ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาย่านสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์และกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร : 23000000-6712

สํานักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

นางสาวดวงพร พวงอุไร โทร. 0 2225 7615

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

ย่านสร้างสรรค์ (Creative District) คือ พื้นที่ที่ใช้ประโยชน์จากความคิดสร้างสรรค์ และระบบนิเวศสร้างสรรค์เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของพื้นที่นั้น ๆ ถือเป็นโมเดลสำหรับปลุกเมืองเก่าซึ่งใช้กันทั่วโลก สำหรับกรุงเทพมหานครที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ “ย่านเจริญกรุง” ซึ่งเป็นถนนสายแรกที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมากว่าร้อยปี เป็นย่านที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรมสูง มีการปลุกเมืองด้วยศิลปะ ดีไซน์ และธุรกิจสร้างสรรค์ ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย แม้ว่าในอดีตมีการพัฒนาเมืองอยู่แล้วตามนโนบายต่าง ๆ แต่อีก ๑๐ ปีข้างหน้านี้ เมืองขนาดกลางทั่วโลกมีแนวโน้มการพัฒนาและมีอัตราการเติบโตในระดับสูง โดยเปลี่ยนทิศทางความร่วมมือในรูปแบบของพัฒนาแบบทุกภาคส่วน ในยุคที่ประชาชนมีจำนวนมากขึ้น พื้นที่มีจำกัด ความแออัดของเมืองเริ่มก่อตัวขึ้นมาหลายรูปแบบ หลายเมืองทั่วโลกแก้ปัญหานี้ด้วยการพัฒนาเมืองตามโจทย์ที่ว่า“สร้างเมืองให้รู้ใจผู้อยู่” ถือเป็นโจทย์สำคัญซึ่งหลายจังหวัดในประเทศไทยได้มีการดำเนินการเรื่องนี้มาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว เมืองเป็นพื้นที่ใหญ่ต้องพัฒนาหลายมิติ หลายพื้นที่เริ่มพัฒนาจากพื้นที่เล็ก ๆ ไปจนถึงชุมชน ย่าน และเมือง พร้อมกับค้นหา อัตลักษณ์เฉพาะตัว โดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ของคนในเมือง เพื่อลุกขึ้นมาฟื้นฟูย่านเศรษฐกิจเก่า นโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาย่านสร้างสรรค์และ“ดึงอัตลักษณ์ สร้างเศรษฐกิจ ๕๐ ย่าน ทั่วกรุงเทพฯ” ซึ่งแต่ละพื้นที่ แต่ละชุมชน มีเอกลักษณ์ มีความเป็นอัตลักษณ์ ที่แตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ ได้แก่ กระบวนการและวิสัยทัศน์ในการมอง “ทุนจากภายใน” ของชุมชนและท้องถิ่นที่มีอยู่ เพื่อนำมาต่อยอดสร้างสรรค์และสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยทุนจากภายใน ครอบคลุมทั้งทุนทางกายภาพ ทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความชำนาญเฉพาะด้าน ถือเป็นอัตลักษณ์สำคัญในการสะท้อนความเป็นตัวตนของชุมชนและท้องถิ่น เป็นตัวเชื่อมให้เกิดการมีส่วนร่วมและความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันของคนในชุมชน เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ ในการพัฒนาสังคมและชุมชนที่ยั่งยืน จึงได้กำหนดจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาย่านสร้างสรรค์กระตุ้นเศรษฐกิจกรุงเทพมหานคร จัดโดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว และสำนักงานเขต ๒๐ เขต

23070000/23070000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๒.๑ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทิศทาง ในการพัฒนาส่งเสริมย่านสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานคร ให้เป็นย่านที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ โดดเด่นและสร้างการจดจำ ๒.๒ เพื่อสร้างภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนพัฒนาส่งเสริมย่านสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานคร อย่างยั่งยืนต่อไป ๒.๓ เพื่อพัฒนาส่งเสริมย่านสร้างสรรค์ในกรุงเทพมหานครให้เป็นย่านที่มีอัตลักษณ์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนเกิดความประทับใจ กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายของโครงการ

๓.๑ เกิดย่านสร้างสรรค์ในทุกพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ทั้ง ๒๐ เขต ๆ ละ ๑ ย่าน รวมเป็น ๒๐ ย่าน ๓.๒ เกิดความร่วมมือภาคีเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน การแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนย่านสร้างสรรค์ เป็นต้น ๓.๓ กิจกรรมต้นแบบในย่านสร้างสรรค์ตามบริบทของพื้นที่ ๓.๔ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจจากการจัดกิจกรรมในย่านสร้างสรรค์การท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น จำนวนผู้ค้า รายได้ของประชาชน จำนวนนักท่องเที่ยวหรือผู้ร่วมกิจกรรม เป็นต้น

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-25)

100.00

25/09/2566 ๑. สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพมหานคร โดยบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานเขต และเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ จำนวน ๖ ครั้ง โดยมีกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวของผู้ที่เกี่ยวข้อง การเรียนรู้กิจกรรมสาธิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบของชุมชน การศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวผ่านวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นของย่าน ซึ่งจะช่วยสร้างการตระหนักรู้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และสร้างแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนย่านสร้างสรรค์ โดยได้ดำเนินการจัดกิจกรรมในพื้นที่ ดังนี้ ครั้งที่ ๑ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ วันเสาร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ครั้งที่ ๒ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ วันเสาร์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ ครั้งที่ ๓ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง วันเสาร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๖ ครั้งที่ ๔ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านถนนสายไม้ บางโพ เขตบางซื่อ วันเสาร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๖ ครั้งที่ ๕ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านตลาดพลู เขตธนบุรี วันเสาร์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ครั้งที่ ๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านบางลำพู เขตพระนคร วันเสาร์ที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ๒. สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว สนับสนุนให้สำนักงานเขตที่มีศักยภาพดำเนินการพัฒนาย่านสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์และกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่กรุงทพมหานคร ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ในรูปแบบของการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ โดยมีสำนักงานเขตที่มีศักยภาพและได้รับโอนงบประมาณ จำนวน ๒๐ เขต เขตละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท และได้มีการกำหนดพื้นที่ย่านที่จะดำเนินการพัฒนา จำนวน ๒๑ ย่าน ดังนี้ ๒.๑ ย่านบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย จัดกิจกรรมจำนวน ๔ ครั้ง ๑) กิจกรรม “เปิดตลาดไร้คานบ้านบุ (วัดทอง)” การแสดงของเด็กนักเรียน เยาวชน และภาคีเครือข่าย การออกร้านจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์จากชุมชน workshop ศิลปะ งานแฮนด์เมด เมื่อวันที่ ๒๔ – ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ ชุมชนวัดสุวรรณาราม ๒) กิจกรรม “Walk Rally เดินเพลินบางกอกน้อย” เยี่ยมชมและรับฟังบรรยายประวัติความเป็นมาและสถานที่สำคัญในพื้นที่เขตบางกอกน้อย เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ ชุมชนวัดสุวรรณาราม และชุมชนตรอกข้าวเม่า ๓) กิจกรรม “บางกอกน้อยวิทยา” ศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้เกี่ยวกับพืชพันธุ์ไม้ถิ่นเขตบางกอกน้อย การทำ Workshop ขนมตาลและเรือกระทงกาบมะพร้าว เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ สวนสิรินธราพฤกษาพรรณ ๔) กิจกรรม “อัมพวาขยับยิ้ม” การออกร้านและจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์ชุมชน การแสดงของเด็กและเยาวชน และภาคีเครือข่าย เมื่อวันที่ ๒๒ - ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ ลานชุมชนวัดอัมพวา ๕) กิจกรรม “โพธิ์เรียง Festival” การออกร้านและจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์ชุมชน การแสดงของเด็กและเยาวชน และภาคีเครือข่าย เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ชุมชนวัดโพธิ์เรียง ๒.๒ ย่านคลองลำไทร เขตหนองจอก จัดงานเกษตรแฟร์หนองจอก@คลองลำไทร เมื่อวันที่ ๔ – ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๖ และจัดกิจกรรม One Day Trip จำนวน ๒ ครั้ง คือ เมื่อวันที่ ๖ และวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ย่านคลองลำไทร และแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตหนองจอก ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ลำไทรฟาร์ม ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำแขวงโคกแฝด และศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองบ้านสุมาลี ๒.๓ ย่านชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ จัดกิจกรรม “เปิดย่านสร้างสรรค์ ชุมชนพูนบำเพ็ญ” และกิจกรรม One Day Trip ล่องคลองชมวิถีชุมชนและพหุวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ ๒.๔ ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ จัดกิจกรรมย่านสร้างสรรค์ “ตะลักเกี้ย เกี่ยถิกท้อ” ณ บริเวณท่าน้ำภานุรังษี เมื่อวันที่ ๑๙ – ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ และกิจกรรม Half Day Trip จำนวน ๒ เส้นทาง เพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในย่าน ได้แก่ บ้านหมอนเฮงเส็ง เรือนวิสูตรสาครดิษฐ์ ศาลเจ้าโรงเกือก บ้านโซวเฮงไถ่ สตรีทอาร์ต และศาลเจ้าโจวซือกง เป็นต้น ๒.๕ ย่านตลาดพลู เขตธนบุรี จัดกิจกรรม “เที่ยวเขตธนฯ ยล ๒ ย่าน” โดยประกอบด้วย ๑) กิจกรรม One Day Trip “เฉลิมฉลองสถานีรถไฟ และสายรถไฟตลาดพลู” แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว จำนวน ๔ วัน ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ และวันที่ ๒ - ๓ กันยายน ๒๕๖๖ และ ๒) กิจกรรมอบรมมัคคุเทศก์น้อยตลาดพลู ระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๖ ๒.๖ ย่านกะดีจีน เขตธนบุรี จัดกิจกรรมอบรมมัคคุเทศก์น้อยย่านกะดีจีน ในวันที่ ๑๙ - ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ และกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวย่านกะดีจีน แบบ One Day Trip จำนวน ๔ วัน ในวันที่ ๒๖ - ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๖ และวันที่ ๒ - ๓ กันยายน ๒๕๖๖ ๒.๗ ย่านวัดม่วงแค มัสยิดฮารูณ เขตบางรัก จัดกิจกรรม “เยือนฮารูณ ชิมฮาลาล @เจริญกรุง ๓๖ เขตบางรัก” ณ ชุมชนซอยวัดม่วงแค มัสยิดฮารูณ และกิจกรรม Half Day Trip เยี่ยมชุมชนชนพหุวัฒนธรรม ๓ ศาสนา ได้แก่ วัดม่วงแค มัสยิดฮารูณ และอาสนวิหารอัสสัมชัญ เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๖ ๒.๘ ย่านตลาดเก่าเมืองมีน เขตมีนบุรี จัดกิจกรรม “Walk Rally สองน่องท่องเมืองมีน” เมื่อวันที่ ๒๖ – ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมโถงใหญ่ชั้น ๑ ศาลาประชาคมเมืองมีนถิ่นทอง และแหล่งท่องเที่ยวภายในพื้นที่เขตมีนบุรี ๔ แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ ศาลเจ้าเจียวตี่เหล่าเอี๊ย และตลาดเก่าร้อยปีมีนบุรี ๒.๙ ย่านเกาะจอมทอง เขตจอมทอง จัดงาน “วิถีไทย วิถีถิ่น สืบสานงานศิลป์ ถิ่นจอมทอง” เมื่อวันที่ ๑ – ๓ กันยายน ๒๕๖๖ โดยเป็นการจัดงานแบบไทยย้อนยุค ณ วัดบางขุนเทียน และกิจกรรม One Day Trip แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในย่าน ได้แก่ วัดบางขุนเทียนนอก วัดหนังราชวรวิหาร และสวนลุงบรรพจน์ฯ “เที่ยวท่องล่องคลอง@จอมทอง” วันละ ๑ รอบ ๒.๑๐ ย่านตลาดริมคลองเจริญกรุง ๑๐๓ เขตบางคอแหลม จัดกิจกรรม “ย่ำเท้า เล่าเรื่อง ถิ่นเก่า เจริญกรุง” ณ ย่านตลาดริมคลองเจริญกรุง ๑๐๓ และกิจกรรม One Day Trip “ย่ำเท้า เล่าเรื่อง ถิ่นเก่า เจริญกรุง” ตั้งแต่ตลาดริมคลองเจริญกรุง ๑๐๓ มัสยิดบางอุทิศ สุสานโปรเตสแตนท์ วัดราชสิงขร เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ ฟร้อนท์ โดยมี คุณจิตรลัดดา แสงน้อยอ่อน และคุณ นิวัติ พิริยานุพงศ์ นักเล่าเรื่องท้องถิ่นเขตบางคอแหลม เป็นวิทยากรนำชม เมื่อวันที่ ๒ – ๓ กันยายน ๒๕๖๖ ๒.๑๑ ย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ จัดกิจกรรม “บางมดเฟส” ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ ริมคลองบางมด ตั้งแต่มัสยิดสอนสมบูรณ์ พิพิธภัณฑ์คลองบางมด ตลาดมดตะนอย มัสยิดนุรุ้ลฮูดา และสวนเกษตรอินทรีย์เซฟติทส์ฟาร์ม ๒.๑๒ ย่านวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ จัดกิจกรรมจำนวน ๓ ครั้ง ดังนี้ ๑) กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ “เรียนรู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน สร้างสรรค์อนาคต ค่ายสร้างสรรค์ ตอน ถนนวังเดิม” เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๖ ๒) จัดทำแผนที่สร้างสรรค์เพื่อคนทั้งมวล ๓) @BKY10600 ถนนคนเดินวังเดิม ย่านสร้างสรรค์ เขตบางกอกใหญ่ งานหล่อเทียนพรรษา เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ และวันที่ ๑ - ๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ ๒.๑๓ ย่านคลองพระโขนง เขตสวนหลวง จัดกิจกรรม “ล่องเรือชมวิถีพหุวัฒนธรรม ๒ ฝั่งคลองพระโขนง” ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒๙ – ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖ และครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๕ – ๖ สิงหาคม ๒๕๖๖ ๒.๑๔ ย่านคลองประเวศบุรีรมย์ เขตประเวศ จัดกิจกรรมท่องเที่ยววิถีชุมชนริมคลองประเวศบุรีรมย์ เมื่อวันที่ ๒๖ – ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๖ และวันที่ ๒ - ๓ กันยายน ๒๕๖๖ ๒.๑๕ ย่านทุ่งวัดดอน เขตสาทร จัดกิจกรรมถนนคนเดิน “สีสันสาทร สะท้อนวัฒนธรรม” เมื่อวันที่ ๒๕ – ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๖ และกิจกรรม One Day Trip เมื่อวันที่ ๒๑ – ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๖ ๒.๑๖ ย่านถนนสายไม้ บางโพ เขตบางซื่อ จัดกิจกรรมถนนสายไม้ บางโพ ทัวร์ “Story of Wood” เมื่อวันที่ ๑ – ๒ กันยายน ๒๕๖๖ ๒.๑๗ ย่านหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง จัดกิจกรรม “วัฒนธรรมสายน้ำย่านสร้างสรรค์หัวตะเข้ เสน่ห์ลาดกระบัง” ณ ตลาดเก่าหัวตะเข้ และวัดสุทธาโภชน์ เมื่อวันที่ ๑ – ๑๐ กันยายน ๒๕๖๖ ๒.๑๘ ย่านถนนสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน จัดกิจกรรม “ย่านสร้างสรรค์ ถนนสมเด็จเจ้าพระยา” ตอน “เปิดบ้าน เปิดย่าน เยือนถิ่นฐานวัฒนธรรม" ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และบริเวณลานตัวหนอนข้างอุทยาน เมื่อวันที่ ๙ – ๑๐ กันยายน ๒๕๖๖ ๒.๑๙ ย่านตลาดน้ำตลิ่งชัน – ตลาดน้ำสองคลองวัดตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน จัดกิจกรรม “เดิน ล่อง ท่องย่าน สานวัฒนธรรมชุมชน” เมื่อวันที่ ๑๖ – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖ ณ ตลาดน้ำตลิ่งชัน – ถนนสายวัฒนธรรม – ตลาดน้ำสองคลองวัดตลิ่งชัน ๒.๒๐ ย่านนางเลิ้ง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จัดกิจกรรม “มนต์เสน่ห์แห่งชุมชนเก่าใจกลางมหานคร...มหัศจรรย์นางเลิ้ง” กลางวันชิม กลางคืนชม ณ บริเวณสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ถนนศุภมิตร ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๓ กันยายน ๒๕๖๖ ๒.๒๑ ย่านบางลำพู เขตพระนคร จัดกิจกรรมเที่ยวพระนคร กินลม ชมวัง สุขใจ “ท่องเที่ยวสบาย ๆ สไตล์คนกรุง” ณ พิพิธบางลำพู เพื่อพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนย่านสร้างสรรค์ ในวันที่ ๒๒ – ๒๓ กันยายน ๒๕๖๖

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-08-25)

75.00

25/8/2566 ๑. ติดตามการดำเนินการของสำนักงานเขต โดยให้สำนักงานเขตรายงานผ่าน Google Form / Google Sheet และจากผู้ประสานงาน สรุปได้ดังนี้ ๑.๑ การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ - เขตที่อยู่ระหว่างแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ จำนวน ๑ เขต ได้แก่ เขตพระนคร - เขตที่แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ เรียบร้อยแล้ว จำนวน ๑๙ เขต ได้แก่ เขตทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางคอแหลม มีนบุรี หนองจอก ภาษีเจริญ บางกอกใหญ่ ลาดกระบัง จอมทอง สัมพันธวงศ์ และเขตสาทร ตลิ่งชัน คลองสาน บางซื่อ บางรัก ประเวศ เขตสวนหลวง และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ๑.๒ การประชุมคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ - เขตที่ดำเนินการประชุมแล้ว ได้แก่ เขตบางกอกน้อย ภาษีเจริญ บางกอกใหญ่ ทุ่งครุ สวนหลวง ประเวศ หนองจอก ธนบุรี จอมทอง บางคอแหลม สาทร บางรัก คลองสาน ตลิ่งชัน ลาดกระบัง สัมพันธวงศ์ บางซื่อ และเขตมีนบุรี ๑.๓ เขตบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ทุ่งครุ ภาษีเจริญ สวนหลวง หนองจอก ธนบุรี สัมพันธวงศ์ ได้เริ่มการจัดกิจกรรมฯ แล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 71.00 (2023-07-27)

71.00

27/7/2566 ๑. ติดตามการดำเนินการของสำนักงานเขต โดยให้สำนักงานเขตรายงานผ่าน Google Form / Google Sheet และจากผู้ประสานงาน สรุปได้ดังนี้ ๑.๑ การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ - เขตที่อยู่ระหว่างแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ จำนวน ๑ เขต ได้แก่ เขตพระนคร - เขตที่แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ เรียบร้อยแล้ว จำนวน ๑๙ เขต ได้แก่ เขตทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางคอแหลม มีนบุรี หนองจอก ภาษีเจริญ บางกอกใหญ่ ลาดกระบัง จอมทอง สัมพันธวงศ์ และเขตสาทร ตลิ่งชัน คลองสาน บางซื่อ บางรัก ประเวศ เขตสวนหลวง และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ๑.๒ การประชุมคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ - เขตที่ดำเนินการประชุมแล้ว ๒ ครั้ง ได้แก่ เขตบางกอกน้อย เขตภาษีเจริญ เขตบางกอกใหญ่ เขตทุ่งครุ เขตสวนหลวง และเขตประเวศ - เขตที่ดำเนินการประชุมแล้ว ๑ ครั้ง ได้แก่ เขตหนองจอก เขตบางคอแหลม เขตตลิ่งชัน เขตบางรัก เขตคลองสาน เขตธนบุรี เขตลาดกระบัง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตจอมทอง เขตบางซื่อ ๑.๓ เขตบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ทุ่งครุ ได้เริ่มการจัดกิจกรรมฯ แล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-07-26)

70.00

26/07/2566 ๑. ติดตามการดำเนินการของสำนักงานเขต โดยให้สำนักงานเขตรายงานผ่าน Google Form / Google Sheet และจากผู้ประสานงาน สรุปได้ดังนี้ ๑.๑ การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ - เขตที่อยู่ระหว่างแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ จำนวน ๑ เขต ได้แก่ เขตพระนคร - เขตที่แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ เรียบร้อยแล้ว จำนวน ๑๙ เขต ได้แก่ เขตทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางคอแหลม มีนบุรี หนองจอก ภาษีเจริญ บางกอกใหญ่ ลาดกระบัง จอมทอง สัมพันธวงศ์ และเขตสาทร ตลิ่งชัน คลองสาน บางซื่อ บางรัก ประเวศ เขตสวนหลวง และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ๑.๒ การประชุมคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ - เขตที่ดำเนินการประชุมแล้ว ๒ ครั้ง ได้แก่ เขตบางกอกน้อย เขตทุ่งครุ เขตภาษีเจริญ และเขตสวนหลวง - เขตที่ดำเนินการประชุมแล้ว ๑ ครั้ง ได้แก่ เขตหนองจอก เขตบางคอแหลม เขตบางกอกใหญ่ เขตตลิ่งชัน เขตบางรัก เขตคลองสาน เขตธนบุรี เขตลาดกระบัง ๑.๓ เขตบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ทุ่งครุ ได้เริ่มการจัดกิจกรรมฯ แล้ว ๒. การดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของกรุงเทพมหานคร ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบ จำนวน ๖ ครั้ง โดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว งบประมาณ ๗๗๗,๖๐๐ บาท รายละเอียดความคืบหน้ามีดังนี้ - ได้ทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนฯ เรียบร้อยแล้ว ณ ย่านดังต่อไปนี้ ๑) ย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ๒) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ ๓) ย่านหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๖ ๔) ย่านถนนสายไม้ บางโพ เขตบางซื่อ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๖ ๕) ย่านตลาดพลู เขตธนบุรี เมื่อวันเสาร์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ๖) ย่านบางลำพู เขตพระนคร เมื่อวันเสาร์ที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-06-29)

60.00

๑. ติดตามการดำเนินการของสำนักงานเขต โดยให้สำนักงานเขตรายงานผ่าน Google Form / Google Sheet และจากผู้ประสานงาน สรุปได้ดังนี้ ๑.๑ การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ - เขตที่อยู่ระหว่างแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ จำนวน ๒ เขต ได้แก่ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตพระนคร - เขตที่แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ เรียบร้อยแล้ว จำนวน ๑๘ เขต ได้แก่ เขตทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางคอแหลม มีนบุรี หนองจอก ภาษีเจริญ บางกอกใหญ่ ลาดกระบัง จอมทอง สัมพันธวงศ์ และเขตสาทร ตลิ่งชัน คลองสาน บางซื่อ บางรัก ประเวศ และเขตสวนหลวง ๑.๒ การประชุมคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ - เขตที่ดำเนินการประชุมแล้ว ๒ ครั้ง ได้แก่ เขตบางกอกน้อย (ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒๓ มี.ค. ๖๖ และครั้งที่ ๒ วันที่ ๖ มิ.ย. ๖๖) และเขตทุ่งครุ (ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒๙ มี.ค. ๖๖ และครั้งที่ ๒ วันที่ ๒๘ มิ.ย. ๖๖) - เขตที่ดำเนินการประชุมแล้ว ๑ ครั้ง ได้แก่ เขตหนองจอก (ครั้งที่ ๑ วันที่ ๓๐ พ.ค. ๖๖) เขตบางคอแหลม (ครั้งที่ ๑ วันที่ ๓๑ พ.ค. ๖๖) เขตภาษีเจริญ (ครั้งที่ ๑ วันที่ ๓๑ พ.ค. ๖๖) เขตบางกอกใหญ่ (ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒ มิ.ย. ๖๖) เขตตลิ่งชัน (ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒๗ มิ.ย. ๖๖) เขตสวนหลวง (ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒๗ มิ.ย. ๖๖) และเขตบางรัก (ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒๘ มิ.ย. ๖๖) ๒. การดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของกรุงเทพมหานคร ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบ จำนวน ๖ ครั้ง โดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว - ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนฯ เรียบร้อยแล้วจำนวน ๔ ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ ครั้งที่ ๒ วันเสาร์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ครั้งที่ ๓ วันเสาร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง ครั้งที่ ๔ วันเสาร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านถนนสายไม้ บางโพ เขตบางซื่อ - กำลังเตรียมการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนฯ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านตลาดพลู เขตธนบุรี ในวันเสาร์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-05-25)

40.00

25/05/2566 : ๑. ติดตามการดำเนินการของสำนักงานเขต โดยให้สำนักงานเขตรายงานผ่าน Google Form / Google Sheet และจากผู้ประสานงาน สรุปได้ดังนี้ การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ - เขตที่อยู่ระหว่างแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ จำนวน ๘ เขต ได้แก่ เขตตลิ่งชัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระนคร คลองสาน บางซื่อ บางรัก ประเวศ และเขตสวนหลวง - เขตที่แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ เรียบร้อยแล้ว จำนวน ๑๒ เขต ได้แก่ เขตทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางคอแหลม มีนบุรี หนองจอก ภาษีเจริญ บางกอกใหญ่ ลาดกระบัง จอมทอง สัมพันธวงศ์ และเขตสาทร ๒. การดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของกรุงเทพมหานคร ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบ จำนวน ๖ ครั้ง โดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กำลังเตรียมการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนฯ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ ในวันเสาร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๖

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2023-04-27)

35.00

27/04/2566 : ๑. ติดตามการดำเนินการของสำนักงานเขต โดยให้สำนักงานเขตรายงานผ่าน Google Form และจากผู้ประสานงาน สรุปได้ดังนี้ ๑) การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ - เขตที่อยู่ระหว่างแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ จำนวน ๑๓ เขต ได้แก่ เขตตลิ่งชัน บางกอกใหญ่ ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระนคร ลาดกระบัง สัมพันธวงศ์ คลองสาน จอมทอง บางซื่อ บางรัก ประเวศ สวนหลวง และเขตสาทร - เขตที่แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ เรียบร้อยแล้ว จำนวน ๗ เขต ได้แก่ เขตทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางคอแหลม มีนบุรี หนองจอก และเขตภาษีเจริญ ๒) สำนักงานเขตได้มีการลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม มีการจัดประชุมกลุ่มย่อย การจัดกิจกรรมประชาคม การสำรวจแหล่งท่องเที่ยว การทดลองจัดกิจกรรม เป็นต้น ๒. การดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของกรุงเทพมหานคร ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบ จำนวน ๖ ครั้ง โดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว รายละเอียดความคืบหน้ามีดังนี้ ๑) ได้รับอนุมัติเปลี่ยนแปลงวันดำเนินการจัดกิจกรรมฯ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ ดังนี้ - ครั้งที่ ๑ วันเสาร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ - ครั้งที่ ๒ วันเสาร์ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ - ครั้งที่ ๓ วันเสาร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง - ครั้งที่ ๔ วันเสาร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านถนนสายไม้ บางโพ เขตบางซื่อ - ครั้งที่ ๕ วันเสาร์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านตลาดพลู เขตธนบุรี - ครั้งที่ ๖ วันเสาร์ที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านบางลำพู เขตพระนคร ๒) ประสานแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเตรียมดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-03-31)

30.00

31/03/2566 : การดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของกรุงเทพมหานคร ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบ จำนวน 6 ครั้ง โดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว รายละเอียดความคืบหน้ามีดังนี้ 1) กำหนดแหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบสำหรับการจัดกิจกรรมฯ ได้แก่ ย่านตลาดพลู เขตธนบุรี ย่านบางลำพู เขตพระนคร ย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ย่านหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง และย่านถนนสายไม้ บางโพ เขตบางซื่อ ซึ่งคาดว่าจะจัดกิจกรรมฯ ในช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2566 2) ประสานแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเตรียมดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง วันที่ 23 มีนาคม 2566 สำนักงานเขตบางกอกน้อย มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ (เขตบางกอกน้อย) ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นางธราพร อำนวยสาร ผู้อำนวยการเขตบางกอกน้อย เป็นประธานการประชุมฯ วันที่ 29 มีนาคม 2566 สำนักงานเขตทุ่งครุ มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ (เขตทุ่งครุ) ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายพงค์ศักดิ์ พูลยรัตน์ ผู้อำนวยการเขตทุ่งครุ เป็นประธานการประชุมฯ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-03-24)

5.00

24/03/2566 - 20 เขตได้รับงบประมาณเรียบร้อยแล้ว - กำหนดให้สำนักงานเขตเสนอชื่อย่านสร้างสรรค์ที่ดำเนินการ (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2566) สรุปดังนี้ ย่านตลาดน้ำตลิ่งชัน - ตลาดน้ำสองคลองวัดตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน ย่านคลองบางมด เขตทุ่งครุ ย่านตลาดพลู และย่านกะดีจีน เขตธนบุรี ย่านวัดดุสิตฯ เขตบางกอกน้อย ย่านวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ ย่านนางเลิ้ง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ย่านบางลำพู เขตพระนคร ย่านชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ ย่านหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ย่านถนนสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ย่านเกาะจอมทอง เขตจอมทอง ย่านตลาดริมคลองเจริญกรุง 103 เขตบางคอแหลม ย่านถนนสายไม้ บางโพ เขตบางซื่อ ย่านวัดม่วงแค มัสยิดฮารูณ เขตบางรัก ย่านคลองประเวศบุรีรมย์ เขตประเวศ ย่านตลาดเก่าเมืองมีน เขตมีนบุรี ย่านคลองพระโขนงเก่า เขตสวนหลวง ย่านทุ่งวัดดอน เขตสาทร และย่านคลองลำไทร เขตหนองจอก - ติดตามการดำเนินการของสำนักงานเขต โดยให้สำนักงานเขตรายงานผ่าน Google Form และจากผู้ประสานงาน สรุปได้ดังนี้ 1) การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ - เขตที่อยู่ระหว่างแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ ได้แก่ เขตตลิ่งชัน บางกอกใหญ่ ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระนคร ภาษีเจริญ ลาดกระบัง สัมพันธวงศ์ คลองสาน จอมทอง บางซื่อ บางรัก ประเวศ มีนบุรี สวนหลวง สาทร และเขตหนองจอก - เขตที่แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ฯ เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ เขตทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย และเขตบางคอแหลม 2) สำนักงานเขตลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม เช่น การประชุม การจัดกิจกรรมประชาคม การสำรวจแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-03-02)

0.00

สำนักงานเขตทั้ง 20 เขต ได้แก่ เขตตลิ่งชัน ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระนคร ภาษีเจริญ ลาดกระบัง สัมพันธวงศ์ คลองสาน จอมทอง บางคอแหลม บางซื่อ บางรัก ประเวศ มีนบุรี สวนหลวง สาทร และเขตหนองจอก ได้รับงบประมาณฯ เขตละ 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) รวมทั้งสิ้น 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน) เรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-02-27)

20.00

27/02/2566 : จัดประชุมทิศทางการดำเนินงานฯ ครบทั้ง ๒๐ สำนักงานเขตแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-01-31)

15.00

- ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวอนุมัติการดำเนินการและอนุมัติประมาณการค่าใช้จ่ายกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของกรุงเทพมหานคร ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบ จำนวน ๖ ครั้ง รายละเอียดตามหนังสือสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ด่วนที่สุด ที่ กท ๑๒๐๗/๐๐๔๙ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๖ - สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กท ๑๒๐๗/๑๑๖๓ ลงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๖ ขออนุมัติเงินจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งวดที่ ๑ ครั้งที่ ๔๓ จำนวน ๕,๗๗๗,๖๐๐.- บาท พร้อมขออนุมัติโอนเงินงบประมาณรายง่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ให้แก่ ๑๐ สำนักงานเขต ๆ ละ ๕๐๐,๐๐๐.- บาท ได้แก่ เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตบางคอแหลม เขตบางซื่อ เขตบางรัก เขตประเวศ เขตมีนบุรี เขตสวนหลวง เขตสาทร และเขตหนองจอก

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(13) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2022-12-31)

5.00

พ.ย. 65 ขออนุมัติเงินจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 งวดที่ 1 เพื่อโอนงบประมาณให้สำนักงานเขต จำนวน 10 เขต เขตละ 500,000 บาท สำหรับการดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ ได้แก่ เขตตลิ่งชัน เขตทุ่งครุ เขตธนบุรี เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตภาษีเจริญ เขตลาดกระบัง และเขตสัมพันธวงศ์ ธ.ค. 65 สำนักงบประมาณ กทม. อนุมัติจัดสรรงบประมาณงวดที่ 1 และโอนงบประมาณให้ 10 สำนักงานเขตเรียบร้อยแล้ว ม.ค. 66 คาดว่าจะขออนุมัติเงินจัดสรรฯ และดำเนินการโอนเงินงบประมาณไปยังอีก 10 เขต เขตละ 500,000 บาท ได้แก่ เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตบางคอแหลม เขตบางซื่อ เขตบางรัก เขตประเวศ เขตมีนบุรี เขตสวนหลวง เขตสาทร และเขตหนองจอก กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของกรุงเทพมหานคร ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบ จำนวน 6 ครั้ง ธ.ค. - ม.ค. 65 คัดเลือกสำรวจแหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบ ม.ค. 65 คาดว่าจะขออนุมัติเงินจัดสรรฯ สำหรับการดำเนินกิจกรรมฯ 777,600 บาท มี.ค. 66 คาดว่าจะดำเนินกิจกรรมฯ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:ขออนุมัติเงินงวด 1 โอนงบประมาณให้สำนักงานเขต 10 เขต ๆ ละ 500,000.- บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,000,000.- บาท
:5.00%
เริ่มต้น :2022-10-15 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-15 00:00:00
ขั้นตอน 2
:กำหนดแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ และจัดหาวิทยากรท้องถิ่น
:5.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ขออนุมัติวันดำเนินการกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของกรุงเทพมหานคร ณ แหล่งท่องเที่ยวย่านต้นแบบ จำนวน 6 ครั้ง
:5.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:ขอรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ขออนุมัติรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดำเนินการ
:5.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:ขออนุมัติเงินงวด 2 ค่าใช้จ่ายกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ 777,600.- บาท และโอนงบประมาณให้สำนักงานเขต 10 เขต ๆ ละ 500,000.- บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,777,600.- บาท
:5.00%
เริ่มต้น :2023-02-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-02-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:ดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ 6 ครั้ง
:60.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:ดำเนินการเบิกจ่ายและสรุปการประเมินผลการจัดกิจกรรม
:15.00%
เริ่มต้น :2023-06-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-06-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 23000000-6712

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 23000000-6712

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 2300-963

ตัวชี้วัด : 6667ความสำเร็จในการส่งเสริมให้สำนักงานเขตพัฒนาย่านสร้างสรรค์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ค่าเป้าหมาย ย่าน : 20

ผลงานที่ทำได้ ย่าน : 0

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ย่าน)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
40.00

0 / 0
3
0.00

0 / 0
4
0.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **