ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ส่วนวัฒนธรรม
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ในหนึ่งปีประเทศไทยมีวันสำคัญของชาติหลายวันด้วยกัน ทั้งวันสำคัญเกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และวันสำคัญทางประเพณี ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนขนบธรรมเนียมวิถีชีวิต และเอกลักษณ์ของความเป็นไทย กรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวงของประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม เรียกได้ว่าเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม จึงเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของไทย ส่วนวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบงาน ด้านงานวัฒนธรรม เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสืบสานขนบธรรมเนียมวิถีไทย และวันสำคัญทางประเพณีไทย จึงจัดทำโครงการค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เนื่องในวันสำคัญ ทางประเพณีขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนหรือคนในสังคมได้ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันนั้น ด้วยความภาคภูมิใจ และเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามสืบทอดต่อไป
23071000/23071000
1. เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในวันสำคัญทางประเพณี 2. เพื่อเป็นการส่งเสริม และฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
จัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เนื่องในวันสำคัญทางประเพณี ประจำปี 2566 ประกอบด้วย วันขึ้นปีใหม่ และวันสงกรานต์
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-28)
28/07/2566 : เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 การเบิกจ่ายเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : อยู่ระหว่างฝ่ายการคลังตรวจสอบฎีกา
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-05-26)
26/05/2566 : อยู่ระหว่างการตรวจรับพัสดุจ้างเหมาจัดงานเทศกาลมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 "สงกรานต์ลานคนเมือง"
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-04-25)
25/04/2566 : จัดงานเทศกาลมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 "สงกรานต์ลานคนเมือง" ระหว่างวันที่ 12 - 14 เมษายน 2566 ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร หลักการและเหตุผล ส่วนวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบงาน ด้านงานวัฒนธรรม เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสืบสานขนบธรรมเนียมวิถีไทย และวันสำคัญทางประเพณีไทย จึงจัดทำโครงการค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เนื่องในวันสำคัญทางประเพณีขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนหรือคนในสังคมได้ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันนั้น ด้วยความภาคภูมิใจ และเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามสืบทอดต่อไป วัตถุประสงค์การจัดงาน 1. เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในวันสำคัญทางประเพณี 2. เพื่อเป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย กิจกรรมภายในงาน 1. วันที่ 4 เมษายน 2566 พิธีบวงสรวง - เวลา 07.00 น. หอพระพุทธนวราชบพิตร ศาลพระภูมิหลวงปู่มงคลประสาท ศาลจีนเจ้าพ่อเพ่งนั้มกิมไซ ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร - เวลา 09.00 น. พระพุทธสิหิงค์ เจ้าพ่อหอแก้ว ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 2. วันที่ 7 เมษายน 2566 - เวลา 15.00 น. งานแถลงข่าวการจัดงาน "สงกรานต์กรุงเทพฯ '66" ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 3. วันที่ 12 เมษายน 2566 - เวลา 09.00 น. พิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ออกจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จุดจอดให้ประชาชนสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ 3 จุด 1. สวนสันติชัยปราการ เขตพระนคร 2. วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร 3. ปากคลองตลาด เขตพระนคร - เวลา 14.00 น. พิธีสวดพระปริตรรามัญเสกน้ำพระพุทธมนต์ - เวลา 18.00 น. พิธีเปิดงาน ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 4. วันที่ 13 เมษายน 2566 - เวลา 07.00 น. พิธีทำบุญตักบาตร พระสงฆ์ จำนวน 66 รูป - เวลา 08.00 น. พิธีรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 5. วันที่ 14 เมษายน 2566 - เวลา 15.00 น. พิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับ - เวลา 16.00 น. พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณฯ ประกอบพิธีพราหมณ์และเวียนเทียนสมโภช ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 6. กิจกรรมภายในงาน ระหว่างวันที่ 12 - 14 เมษายน 2566 เวลา 10.00 น. - 22.00 น. - การแจกจ่ายน้ำพระพุทธมนต์ และท่องเที่ยวเส้นทางสายมู - อุโมงค์น้ำพระพุทธมนต์ การสรงน้ำรูปหล่อพระเกจิอาจารย์ - การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย กิจกรรมรื่นเริงในรูปแบบงานวัด - จำหน่ายผลิตภัณฑ์ Bangkok Brand ของดี 50 เขต สรุปผลการจัดงานเทศกาลมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 "สงกรานต์ลานคนเมือง" ระหว่างวันที่ 12 - 14 เมษายน 2566 ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร - จำนวนผู้เข้าร่วมงาน 3 วัน ทั้งสิ้น 13,850 คน - ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Bangkok Brand และของดี 50 เขต รวมทั้งสิ้น 3 วัน เป็นเงิน 1,519,570 บาท สรุปแบบประเมินความคิดเห็นและความพึงพอใจสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมจำนวน 200 คน 1. เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงาม มากที่สุด 84 มาก 94 ปานกลาง 22 น้อย 0 น้อยที่สุด 0 2. การตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมกิจกรรมสงกรานต์ในรูปแบบที่ดี มีสาระกับชีวิต มากที่สุด 84 มาก 52 ปานกลาง 62 น้อย 2 น้อยที่สุด 0 3. การประชาสัมพันธ์โครงการ มากที่สุด 83 มาก 75 ปานกลาง 42 น้อย 0 น้อยที่สุด 0 4. รูปแบบของการจัดกิจกรรม มากที่สุด 74 มาก 54 ปานกลาง 52 น้อย 20 น้อยที่สุด 0 5. เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรม มากที่สุด 84 มาก 62 ปานกลาง 52 น้อย 2 น้อยที่สุด 0 6. สถานที่ที่ใช้จัดกิจกรรม มากที่สุด 110 มาก 77 ปานกลาง 12 น้อย 1 น้อยที่สุด 0 7. การอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม มากที่สุด 95 มาก 80 ปานกลาง 23 น้อย 2 น้อยที่สุด 0 8. ความเป็นสิริมงคลกับชีวิต มากที่สุด 95 มาก 90 ปานกลาง 15 น้อย 0 น้อยที่สุด 0 9. ความสุขในการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ไทย มากที่สุด 150 มาก 45 ปานกลาง 5 น้อย 0 น้อยที่สุด 0 9. แนวทางที่สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิต มากที่สุด 81 มาก 98 ปานกลาง 20 น้อย 1 น้อยที่สุด 0 10. ระดับความพึงพอใจในภาพรวมในการเข้าร่วมกิจกรรม มากที่สุด 112 มาก 88 ปานกลาง 0 น้อย 0 น้อยที่สุด 0 อยู่ระหว่างการตรวจรับพัสดุจ้างเหมาจัดงานเทศกาลมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 "สงกรานต์ลานคนเมือง"
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-03-27)
27/03/2566 : ได้รับผู้รับจ้างแล้ว อยู่ระหว่างตรวจร่างสัญญาฯ เทศกาลมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 กำหนดจัดงาน ระหว่างวันที่ 12 - 14 เมษายน 2566 เวลา 10.00 - 22.00 น. ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการขออนุมัติเงินจัดสรร งวดที่ 2 และอยู่ระหว่างดำเนินการสืบราคา การจัดงานเทศกาลมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-01-31)
31/01/2566 : จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และพิธีทำบุญวัดคู่เมือง เนื่องในประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2566 ในวันที่ 9 มกราคม 2566 ณ ห้องบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง หลักการและเหตุผล สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ได้รับนโยบายจากคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ในการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีไทยอันดีงามในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยกำหนดจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และพิธีทำบุญวัดคู่เมือง เนื่องในประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2566 ในวันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 ณ อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2566 และกระชับความสัมพันธ์ บูรณาการการดำเนินงานส่งเสริม รักษา และเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานครในฐานะเมืองกับวัด วัตถุประสงค์ เพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และเพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2566 พร้อมทั้งบูรณาการการดำเนินงานส่งเสริม รักษา เผยแพร่พระพุทธศาสนา รวมถึงกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพมหานครกับวัด ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีไทยอันดีงามในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา รายละเอียดการจัดงาน จัดพิธีในวันที่ 9 มกราคม 2566 ณ ห้องบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ พระสังฆาธิการกรุงเทพมหานคร (เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และเจ้าคณะเขต) เจ้าอาวาสวัดในกรุงเทพมหานคร 460 วัด ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการสภากรุงเทพมหานคร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย 1. สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กล่าวสัมโมทนีกยถา 2. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความสำคัญของการดำเนินงานส่งเสริมพระพุทธศาสนา ระหว่างวัดและกรุงเทพมหานคร สอดคล้องกับนโยบาย “กรุงเทพฯ 9 ดี” 3. คณะสงฆ์ และผู้ร่วมพิธี สวดมนต์ “บทเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล” และทำสมาธิ เจริญจิตตภาวนา เพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา 4. การถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ พระสังฆาธิการกรุงเทพมหานคร และเจ้าอาวาสวัดในกรุงเทพมหานคร กิจกรรมอื่นๆ 1. การให้บริการด้านสุขภาพและป้องกันโรคแด่พระสงฆ์ที่มาร่วมงาน โดยสำนักอนามัย และสำนักการแพทย์ เช่น การตรวจโรคทั่วไป การตรวจวัดดัชนีมวลกาย การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ 2. นิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของวัดกับเมือง 3. การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในการส่งเสริมการคัดแยกขยะต้นทาง การจัดการขยะ รวมถึงนโยบายไม่เทรวม โดยสำนักสิ่งแวดล้อม 4. จัดทำแบบสำรวจความต้องการของวัดในประเด็นต่างๆ โดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จัดส่งแบบสำรวจให้แต่ละวัดก่อนการจัดงาน และสรุปข้อมูลจัดลำดับความสำคัญ เพื่อสร้างโอกาสความร่วมมือให้วัดกับเมืองได้ดำเนินการร่วมกันอย่างเข้มแข็งต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 66_ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวดำเนินการสำเร็จตามที่เป้าหมายกำหนด
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 76.47
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **