ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ส่วนวัฒนธรรม
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครเป็นมหานครที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ วิถีชีวิต ความเชื่อ ศาสนา และประเพณีปฏิบัติที่มีความแตกต่างกัน เนื่องมาจากกระบวนการคิดและสัญลักษณ์ที่เกิดจากการสร้างของวัฒนธรรม ปัจจัยทางศาสนา เชื้อชาติ อายุ เพศ ชนชั้นทางสังคม และการศึกษา ซึ่งเป็นตัวกำหนดให้บุคคลมีความคิดความเชื่อ ความรู้สึก และการกระทำในลักษณะที่แตกต่างกัน จึงอาจกล่าวได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนในสังคมต้องทำความเข้าใจถึงวัฒนธรรมที่หลากหลาย อันจะทำให้เกิดการเคารพ และการยอมรับความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม สามารถอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง และพยายามปรับตัวให้เข้ากับคนทุกเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ตลอดจนเคารพในหน้าที่ สิทธิเสรีภาพของกันและกัน นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมไทย สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จึงจัดกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินงานด้านพหุวัฒนธรรม โดยสนับสนุนกิจกรรมทางวัฒนธรรม ข้อมูลและองค์ความรู้ต่างๆเพื่อให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ เข้าใจ และเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
23071000/23071000
1. เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์วัฒนธรรม และตระหนักถึงคุณค่าที่จะรักษาไว้ให้คงอยู่ 3. เพื่อสร้างกลไกความรู้ความเข้าใจด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครให้แก่ประชาชน 4. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ความเป็นมา วิถีชีวิต ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร
เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานด้านพหุวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-26)
26/09/2566 : 1. วันที่ 31 สิงหาคม 2566 ร่วมพิธีปิดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และชมการแสดง “ ม่านน้ำแห่งพระมหากรุณาธิคุณ แม่แห่งแผ่นดิน” โดยมีคุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์ คุณศุภลักษณ์ อัมพุช ผู้บริหารภาคีเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน และผู้บริหารองค์กรต่างๆ ร่วมงาน ณ อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย 2. วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 14.30 น. นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ขึ้นบรรยายในงาน ‘’BACC TALK 15 เวทีทอล์กยกกำลัง 15 วาระ 15 ปี หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร‘‘ ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กิจกรรมในครั้งนี้มีศิลปินและผู้เชี่ยวชาญร่วมบรรยายและตอบคำถามแก่ผู้เข้าร่วมฟังบรรยายด้วย 3. วันที่ 4 กันยายน 2566 นายสมบูรณ์ หอมนาน ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เป็นประธานการประชุมการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) และประชุมผ่านระบบ Google Meet ประเด็นในการประชุมเกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปัญหาและอุปสรรคในการอนุญาตใช้พื้นที่สำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์ และการส่งเสริมพื้นที่ย่านสร้างสรรค์และแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นอัตลักษณ์ของสำนักงานเขต เป็นพื้นที่สำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ 4. วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 14.00 น. ร่วมรับมอบบัตรชมภาพยนตร์แมนสรวง ณ ห้องปลัดกรุงเทพมหานครในการนี้ นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นผู้แทนกรุงเทพมหานคร รับมอบบัตรชมภาพยนตร์แมนสรวงจำนวน 1000 ใบ จากบริษัท บี ออน คลาวด์ จำกัด ผู้ผลิตภาพยนตร์เรื่องแมนสรวง กิจกรรมในครั้งนี้เป็นไปเพื่อส่งเสริมซอฟต์ พาวเวอร์ ผ่านภาพยนตร์ไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม 5. วันที่ 5 กันยายน 2566 เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการปรับปรุงภูมิทัศน์ และซ่อมแซมผลงานประติมากรรมในอุทยานเบญจสิริ ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุม 1 สำนักสิ่งแวดล้อม โดยมีนายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมฯ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้การปรับปรุงภูมิทัศน์ และการซ่อมแซมประติมากรรมในอุทยานเบญจสิริเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม สามารถเพิ่มศักยภาพ ใช้พื้นที่สวนและการให้บริการประชาชนเป็นประโยชน์ต่อกรุงเทพมหานคร 6. วันที่ 8 กันยายน 2566 ได้ร่วมประชุมกับทีมนฤมิตไพรด์ซึ่งขอเข้าพบนายศานนท์ หวังสร้างบุญ เพื่อขอหารือเรื่อง World Pride การจัดงาน Bangkok Pride 2024 และการดำเนินงานด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ โดยที่ประชุมได้มีประเด็นการหารือดังนี้ 1. World Pride ซึ่งตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัดงานในปี 2028 2. Rainbow City นฤมิตไพรด์ได้เสนอให้กรุงเทพมหานครร่วมเป็นสมาชิกกับเครือข่าย Rainbow City เพื่อร่วมกันผลักดันเรื่องความเท่าเทียมทางเพศในกรุงเทพมหานคร 3. การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ เช่น กิจกรรมแดร็กควีนเล่านิทานในห้องสมุด 4. Bangkok Pride 2024 กำหนดจัดงานในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567 - 2 มิถุนายน 2567 โดยใช้พื้นที่การเดินขบวน Pride Parade จากสามย่านมิตรทาวน์ถึงถนนพระรามที่ 1 บริเวณสี่แยกปทุมวัน และจะมีการจัดงานอีกครั้งโดยใช้เส้นทางคลองผดุงกรุงเกษม 7. วันที่ 17 กันยายน 2566 เข้าร่วมพิธีเปิดกิจกรรมเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “การจัดการคลังและวัตถุพิพิธภัณฑ์สู่ความยั่งยืน” โดยมีนายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 8. วันที่ 18 กันยายน 2566 เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการป้ายประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร ณ ห้องประชุมบูรีรมย์ ชั้น 5 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) โดยชี้แจงในรายละเอียดการขอความอนุเคราะห์สนับสนุนการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม Galleries Nights ครั้งที่ 10 ของสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ซึ่งที่ประชุมมีมติเสนอให้ประชาสัมพันธ์กิจกรรมดังกล่าวในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2566 เป็นต้นไป 9. วันที่ 19 กันยายน 2566 นายนิรุตม์ เจียรสนอง Chief Marketing Officer บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) พร้อมคณะ เข้าพบนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อนำเสนอรายละเอียดการดำเนินงานของบริษัทและงาน CineAsia 2023 ครั้งที่ 27 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-7 ธันวาคม 2566 ณ ทรู ไอคอน ฮอลล์ ไอคอนสยาม ซึ่งเป็นงานนิทรรศการแสดงสินค้าและการประชุมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ระดับนานาชาติ ถือเป็นงานใหญ่ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ระดับโลก ทั้งในแวดวงเอเชียและฮอลลีวูด โดยมีนายสมบูรณ์ หอมนาน ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว นางสาวเยาวลักษณ์ พิมพะนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และนางสาวโศจิรัศมิ์ กุลศิริชัยวัฒน์ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอรายละเอียดของงานในครั้งนี้ด้วย 10. วันที่ 21 กันยายน 2566 เข้าร่วมงานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ณ อาคารอเนกประสงค์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ภายในงานมีกิจกรรมสำคัญ อาทิ การประชุมวิชาการทางวัฒนธรรม "วิจัยวัฒนธรรม ครั้งที่13" การเสวนา "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ขอขึ้นทะเบียนยูเนสโกในปี พ.ศ. 2567" รายการชุดไทยพระราชนิยม ประเพณีลอยกระทง มวยไทย การประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2565 การยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล กลุ่มบุคคล ชุมนุม องค์กรหรือหน่วยงานที่ทำคุณประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ 2565 การจัดกิจกรรม "1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น" ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่นสู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) "รสชาติ...ที่หายไป the lost taste ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566" และการคัดเลือกโรงเรียนดนตรีไทย 100 เปอร์เซ็นต์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566" 11. วันที่ 22 กันยายน 2566 เข้าร่วมกิจกรรม "สวมผ้าไทยทำบุญตักบาตร เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและสืบสานประเพณีไทย" (ครั้งที่ 8) ถวายภัตตาหารเช้า เครื่องจตุปัจจัยไทยธรรม รับน้ำพระพุทธมนต์ และร่วมใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป ณ ลานพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง 12. วันที่ 26 กันยายน 2566 ได้เข้าร่วมในงานเวที "เสียงจากคนพิการเส้นเลือดฝอยกรุงเทพมหานคร" (คนพิการเส้นเลือดฝอยอินแอ็คชั่น) ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อส่งเสริมให้เกิดเวทีประชาคมคนพิการฯ รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ความต้องการของผู้พิการ และร่วมขับเคลื่อนนโยบายคนพิการ 5 ดี ประกอบด้วย ด้านสุขภาพดี ด้านเรียนดี ด้านเศรษฐกิจดี ด้านเดินทางดี และด้านบริหารจัดการดี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้ดีขึ้น
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-31)
31/08/2566 : 1. วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 เข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา และการประกาศผลการทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2566 (ผู้อ่านคัมภีร์อัลกุรอานแบบทำนองเสนาะ) เพื่อเป็นผู้แทนกรุงเทพมหานคร เข้าทดสอบงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ณ อาคารหอประชุม ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ เขตหนองจอก 2. วันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ร่วมจัดสถานที่สำหรับการจัดพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันอาสาฬหบูชา ประจำปี 2566 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2566 ณ พระอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนกำลังพลในการจัดสถานที่จากฝ่ายเทศกิจ เขตพระนคร การจัดโต๊ะตักบาตรจากสำนักการโยธา และการประดับตกแต่งไม้ดอกไม้ประดับจากสำนักสิ่งแวดล้อม 3. วันที่ 1 สิงหาคม 2566 ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 66 รูป เนื่องในวันอาสาฬหบูชา ประจำปี พ.ศ. 2566 ณ พระอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร 4. วันที่ 1 สิงหาคม 2566 ว่าที่ร้อยตรี ประภพ เบญจกุล หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมงานวัฒนธรรม ส่วนวัฒนธรรม และนักวิชาการวัฒนธรรม ได้ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งพระสงฆ์จำนวน 160 รูป ในงานส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันอาสาฬหบูชา ประจำปี 2566 ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 5. วันที่ 1 สิงหาคม 2566 นางพูลศรี เกียรติมณีรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนวัฒนธรรม ผู้แทนปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนักวิชาการวัฒนธรรม เข้าร่วมพิธีเวียนเทียน ณ บริเวณลานด้านหน้าองค์พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ในงานส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันอาสาฬหบูชา ประจำปี 2566 ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 6. วันที่ 3 สิงหาคม 2566 เข้าร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการประเมินชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับทราบการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการด้านการประเมินฯ ที่ผ่านมา เเละแผนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการด้านการประเมินฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 7. วันที่ 4 สิงหาคม 2566 ประชุมหารือเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง การจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ดังกล่าว บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ขอเชิญกรุงเทพมหานครร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ซึ่งภายในงานมีการจัดแสดงเพื่อเฉลิมพระเกียรติ คือ “การแสดงม่านน้ำแห่งพระมหากรุณาธิคุณแม่แห่งแผ่นดิน" กำหนดจัดระหว่างวันที่ 11 - 31 สิงหาคม 2566 ณ อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย 8. วันที่ 8 สิงหาคม 2566 เข้าร่วมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในประเด็นการเรียกเก็บค่าปรับจากการตั้งวางสิ่งของกีดขวางทางเท้าหรือพื้นที่สาธารณะซึ่งไม่สอดคล้องกับลักษณะการทำงานของการถ่ายทำภาพยนตร์ และการขอใช้พื้นที่ถ่ายทำภาพยนตร์ที่เป็นพื้นที่คาบเกี่ยวมีหน่วยงานดูแลรับผิดชอบมากกว่าหนึ่งหน่วยงาน รวมทั้งหารือแนวทางการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานครและกรมการท่องเที่ยว 9. วันที่ 8 สิงหาคม 2566 สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว นำคณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ และกลุ่มเขตกรุงธนใต้ เข้ารับฟังการบรรยายในหัวข้อ "การสืบสานศิลปะไทยโบราณหุ่นสายเสมา" โดย นายนิมิตร พิพิธกุล ศิลปินศิลปาธร ปี 2550 และรับชมการสาธิตการแสดงการชักหุ่น "สุดสาคร" "สิงโตนำโชค" และ "เจ้าเงาะ" ซึ่งเคยได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมเทศกาลหุ่นโลก ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก และผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้วิธีชักหุ่น และทดลองชักหุ่นด้วยตนเอง ณ โรงละครหุ่นสายเสมา เขตหลักสี่ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อศึกษาเรียนรู้ เก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาฯ และนำข้อมูลมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อรองรับการท่องเที่ยว 10. วันที่ 8 สิงหาคม 2566 เข้าร่วมงานแถลงข่าวการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง “ ม่านน้ำแห่งพระมหากรุณาธิคุณ แม่แห่งแผ่นดิน” ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า 11. วันที่ 11 สิงหาคม 2566 เข้าร่วมเปิดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และร่วมรับชมการแสดง “ ม่านน้ำแห่งพระมหากรุณาธิคุณ แม่แห่งแผ่นดิน” และร่วมจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา 12 สิงหาคม 2566 12. วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เข้าร่วมพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และจุดเทียนชัยถวายพระพร เพื่อเทิดพระเกียรติฯ ณ ห้างเดอะแจส รามอินทรา เขตบางเขน 13. วันที่ 13 สิงหาคม 2566 นางพูลศรี เกียรติมณีรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนวัฒนธรรม ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในกิจกรรม CITY CONNECTS UNLOCKING BANGKOK หัวข้อเกี่ยวกับนโยบายด้านศิลปะ การดำเนินงานด้านศิลปะของกรุงเทพมหานคร และแลกเปลี่ยนความเห็นการดำเนินการด้านศิลปะในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร ณ ร้าน Clazy Cafe โครงการ The Seasons Mall 14. วันที่ 15 สิงหาคม 2566 เข้าร่วมหารือแนวทางส่งเสริมการดำเนินงานความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องระหว่างกรุงเทพมหานคร และกรุงเตหะราน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในประเด็นการขอใช้พื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมอิหร่าน เช่น การฉายภาพยนตร์ การแสดงดนตรี การจัดนิทรรศการ และการจัดแสดงศิลปหัตถกรรม เป็นต้น ทั้งนี้ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว และสำนักงานการต่างประเทศ ยินดีให้ความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประจำประเทศไทยอย่างเต็มที่ 15. วันที่ 18 สิงหาคม 2566 เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ Today at Apple : Storytellers of Bangkok นักเล่าเรื่องกรุงเทพฯ ณ ห้อง Friends of BACC หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โครงการดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม - 30 กันยายน 2566 โดย มูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์, กรุงเทพมหานคร, สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย และ Apple มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง มีนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป อายุระหว่าง 16-22 ปี เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน เพื่อเติมเต็มความฝันสู่การเป็นคนทำหนัง พร้อมถ่ายทอดผลงานสะท้อนตัวตนผ่านหนังสั้นในหัวข้อ “กรุงเทพฯ ของเรา เรื่องราวของเรา” ซึ่งจะมีการถ่ายทำฯ ในย่านสร้างสรรค์ 6 ย่าน ของกรุงเทพมหานคร 16. วันที่ 21 สิงหาคม 2566 ประชุมหารือเรื่องความก้าวหน้าการจัดตั้ง One Stop Service การขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีประเด็นการหารือเกี่ยวกับแผนการจัดตั้งศูนย์ One Stop Service ณ อาคารทำการส่วนการท่องเที่ยว ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูล ข่าวสาร กฎ ระเบียบในเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 17. วันที่ 23 สิงหาคม 2566ประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ Zoom) เพื่อรับทราบการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ ที่ผ่านมา การสรุปรายงานผลการขับเคลื่อนตามแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2562-2565) ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และการดำเนินการของสมัชชาคุณธรรม ตลอดจนแนวทางการส่งเสริมคุณธรรมตามแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามคำสั่งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ เข้าร่วมการประชุม 18. วันที่ 25 สิงหาคม 2566 เข้าร่วมกิจกรรม "สวมผ้าไทยทำบุญตักบาตร เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและสืบสานประเพณีไทย" (ครั้งที่ 7) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนัก ถวายภัตตาหารเช้า เครื่องจตุปัจจัยไทยธรรม รับน้ำพระพุทธมนต์ และร่วมใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป ณ ลานพระอินทร์ทรงช้าง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง 19. วันที่ 25 สิงหาคม 2566 ร่วมทำบุญถวายภัตตาหารเพล เนื่องในโอกาสครบรอบ 15 ปี หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ณ ห้อง Friends of BACC ชั้น 6 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อความเป็นศิริมงคลในการดำเนินภารกิจด้านศิลปวัฒนธรรม สร้างขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนเป็นโอกาสในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างคณะกรรมการมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 20. วันที่ 25 สิงหาคม 2566 สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว นำคณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ และกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก เข้ารับฟังการบรรยายในหัวข้อ "การประดิษฐ์และการเชิดหุ่นกระบอกไทย" โดย นายนิเวศ แววสมณะ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2561 ประเภทเครื่องอื่นๆ (หุ่นกระบอกไทย) รางวัลวัฒนคุณาธร และรางวัลครูภูมิปัญญา พร้อมกับได้รับชมการสาธิตการแสดงการเชิดหุ่นกระบอก "พระสุธน มโนราห์" และผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทดลองประดิษฐ์หุ่นกระบอกเพื่อเก็บไว้เป็นผลงานที่ระลึกที่มีเพียงชิ้นเดียวในโลก ณ บ้านตุ๊กกะตุ่นหุ่นกระบอกไทย เขตหลักสี่ 21. วันที่ 25 สิงหาคม 2566 ร่วมงาน “Rhythm of Bangkok : Discover Bangkok through diversity of dance” พร้อมรับชมการแสดงการเต้นร่วมสมัย การเต้นบัลเลต์จากผู้ที่ได้รับคัดเลือกในการเข้าร่วม Workshop และรับชมการแสดงจากศิลปิน ซึ่งนำเสนอกระบวนการออกแบบท่าเต้นสด แสดงโดยคุณJames PETT, คุณTravis CLAUSEN-LNIGHT, คุณOliviero BIFULCO และ นักเต้น 4 ท่าน จาก Bangkok City Ballet Company พร้อมมอบช่อดอกไม้แก่ศิลปินชาวต่างประเทศ ร่วมกับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิตาลีประจําประเทศไทย และผู้แทนจาก British Council 22. วันที่ 29 สิงหาคม 2566 เข้าร่วมประชุมหารือเตรียมความพร้อมการจัดงานโครงการ 90 ปี ธรรมศาสตร์ : Human, Culture and Art for All และงานครบรอบ 80 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ ห้องประชุมคึกฤทธิ์ ปราโมช สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 23. วันที่ 30 สิงหาคม 2566 สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว นำคณะผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย บุคลากรสังกัดสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว รับฟังการบรรยายในหัวข้อ "หัตถศิลป์ทรงคุณค่า เครื่องประดับลงยาราชาวดี" โดยคุณพนิดา สมบูรณ์ เจ้าของมรดกภูมิปัญญาและผู้ผลิตเครื่องประดับแบรนด์ PANIDAR และผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับชมการสาธิตการเทสีลงยา และการเผาชิ้นงานให้มีความแวววาว ณ ศูนย์การเรียนรู้เครื่องประดับลงยาราชาวดี เขตวังทองหลาง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-28)
28/07/2566 : 1. วันที่ 29 มิถุนายน 2566 เข้าร่วมการหารือกับผู้แทนจากบริษัท นวกาญจน์โลหะชลบุรี จํากัด เกี่ยวกับการยกระดับฝาท่อไทยด้วยศิลปะ และสามารถถ่ายทอดอัตลักษณ์ของชุมชนในย่านเยาวราช-เจริญกรุง เพื่อปรับภูมิทัศน์และส่งเสริมการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร 2. วันที่ 30 มิถุนายน 2566 เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2/2566 ณ ห้องประชุม 501 ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการดำเนินงานของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครพร้อมกับหารือเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้การดำเนินงานและการบริหารจัดการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย 3. วันที่ 30 มิถุนายน 2566 เข้าร่วมงาน This is Pride of Siam 2023 และร่วมเดินขบวนพาเหรดจากสยามสแควร์ซอย 5 Siam Square Walking Street ถึงเวทีจัดกิจกรรมบริเวณ Block I สยามสแควร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเรื่องสิทธิเรื่องการสมรสเท่าเทียม และสนับสนุนให้กลุ่ม LGBTQ+ มีพื้นที่ในการแสดงออก โดยกรุงเทพมหานครได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ฯลฯ เพื่อร่วมกันจัดงานในครั้งนี้ 4. วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการระดมทุนและบริหารสิทธิประโยชน์โครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ครั้งที่ 1/2566 ด้วยกระทรวงวัฒนธรรม ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการระดมทุนและบริหารสิทธิประโยชน์โครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 โดยมีผู้แทนกรุงเทพมหานคร เป็นคณะกรรมการระดมทุนและบริหารสิทธิประโยชน์ ทั้งนี้ โครงการการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ได้กำหนดจัดขึ้นในแนวคิด "The Open World (เปิดโลก)" ระหว่างวันที่ 9 ธันวาคม 2566 - 30 เมษายน 2567 ณ พื้นที่ อ.เมือง และ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย 5. วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 สำรวจพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะกลางแจ้ง กลุ่มเขตกรุงเทพฯ กลาง ได้แก่ สวนรมณีนาถ เขตพระนคร และบริเวณคลองโอ่งอ่าง เขตสัมพันธวงศ์ เพื่อคัดเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสม สามารถจัดแสดงงานศิลปะกลางแจ้ง ตามนโยบายจัดแสดงงานศิลปะกลางแจ้งทุกมุมเมืองเป็นพื้นที่ศิลปะ 6. วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 ให้การต้อนรับ Mr. Wen Zhanbin เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำเทศบาลเมืองซัวเถา และคณะสำนักงานการต่างประเทศแห่งเทศบาลเมืองซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสเดินทางมาเยือนกรุงเทพมหานคร และหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวระหว่างเมืองซัวเถาและกรุงเทพมหานคร 7. วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ร่วมประชุมกับพระสุวิมลธรรมาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังฤษฎิ์ และคณะผู้จัดงานเทศน์มหาชาติ เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี 2566 เพื่อหารือรายละเอียดการจัดงาน พร้อมสำรวจสถานที่สำหรับเตรียมการจัดพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวันอาสาฬหบูชา ประจำปี 2566 ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ 8. วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 นักวิชาการวัฒนธรรมเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดนิทรรศการและพระราชทานรางวัลศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 12 จัดแสดงในชื่อ รักโลก-Cherish the World โดยนำเสนอในแง่มุมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ณ ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 9. วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 รับฟังการนำเสนอโครงการเพื่อนหอศิลปฯ (Friend’s of Bacc) โดยมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และได้ร่วมกันหารือ วิเคราะห์ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินโครงฯ ให้ถูกต้องตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบริหารจัดการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ระหว่างกรุงเทพมหานคร และมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และสอดคล้องต่อข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 10. วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 เข้าประชุมร่วมกับคณะกรรมการการวัฒนธรรม การท่องเที่ยวและกีฬา กรรมการมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยคณะกรรมการฯ ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านศิลปวัฒนธรรมที่นานาชาติให้การยอมรับ 11. วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิดงานวิถีทัศน์วัฒนธรรม (Look up BKK) ซึ่งกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 20-24 กรกฎาคม 2566 ณ มิวเซียมสยาม เขตพระนคร ภายในงานได้รับเกียรติจาก นางสาวศศิธร ประสิทธิ์พรอุดม (สก.เขตพระนคร) นายเฉลิมพล โชตินุชิต รองปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม นายชาญยุทธ เศวตสุวรรณ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกรุงเทพฯ นายสหรัฐ โพธิโต รองผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกรุงเทพฯ คุณสุขุมาลย์ ผดุงศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ นายธวัช มนูธรรมธร ประธานสภาวัฒนธรรมเขตสาทร รองประธานสภาวัฒนธรรมเขตสัมพันธวงศ์ นางสาววรารัตน์ ระย้า กรรมการและเลขานุการสภาวัฒนธรรมเขตลาดกระบัง ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธี 12. วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 เข้าร่วมกิจกรรม "สวมผ้าไทยทำบุญตักบาตร เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและสืบสานประเพณีไทย" (ครั้งที่ 6) ผู้อำนวยการสำนักอนามัย เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักอนามัย ถวายภัตตาหารเช้า เครื่องจตุปัจจัยไทยธรรม รับน้ำพระพุทธมนต์ และร่วมใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน 5 รูป ณ ลานพระอินทร์ทรงช้าง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง 13. วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 นายสิงห์ ลิ้มพิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทย ประจำปี 2566 ณ พิพิธภัณฑ์บ้านจิรายุ - พูนทรัพย์ และห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้บ้านจิรายุ - พูนทรัพย์ พร้อมทั้งร่วมพิธีถวายราชสักการะสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติ และในโอกาสที่องค์การ UNESCO ถวายพระเกียรติยกย่องเป็นบุคคลแบบอย่างด้านการศึกษาและวัฒนธรรม 14. วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ว่าที่ร้อยตรี ประภพ เบญจกุล นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการพิเศษ เข้าร่วมประชุมผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการการคัดเลือกกิจกรรม "1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น" (กรุงเทพมหานคร) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) "รสชาติ... ที่หายไป The Lost Taste" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 15. วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 เข้าร่วมทำบุญเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก จุดเทียนบูชาธรรมขันน้ำพระพุทธมนต์ และรับฟังเทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก เนื่องในงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี 2566 ณ พระอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร โดยกรุงเทพมหานคร ร่วมเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์ "กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์" โดยหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครร่วมทำบุญตามกำลังศรัทธา 14. วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เจริญจิตตภาวนาถวายพระพรชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2566 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เขตพระนคร 16. วันที่ 23 กรกฎาคม 2566 เป็นประธานร่วมในพิธีปลงผมนาค ในโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ 169 รูป เนื่องในโอกาสวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม - 14 สิงหาคม 2566 ณ มูลนิธิศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี 17. วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 เป็นประธานร่วมในพิธีมอบผ้าไตรพระราชทาน ในโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติ 169 รูป เนื่องในโอกาสวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม - 14 สิงหาคม 2566 ณ มูลนิธิศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี 18. วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 นายสิงห์ ลิ้มพิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เป็นผู้แทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เเละนักวิชาการวัฒนธรรม เข้าร่วมในพิธีปัจฉิมนิเทศ โครงการอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ 3 ณ อาคารสิริภักดีธรรม วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี 19. วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 เข้าร่วมพิธีเปิดการทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2566 รวมถึงดำเนินการติดตามและหารือเกี่ยวกับโครงการจัดการทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2566 เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร ใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือกิจการที่ได้รับเงินอุดหนุนจากกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ เขตหนองจอก
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : 1. วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 ร่วมงานเปิดป้าย Road to Bangkok World Pride 2028 ณ ลานใบบัว Sky walk หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 2. วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เข้าร่วมการประชุมเตรียมการหารือฝ่ายไทยเพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดงาน Hong Kong Week 2023 ที่กรุงเทพฯ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom) 3. วันที่ 9 มิถุนายน 2566 เข้าร่วมการประชุมกับคณะทำงานคนดีเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Cisco Webex Meetings) 4. วันที่ 12 มิถุนายน 2566 เข้าพบผู้แทนจากบริษัท แอร์เอเชีย ซูเปอร์แอพ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการ airasia Superapp แอปพลิเคชั่นด้านการท่องเที่ยวและการเดินทาง โดยทางบริษัทฯ ได้จัดโครงการ Sleepless BKK - Stay & Pride Month 5. วันที่ 13 มิถุนายน 2566 เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการจัดงานเทิดไท้องค์ราชัน และทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2566 ครั้งที่ 1/2566 เพื่อถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา และเพื่อคัดเลือกกอรี (ผู้อ่านคัมภีร์อัลกุรอานแบบทำนองเสนาะ) เป็นผู้แทนกรุงเทพมหานคร เข้าทดสอบในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย 6. วันที่ 21 มิถุนายน 2566 เข้าร่วมประชุมหารือกับ คุณ Charlotte Helminger ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตราชรัฐลักเซมเบิร์กประจำประเทศไทย และ น.ส.พรรณราย จริงจิตร ผู้อำนวยการสำนักงานการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นเรื่องศิลปินชาวลักเซมเบิร์กมีความประสงค์ดำเนินกิจกรรมวาดภาพฝาผนัง (Street Art) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7. วันที่ 22 มิถุนายน 2566 ดำเนินการบันทึกเทปการจัดทำวีดิทัศน์ เพื่อนำไปฉายในการประชุม the 11th Shenzhen Art Museum Forum ณ เมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน หัวข้อ การดำเนินการพิพิธภัณฑ์ศิลปะในยุคใหม่ โดยมีนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้บรรยายในวีดิทัศน์ดังกล่าว 8. วันที่ 22 มิถุนายน 2566 ร่วมเป็นวิทยากร ในกิจกรรม Special Talk : การเสวนา "อาชีวศึกษากับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์" ณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) 9. วันที่ 24 มิถุนายน 2566 ร่วมงาน KHAOSAN PRIDE MONTH 2023 ณ Buddy Lodge Hotel ถนนข้าวสาร เขตพระนคร 10. วันที่ 25 มิถุนายน 2566 เข้าร่วมกิจกรรม “เดินเที่ยวชมงานศิลปะในสวนป่ากลางเมืองกับศิลปิน” ณ สวนป่าเบญจกิติ 11. วันที่ 25 มิถุนายน 2566 ร่วมเดินขบวนพาเหรด “PRIDE IN LOVE" FINALE MARDI GRAS ณ อุทยานสวนเบญจสิริ 12. วันที่ 26 มิถุนายน 2566 ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระกุศล เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ ๘ รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-05-26)
26/05/2566 : 1. วันที่ 25 เมษายน 2566 รับมอบโล่ขอบคุณหน่วยงานสนับสนุนการจัดงานใต้ร่มพระบารมี 241 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีมอบโล่ขอบคุณหน่วยงานสนับสนุนการจัดงานฯ 2. วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าพบนางซีบีย์ เดอ การ์ตีเย ดีฟว์ เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเบลเยียมประจำประเทศไทย ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเบลเยียมประจำประเทศไทย ตามการเรียนเชิญของท่านเอกอัครราชทูตฯ เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินความร่วมมือที่เป็นไปได้ระหว่างกรุงเทพมหานครกับราชอาณาจักรเบลเยียม และการริเริ่มดำเนินความร่วมมือสำหรับปีถัดไป เช่น ศิลปะริมทาง มรดกสะพานไทย-เบลเยียม โดยมีผู้แทนจากสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว และผู้แทนจากสำนักงานการต่างประเทศ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมการประชุมหารือด้วย 3. วันที่ 17 พฤษภาคม 2566 เข้าร่วมการประชุมเรื่องการเตรียมการจัดงาน Bangkok Pride 2023 ณ ห้องประชุมแผนกอาคาร ชั้น B1 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ที่ประชุมประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล เจ้าหน้าตำรวจสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน และนฤมิตไพรด์ โดยทีมนฤมิตไพรด์ได้นำเสนอข้อมูลรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมไพรด์พาเหรดซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 4 มิถุนายน 2566 เช่น เส้นทางขบวนพาเหรด การจัดรูปแบบขบวน มาตรการรักษาความปลอกภัย ฯลฯ ให้ที่ประชุมรับทราบและให้ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรม 4. วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ร่วมงานแถลงข่าวการจัดงานบางกอกไพรด์ 2023 (Bangkok Pride 2023) ณ โรงแรม W Bangkok ซึ่งกิจกรรมภายในงานได้มีการกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของงาน โดยมีผู้แทนภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และภาครัฐร่วมกล่าวถ้อยแถลงด้านความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) ในมิติต่างๆ งานบางกอกไพรด์ 2023 (Bangkok Pride 2023) มีกำหนดจัดในวันที่ 4 มิถุนายน 2566 ภายใต้แนวคิด ‘’Beyond Gender ความไม่เท่าเทียมทางเพศใดที่คุณอยากก้าวข้าม’’ 5. วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ประชุมการเตรียมการจัดงานบางกอกไพรด์ 2023 (Bangkok Pride 2023) โดยผู้ร่วมประชุมประกอบด้วยผู้บริหารจากสำนักต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ปทุมวัน สน.ลุมพินี สน.พญาไท ผู้บริหาร ขสมก. เจ้าหน้าที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ทีมนฤมิตไพรด์ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย Siam Piwat Central World MBK ฯลฯ เพื่อร่วมประชุมเตรียมความพร้อมก่อนการจัดงานบางกอกไพรด์ 2023
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-25)
25/04/2566 : 1. วันที่ 29 มีนาคม 2566 Mr. Nguyen Thanh Huy ผู้ช่วยเลขานุการด้านการพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตเวียดนาม ประจำประเทศไทย และ Mr. Tran Dinh Van Trinh ผู้บริหารบริษัท Top Group พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าพบเพื่อหารือเรื่องการจัดกิจกรรม Xin Chao! Sawadee Bangkok Festival กับผู้แทนกรุงเทพมหานคร ณ ห้องเอราวัณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2. วันที่ 29 มีนาคม 2566 เข้าร่วมพิธีแถลงข่าวงาน "Water Festival 2023 เทศกาลวิถีน้ำ...วิถีไทย" ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 ณ อาคารสิริภักดีธรรม ชั้น 3 วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี 3. วันที่ 3 เมษายน 2566 เข้าร่วมพิธีเปิดงาน "สร้างสันติภาพ สู่สันติสุข อโหสิกรรม ทำบุญประเทศไทย เทิดไท้องค์ราชันย์" ณ อาคารศักดิ์สิทธิ์อัลลอยบางบอน เขตบางบอน 4. วันที่ 11 เมษายน 2566 เข้าร่วมเปิดงาน "ไอคอนสยาม มหัศจรรย์เจ้าพระยา มหาสงกรานต์ 2566" (The ICONIC Songkran Festival 2023 at ICONSIAM) ณ ริเวอร์ พาร์ค ชั้น G ไอคอนสยาม 5. วันที่ 19 เมษายน 2566 ร่วมประชุมการเตรียมการจัดกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์งาน Bangkok Pride ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง และได้หารือเรื่องการสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมเรื่องความหลากหลายทางเพศ อาทิ การจัดการจราจรในเส้นทางการเดินขบวนไพรด์พาเหรดจากสนามศุภชลาศัย สิ้นสุดที่ลานหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ การประชาสัมพันธ์เทศกาล และการใช้โลโก้ Bangkok Pride การขอความอนุเคราะห์หน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรม Bangkok Pride และการสมัครเข้าร่วม Rainbow City ของกรุงเทพมหานคร 6. วันที่ 21 เมษายน 2566 ชี้แจงรายละเอียดการขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์งานมหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติ กรุงเทพฯ ครั้งที่ 25 บริเวณป้ายประชาสัมพันธ์ตอม่อรถไฟฟ้า BTS และร่วมแสดงความคิดเห็นในการพิจารณาร่างหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้ใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครด้วย ณ ห้องเอราวัณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร 7. วันที่ 21 เมษายน 2566 เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานใต้ร่มพระบารมี 241 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-27)
27/03/2566 : 1. วันที่ 1 มีนาคม 2566 เข้าร่วมพิธีเปิดงานประจำปีนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ปิดทองหลวงพ่อโต ทำบุญบ่อน้ำพระพุทธมนต์ สมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ณ วัดอินทรวิหาร 2. วันที่ 6 มีนาคม 2566 จัดพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี พ.ศ. 2566 วันที่ 6 มีนาคม 2566 ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายพระพรชัยมงคล และร่วมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ณ บริเวณลานด้านหน้าองค์พระศรีศากยะทศพลญาณ พุทธมณฑล จ.นครปฐม 3. วันที่ 13 มีนาคม 2566 ให้การต้อนรับคณะบางกอกซิตี้บัลเลต์ เพื่อขอรับการสนับสนุนโครงการ Bangkok City Ballet Dance Gala 2023 ณ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 4. วันที่ 13 มีนาคม 2566 ประชุมคณะทำงานการถ่ายทำภาพยนตร์และสื่อบันเทิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องสุทัศน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมสำรวจ ศึกษาปัญหา อุปสรรคการดำเนินการถ่ายทำภาพยนตร์ และให้ข้อมูลแนวทางในการปรับปรุงระเบียบ วิธีการการดำเนินงาน และการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัยเกี่ยวกับการขออนุญาตการถ่ายทำภาพยนตร์และสื่อบันเทิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 5. วันที่ 16 มีนาคม 2566 ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และลานคนเมือง สู่พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2566 6. วันที่ 20 มีนาคม 2566 ลงพื้นที่สวนลุมพินีเพื่อวางแผนการจัดงาน Bangkok Pride 2023 โดยในงานจะมีการเดินขบวนไพรด์พาเหรดซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่สวนลุมพินี จึงได้มีการลงพื้นที่เพื่อวัดขนาดจุดตั้งเวทีกิจกรรม เต็นท์ ซุ้มประตู และจุดการวางขบวน 7. วันที่ 22-24 มีนาคม 2566 จัดกิจกรรมเสวนาวิชาการเครือข่ายด้านองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ณ ห้องอเนกประสงค์ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายวิชาการในสาขาการออกแบบเครื่องกาย สาขาเรขศิลป์ และสาขาภาพยนตร์ 8. วันที่ 25-26 มีนาคม 2566 เข้าร่วมพิธีปลงผมและพิธีบรรพชาอุปสมบทหมู่ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ พระอุโบสถ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : 2 กุมภาพันธ์ 2566 ร่วมงานแถลงข่าว Bangkok Pride 2023 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยทีมนฤมิตไพรด์และเครือข่ายต่างจังหวัดได้กล่าวถึงการเตรียมการจัดงาน Pride ในเดือนมิถุนายน 2566 และการส่งเสริมด้านความเท่าเทียม 3 กุมภาพันธ์ 2566 ประชุมคณะทำงานพัฒนาศาลาว่าการกรุงเทพมหานครด้านเนื้อหา ครั้งที่ 1/2566 โดยมีคณะทำงานประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งมีองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์ ศิลปะ สถาปัตยกรรม เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมได้เสนอให้มีการตั้งคณะที่ปรึกษาเพื่อศึกษาวิจัยการพัฒนาศาลาว่าการกรุงเทพมหานครในด้านต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 14 กุมภาพันธ์ 2566 เข้าเยี่ยมชมห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์บ้านจิรายุ - พูนทรัพย์ เพื่อวางแผนเตรียมการจัดกิจกรรมวันภาษาไทย ประจำปี 2566 16 กุมภาพันธ์ 2566 ประชุมเตรียมการจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา พ.ศ. 2566 ซึ่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 - 6 มีนาคม 2566 ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 66 รูป กิจกรรมประกวดบรรยายธรรม การแสดงศิลปวัฒนธรรม การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ฯลฯ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ประชุมหารือเรื่องการจัดงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ เพื่อรองรับการเสนอ "สงกรานต์ในประเทศไทย" เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ต่อองค์การยูเนสโก รวมทั้งการดำเนินงานด้านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (ICH) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับกรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-31)
31/01/2566 : 1. วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เข้าร่วมแห่และสมโภชพระบรมสารีริกธาตุหรือประเพณีชักพระวัดนางชี เพื่อร่วมอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมแจกเอกสารให้ความรู้ และจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้ในรูปแบบโรลอัพให้แก่ประชาชนที่มาร่วมงาน ณ วัดนางชีโชติการาม เขตภาษีเจริญ 2. วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 จัดพิธีทอดผ้าป่าสมทบทุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทยของกรุงเทพมหานคร ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหานคร 3. วันที่ 9 ธันวาคม 2565 เข้าร่วมชมกิจกรรมแฟชั่นวีคผ้าไหมไทยนานาชาติ ครั้งที่ 3 ณ สยามพารากอน 4. วันที่ 15 ธันวาคม 2565 เข้าร่วมการรับมอบต้นคริสมาสต์สดจากประเทศแคนาดา เพื่อส่งมอบความสุขให้ประชาชน ณ ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 5. วันที่ 20 ธันวาคม 2565 ร่วมงานเทศน์มหาชาติ เฉลิมพระเกียรติพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากร์เกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (เสด็จเตี่ย) เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ 142 ปี ณ วัดบางแวก เขตภาษีเจริญ และร่วมบริจาคทรัพย์ทำบุญตามกำลังศรัทธา 6 วันที่ 24 ธันวาคม 2565 ผู้บริหารกรุงเทพมหานครและเจ้าหน้าที่ส่วนวัฒนธรรม เข้าร่วมงานกิจกรรมดนตรีในสวน ซึ่งกรุงเทพมหานคร ร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ และสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย ซึ่งกลุ่มงานส่งเสริมงานวัฒนธรรม เป็นผู้ประสานการสนับสนุนการจัดงาน 7. วันที่ 27 ธันวาคม 2565 ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมในพิธีเปิดงานสมโภช 215 ปี วัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งกลุ่มงานส่งเสริมงานวัฒนธรรม เป็นผู้ประสานการสนับสนุนการจัดงานสมโภช ระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2565 - 1 มกราคม 2566 ทั้งภายในบริเวณวัดสุทัศนเทพวราราม และลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 8. วันที่ 28 ธันวาคม 2565 ผู้บริหารกรุงเทพมหานครและกลุ่มงานส่งเสริมงานวัฒนธรรม เข้ากราบนมัสการสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เจ้าคณะใหญ่หนกลาง และพระธรรมวชิรมุนี วิ เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เรื่องการจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวิดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และพิธีทำบุญวัดคู่เมือง เนื่องในประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2566 ณ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร 9. วันที่ 9 มกราคม 2566 จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวิดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และพิธีทำบุญวัดคู่เมือง เนื่องในประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2566 10. วันที่ 20 - 22 มกราคม 2566 จัดงานเทศกาลภาพยนตร์กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การประกวดภาพยนตร์สารคดีสั้นกรุงเทพมหานคร กิจกรรมการเสวนา การแสดงวงดนตรีเยาวชน การฉายหนังกลางแปลง 11. วันที่ 25 - 29 มกราคม 2566 จัดงานเทศกาลศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ณ ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การแสดงศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย, Art & Craft Mini Market, Street Performance, Workshop งานศิลปะ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 6643_จำนวนโครงการ/กิจกรรม ที่กรุงเทพมหานครจัดขึ้นเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมที่หลากหลายทั้งในเชิงรูปแบบและลักษณะกิจกรรมให้แก่ประชาชน
ค่าเป้าหมาย โครงการ/กิจกรรม : 4
ผลงานที่ทำได้ โครงการ/กิจกรรม : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **