน ๒ รุ่นเยาวชน เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๖ ผู้เข้าร่วมการอบรมทั้งสิ้น ๖๓ คน ขณะนี้อยู่ระหว่างการชดใช้เงินยืม และการสรุปผลการดำเนินโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:เตรียมการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-07-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-07-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:จัดทำแผนงาน
:10.00%
เริ่มต้น :2022-07-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-07-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ดำเนินการ
:70.00%
เริ่มต้น :2022-07-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-07-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:สรุป รายงานผล
:10.00%
เริ่มต้น :2022-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 23000000-6672

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 23000000-6672

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 2300-930

ตัวชี้วัด : 6662_ร้อยละของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวนอกสังกัดกรุงเทพมหานครผ่านเกณฑ์การอบรมตามที่กำหนดระบบออนไลน์และ/หรือออฟไลน์

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 90.9

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
90.90

0 / 0
3
90.90

0 / 0
4
90.90

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **