ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร : 23000000-6683

สํานักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว : (2566)

60

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 60

นางสาวภัทร์นรี แย้มประดิษฐ์ โทร. 0 2225 7616

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสังคมของประเทศ และในฐานะเมืองหลวง กรุงเทพมหานครมีความสำคัญในฐานะพื้นที่แห่งประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมที่พัฒนาการมาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน รากฐานทางวัฒนธรรม ถือเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างมาก เป็นรากฐานของการเกิดย่านชุมชนเมือง ซึ่งกรุงเทพมหานคร ถือว่าเป็นเมืองที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรมสูง มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ความเชื่อ ศาสนา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก่อให้เกิดการสร้างวัฒนธรรม ประเพณี และงานศิลปกรรม ทั้งที่เป็นรากเหง้าเดิมและการประยุกต์จากพื้นที่ต่างถิ่น จึงเป็นที่ยอมรับว่าเป็นอู่แห่งศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของโลก ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์) มีนโยบายในการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองน่าอยู่ของทุกคน ภายใต้นโยบาย “กรุงเทพฯ 9 ดี 214 นโยบาย” หนึ่งในนโยบายสำคัญคือ ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นในการทำกรุงเทพฯ ให้ถูกลง สร้างโอกาส สร้างรายได้ ขยายศักยภาพเศรษฐกิจเมือง ทั้งนี้ ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศไทย ประกอบด้วย 15 สาขา คือ งานฝีมือและหัตถกรรม ดนตรี ศิลปะการแสดง ทัศนศิลป์ ภาพยนตร์ การแพร่ภาพและกระจายเสียง การพิมพ์ ซอฟต์แวร์ การโฆษณา การออกแบบ การให้บริการด้านสถาปัตยกรรม แฟชั่น อาหารไทย การแพทย์แผนไทย และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับการขับเคลื่อนนโยบายด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนงานด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีนโยบายที่เกี่ยวข้อง อาทิ ขยายโอกาส ขยายช่องทางให้กับสินค้าสร้างสรรค์กรุงเทพฯ (MIB: Made in Bangkok) ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (curative economy) ผลักดัน Hi-Tech และ Hi-Touch กรุงเทพฯ พื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง (สตรีทโชว์) อัตลักษณ์สร้างเศรษฐกิจ 50 ย่านทั่วกรุงเทพฯ 12 เทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพฯ เป็นต้น เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีกรอบแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม และสามารถต่อยอดในการส่งเสริมกิจกรรม โครงการด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เจริญเติบโต และค้นหาเรื่องราวอันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของพื้นที่ในกรุงเทพมหานครให้เกิดพลังและสร้างสรรค์ให้ประชาชนเห็นคุณค่า เพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองที่มีชีวิต นำสู่การเรียนรู้ การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจเมืองและชุมชนได้ในอนาคต สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว จึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

23070000/23070000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน 2.2 เพื่อสำรวจและกำหนดรูปแบบโครงการ ของงานพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ที่มีศักยภาพและมีความจำเป็นเร่งด่วน 2.3 เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการของกรุงเทพมหานครในมิติด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยอาศัยการร่วมมือระหว่างองค์กรเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อการพัฒนาเครื่องมือ มาตรการ และนวัตกรรมเพื่อการสร้างโอกาส ต่อยอดเศรษฐกิจชุมชน และผู้ประกอบการ ให้มีความทันสมัยและทันต่อสถานการณ์ของการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครในอนาคต

เป้าหมายของโครงการ

ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาที่มีความรู้ความสามารถจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร ดังนี้ 3.1 ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายและยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานคร กับแผนและยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย 3.2 ศึกษาเพื่อกำหนดพื้นที่ศึกษาเชิงลึก และการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม 3.3 จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-09-27)

60.00

27/09/2566 : 1. ที่ปรึกษาโครงการฯ ส่งมอบงานงวดที่ 1 ตามหนังสือ รายงานความก้าวหน้า (Progress Report) การดำเนินงานโครงการฯ ตามหนังสือบริษัท เอฟฟินิตี้ จำกัด เลขที่ 2566/040 ลงวันที่ 13 กันยายน 2566 ให้ผู้ว่าจ้างเรียบร้อยแล้ว ในแบบรูปเล่มจำนวนรวมทั้งหมด 5 เล่ม และไฟล์ดิจิทัลรูปแบบไฟล์ Word และ PDF พร้อมบันทึกไฟล์ดิจิทัลลงสื่อบันทึกข้อมูล โดยครอบคลุมเนื้อหาสาระในส่วนที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1.1 เนื้อหาการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายและยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครกับแผนและยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับประเทศ 1.2 เนื้อหาการรวบรวมและศึกษา วิเคราะห์ นโยบายยุทธศาสตร์ โครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กทม. และประเทศไทย และสรุปแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 1.3 เนื้อหาดำเนินการกระบวนการมีส่วนร่วม (Co-Creation) และการเก็บข้อมูลในพื้นที่ พร้อมสรุปรายงานการดำเนินการ จำนวน 6 พื้นที่ ได้แก่ เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตคลองสาน เขตบางรัก เขตจตุจักร เขตภาษีเจริญ โดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุฯ ได้พร้อมกันตรวจรับพัสดุงวดงานที่ ตามสัญญาจ้างครบถ้วนถูกต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของข้อกำหนดในสัญญาทุกประการ 2. อยู่ระหว่างการจัดทำร่างแผนเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานครฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) ทั้งนี้การดำเนินการโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร มีข้อตกลงว่าจ้าง ตามสัญญาเลขที่ สธท. 22-24-66 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2566 โดยกำหนดว่าที่ปรึกษาจะต้องเริ่มลงมือทำงานภายในวันที่ 16 มิถุนายน 2566 และจะต้องดำเนินการตามสัญญานี้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566 โดยมีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ซึ่งการดำเนินการคงเหลือที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จตามสัญญา ประกอบด้วย 1. การจัดทำร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานครฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) 2. การจัดการประชุมสัมมนาเผยแพร่ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร ผู้แทนจากหน่วยงานภายนอก ภาคเอกชน และผู้แทนภาคประชาสังคม และการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ จำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมจำนวนไม่น้อยกว่า 120 คน 3. จัดทำรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ฉบับปรับปรุงจากการสรุปผลการประชุมสัมมนาเผยแพร่ร่างแผนฯ 4. จัดพิมพ์หนังสือแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานครฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ตามเงื่อนไขที่กรุงเทพมหานคร (สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว) เห็นชอบ

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-08-24)

50.00

24/08/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาเพื่อกำหนดพื้นที่ศึกษาเชิงลึกและการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม โดยดำเนินการกระบวนการมีส่วนร่วมและการเก็บข้อมูลในพื้นที่ ดังนี้ 1. ศึกษาและสำรวจการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร เพื่อค้นหาศักยภาพในการขับเคลื่อนงานด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จำนวน 10 พื้นที่ ได้แก่ พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย บางรัก คลองสาน จตุจักร คลองเตย ภาษีเจริญ ทุ่งครุ ลาดกระบัง หนองจอก 2. นำข้อมูลที่ได้รับจากการลงพื้นที่มาวิเคราะห์ศักยภาพและกำหนดทิศทางการพัฒนาของพื้นที่ โดยอาศัยปัจจัย ดังนี้ - ต้นทุนของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ได้แก่ 1) การกระจุกตัวของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่ (15 สาขา) 2) จำนวนสถานที่ท่องเที่ยว/สถานที่สำคัญ ในพื้นที่ 3) จำนวนอาหารประจำพื้นที่ หรือ ร้านอาหารที่มีชื่อเสียงเฉพาะในพื้นที่ (ร้านอาหารมิชลิน) 4) จำนวนสินค้าสร้างสรรค์กรุงเทพฯ (MIB) - ศักยภาพในการต่อยอด ได้แก่ 1) ความหนาแน่นพื้นที่สาธารณะ หรือพื้นที่สำหรับนทำงานสร้างสรรค์ 2) ย่านที่มีการดำเนินธุรกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ 3) จำนวนภาคีเครือข่าย หรือการรวมกลุ่มของชุมชนในพื้นที่ 4) การเข้าถึงของการขนส่งทางรถราง (BTS/MRT/ARL) 3. นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ศักยภาพและกำหนดทิศทางการพัฒนาของพื้นที่มาคัดเลือกพื้นที่ ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อจัดกิจกรรมการร่วมสร้างสรรค์ (Co-creation) ) เพื่อให้กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และชุมชนในพื้นที่เป้าหมายมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การกำหนดโครงการสำคัญ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ต้องการให้จัดขึ้นในพื้นที่ โดยมีกำหนดการจัดกิจกรรม ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม 2566 พื้นที่เขตพระนคร ครั้งที่ 2 วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566 พื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ครั้งที่ 3 วันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2566 พื้นที่เขตคลองสาน ครั้งที่ 4 วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566 พื้นที่เขตบางรัก ครั้งที่ 5 วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 พื้นที่เขตจตุจักร ครั้งที่ 6 วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566 พื้นที่เขตภาษีเจริญ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2023-07-26)

45.00

26/07/2566 : ที่ปรึกษาฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการตามสัญญา โดยมีความคืบหน้าดำเนินการ ดังนี้ 1. ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายและยุทธศาสตร์กทม. กับแผนและยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับประเทศ อาทิ 1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 2) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) 3) แผนปฏิรูปเศรษฐกิจกระแสใหม่ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) 4) แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2570) 5) นโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 6) ศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของกรุงเทพมหานคร 7) นโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยข้อง 2. รวบรวมและศึกษา วิเคราะห์ นโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กทม. และประเทศไทย และสรุปแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อาทิ 1) รวบรวมและศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน ข้อบัญญัติ กฎหมาย และโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับเมืองของต่างประเทศ ตลอดจนองค์กรเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในต่างประเทศ 2) รวบรวมและศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน ข้อบัญญัติ กฎหมาย และโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย 3) รวบรวมและศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน ข้อบัญญัติ กฎหมาย และโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของกรุงเทพมหานคร 4) รวบรวมและศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน ข้อบัญญัติ กฎหมาย และโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของทุกหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในประเทศไทย 5) ศึกษาแผน เป้าหมาย และโครงการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงกับการเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบของยูเนสโกของกรุงเทพมหานคร 6) วิเคราะห์นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน ข้อบัญญัติ กฎหมาย และโครงการของกรุงเทพมหานคร ร่วมกับข้อมูลจากการศึกษาแนวทางการดำเนินงาน ข้อกำหนดต่าง ๆ ของประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์หาความสอดคล้อง และสรุปแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงของทิศทางพัฒนาด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานครในอนาคต ข้อสังเกตจากการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ปัจจัยสนับสนุนของการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ที่ควรมีการดำเนินศึกษา ประกอบด้วย - ทุนทางวัฒนธรรม - คน/ชุมชน - ธุรกิจ/การสร้างงานในท้องถิ่น - โครงสร้างพื้นฐาน/สิ่งอำนวยความสะดวก - การศึกษา/การวิจัย - การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม - การพัฒนาเมืองและระบบนิเวศ - นโยบาย แผนงาน และการสนับสนุน - กลไกและการจัดการ (Mechanism) - กิจกรรม (Activity/Event) - การสื่อสารและการสร้างเครือข่าย (Community / Networking) 3. อยู่ระหว่างดำเนินการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายที่มีศักยภาพเพื่อการศึกษาเชิงลึกและการสร้างกระบวการมีส่วนร่วม ซึ่งคาดว่าพื้นที่เป้าหมายที่จะดำเนินการมีจำนวนทั้งสิ้น 10 เขต ได้แก่ จตุจักร พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย หนองจอก ลาดกระบัง บางรัก คลองเตย คลองสาน ทุ่งครุ ภาษีเจริญ โดยมีการวางกรอบแนวคิดการศึกษาศักยภาพของพื้นที่ ได้แก่ แผนที่ของพื้นที่ ทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (Tangible asset) ประวัติศาสตร์/ความเป็นอยู่ในพื้นที่ (Intangible asset) เอกลักษณ์ที่มีศักยภาพในการต่อยอดเชิงเศรษฐกิจ สถานที่จัดกิจกรรม การเดินทาง/สิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรม/ประเพณี

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-06-29)

40.00

29/06/2566 : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นางสาวเยาวลักษณ์ พิมพะนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษาโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร เลขที่ สธท.22-24-66 กับบริษัท เอฟฟินิตี้ จำกัด โดยที่ปรึกษาจะต้องดำเนินการตามสัญญาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 38.00 (2023-05-24)

38.00

24/05/2566 : 1. คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาฯ รายงานผลการพิจารณาฯ และเสนอความเห็นต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเรียบร้อยแล้ว 2. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจ้างที่ปรึกษาโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร โดยวิธีคัดเลือก ในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ตามประกาศกรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 และอยู่ในช่วงระยะเวลาอุทธรณ์

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2023-04-25)

35.00

25/04/2566 : อยู่ระหว่างคณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาฯ พิจารณาผลการคัดเลือกของผู้ยื่นข้อเสนอตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-03-24)

30.00

24/03/2566 : 1. ปลัดกรุงเทพมหานคร (นางสาวกนกวรรณ เอี่ยมลิ้ม ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ปฏิบัติราชการแทนปลัดกรุงเทพมหานคร) ลงนามอนุมัติเงินจัดสรรงบประมารายจ่ายประจำปีบประมาณ พ.ศ. 2566 งวดที่ 2 ครั้งที่ 19 สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ผลผลิตพัฒนาบริการและแหล่งท่องเที่ยว งบรายจ่ายอื่น รายการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร เป็นเงิน 1,500,000 บาท 2. เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานขอจ้างที่ปรึกษา เผยแพร่ประกาศและเอกสารจ้างที่ปรึกษา และค้นหารายชื่อที่ปรึกษาในสาขางานที่จะจ้างผ่านทางเว็บไวต์ของศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง (www.consultant.pdmo.go.th) พร้อมทั้งส่งมอบให้คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาฯ ดำเนินการต่อไป 3. คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 27/66 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก สำหรับการจ้างที่ปรึกษาโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร โดยวิธีคัดเลือก ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นางสาวเยาวลักษณ์ พิมพะนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ได้ลงนามอนุมัติแต่งตั้งฯ โดยให้คณะกรรมการฯ มีหน้าที่ตามคำสั่ง 4. คณะกรรมการดำเนินงานจ้างที่ปรึกษาฯ พิจารณาที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด เพื่อขอเชิญยื่นข้อเสนอฯ และจัดทำหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาฯ ให้เข้ายื่นข้อเสนอต่อหน่วยงาน จำนวน 5 ราย ตามหนังสือสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ที่ กท 1207/0499 ที่ กท 1207/0500 ที่ กท 1207/0501 ที่ กท 1207/0502 และ ที่ กท 1207/0503 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2566 เรื่อง ขอเชิญเสนอราคาจ้างที่ปรึกษา โครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร โดยมีกำหนดยื่นข้อเสนอในวันที่ 18 เมษายน 2566 ระหว่างเวลา 08.30 - 16.00 น. ณ สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-02-28)

15.00

28/02/2566 : 1. ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว (นางสาวปัญชพัฒน์ หลักดี รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว) ลงนามอนุมัติประมาณการค่าใช้จ่ายโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 31 มกราคม 2566 รายละเอียดตามหนังสือสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ด่วนที่สุด ที่ กท 1207/0142 ลงวันที่ 23 มกราคม 2566 2. หนังสือกลุ่มงานแผนงานการท่องเที่ยว ที่ 0041/2566 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ส่งเอกสารโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร เพื่อขออนุมัติเงินจัดสรรประจำงวดที่ 2 ให้ฝ่ายบริหารงานทั่วไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 3. ขอขยายระยะเวลาการจัดทำร่างขอบเขตของงาน รายละเอียดค่าใช้จ่าย และราคากลางโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร รายละเอียดตามหนังสือคณะกรรมการร่างขอบเขตของงานฯ ที่ 053/2566 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นางสาวเยาวลักษณ์ พิมพะนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ได้อนุมัติให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการออกไปอีก 5 วันทำการนับถัดจากวันที่ครบกำหนด (วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566) 4. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นางสาวเยาวลักษณ์ พิมพะนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ลงนามเห็นชอบร่างขอบเขตของงานฯ รายละเอียดค่าใช้จ่าย และราคากลางโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร รายละเอียดตามหนังสือคณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงานฯ ที่ 057/2566 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 5. ดำเนินการส่งเอกสารโครงการฯ และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ดำเนินการขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างต่อไป รายละเอียดตามหนังสือกลุ่มงานแผนงานการท่องเที่ยว ที่ 0055/2566 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-25)

5.00

25/01/2566 : คณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงาน รายละเอียดค่าใช้จ่าย และราคากลางโครงการฯ อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำรายละเอียดร่างขอบเขตของงานฯ เดือนมกราคม 2566 1. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง เผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและของหน่วยงาน (เว็บไซต์กรุงเทพมหานคร) ตามหนังสือสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ที่ กท 1207/0027 ลงวันที่ 6 มกราคม 2566 เรื่อง ขออนุมัติประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายสิงห์ ลิ้มพิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ได้เห็นชอบและลงนาม ณ วันที่ 11 มกราคม 2566 2. ขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงาน รายละเอียดค่าใช้จ่าย และราคากลาง โครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร รายละเอียดตามหนังสือกลุ่มงานแผนงานการท่องเที่ยว ด่วนมาก ที่ 0020/2566 ลงวันที่ 19 มกราคม 2566 ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นางสาวเยาวลักษณ์ พิมพะนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ได้ลงนามอนุมัติแต่งตั้งฯ โดยให้คณะกรรมการฯ มีหน้าที่ตามหนังสือ และดำเนินการภายใน 15 วันทำการ ภายหลังจากวันที่คณะกรรมการฯ รับทราบคำสั่ง และรายงานผู้มีอำนาจแต่งตั้งทราบ 3. อยู่ระหว่างดำเนินการขออนุมัติประมาณการค่าใช้จ่ายและการดำเนินการตามโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร รายละเอียดตามหนังสือกลุ่มงานแผนงานการท่องเที่ยว ด่วนที่สุด ที่ 0017/2566 ลงวันที่ 19 มกราคม 2566 4. หนังสือกลุ่มงานแผนงานการท่องเที่ยว ที่ 0022/2566 ลงวันที่ 24 มกราคม 2566 แจ้งคณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงาน รายละเอียดค่าใช้จ่าย และราคากลางโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร และเชิญประชุมคณะกรรมการกำหนดร่างขอบเขตของงานฯ เพื่อจัดทำรายละเอียดร่างขอบเขตของงานฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี / -

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี / -

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายและยุทธศาสตร์กทม.กับแผนและยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับประเทศ- รวบรวมและศึกษา วิเคราะห์ นโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับ กทม. และประเทศไทย และสรุปแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์
:30.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:ศึกษาเพื่อกำหนดพื้นที่ศึกษาเชิงลึก และการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม- ศึกษาและสำรวจพื้นที่ตามกลุ่มปฏิบัติงานของสำนักงานพื้นที่เขต ๖ กลุ่ม- คัดเลือกพื้นที่ ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์- จัดกระบวนการมีส่วนร่วมในรูปแบบของกิจกรรมร่วมรังสรรค์ (C
:30.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร - วิเคราะห์ข้อมูลจากกระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมกับการศึกษาด้านนโยบายฯ- จัดทำรายละเอียดโครงการที่เกี่ยวข้องกับแผนฯ
:40.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 23000000-6683

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 23000000-6683

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 2300-975

ตัวชี้วัด : 66_ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวดำเนินการสำเร็จตามที่เป้าหมายกำหนด

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 76.47

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
4.35

0 / 0
2
4.16

0 / 0
3
16.00

0 / 0
4
76.47

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **