ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ส่วนวัฒนธรรม
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน การตั้งถิ่นฐานของคนในอดีตเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีจุดร่วมในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ ซึ่งส่งผลให้บริบททางสังคมในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความหลากหลาย เกิดเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ต่อมาเมื่อกรุงเทพมหานครเกิดการพัฒนาในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบสาธารณูปโภค ระบบขนส่ง สิ่งก่อสร้าง อาคารบ้านเรือน รวมถึงการเข้ามาของสื่อสังคมออนไลน์ ล้วนทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนและแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครค่อยๆ สูญหายไป สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จึงจัดทำโครงการสำรวจค้นหาพหุวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการสำรวจค้นหาพหุวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร 6 กลุ่มเขต และรวบรวมเป็นฐานข้อมูล พัฒนาและปรับปรุงข้อมูลองค์ความรู้ เพื่อเชื่อมโยงและพัฒนาให้กลายเป็นแผนที่ทางวัฒนธรรม สามารถใช้ต่อยอดในการส่งเสริมและเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครสู่สาธารณชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต
23071000/23071000
1. เพื่อสำรวจค้นหาแหล่งมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร 6 กลุ่มเขต และรวบรวมเป็นฐานข้อมูล พัฒนาและปรับปรุงข้อมูลองค์ความรู้พหุวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่พหุวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครสู่สาธารณชน
ดำเนินการสำรวจค้นหาพหุวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร 6 กลุ่มเขต
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All |
๓.๔ - สังคมพหุวัฒนธรรม |
๓.๔.๑ คนกรุงเทพฯที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขและ% |
๓.๔.๑.๑ สร้างเนื้อหาความรู้ด้านพหุวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-31)
31/08/2566 : ดำเนินการปรับแก้ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันเรียบร้อยแล้ว จำนวน 1 รายการ คือ ประเพณีชักพระวัดเซิงหวาย กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ กิจกรรมสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลพหุวัฒนธรรมเพื่อคัดเลือกวัฒนธรรมที่โดดเด่นของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการเสร็จสิ้น จำนวน 6 รายการ เรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-28)
28/07/2566 : กำลังดำเนินการปรับแก้ข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน จำนวน 1 รายการ คือ ประเพณีชักพระวัดเซิงหวาย กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : ดำเนินการปรับแก้ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันเรียบร้อยแล้ว จำนวน 1 รายการ คือ ประเพณีอัฐมีบูชา วัดด่าน กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ และกำลังดำเนินการปรับแก้ข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน จำนวน 1 รายการ คือ ประเพณีชักพระวัดเซิงหวาย กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-05-26)
26/05/2566 : ข้อมูลพหุวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 รายการ กำลังดำเนินการปรับแก้ข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ดังนี้ 1. ประเพณีอัฐมีบูชา วัดด่าน กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ 2. ประเพณีชักพระวัดเซิงหวาย กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-04-24)
24/04/2566 : ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลและแก้ไขข้อมูลพหุวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร 6 กลุ่มเขต ที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน 4 รายการ เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ 1. เทศกาลตรุษจีน กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง 2. กระตั้วแทงเสือฝั่งธนบุรี กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ 3. ภูมิปัญญาการจัดการระบบนิเวศน์คลองบางมด กลุ่มเขตกรุงธนใต้ 4. โขนสด กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก ส่วนข้อมูลพหุวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 รายการ กำลังดำเนินการปรับแก้ข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ดังนี้ 5. ประเพณีอัฐมีบูชา วัดด่าน กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ 6. ประเพณีชักพระวัดเซิงหวาย กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-03-27)
27/03/2566 : กำลังดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลและแก้ไขข้อมูลพหุวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร 6 กลุ่มเขต ที่ได้รับการคัดเลือก 1. เทศกาลตรุษจีน กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง 2. ประเพณีอัฐมีบูชา วัดด่าน กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ 3. ประเพณีชักพระวัดเซิงหวาย กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ 4. โขนสด กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก 5. กระตั้วแทงเสือฝั่งธนบุรี กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ 6. ภูมิปัญญาการจัดการระบบนิเวศน์คลองบางมด กลุ่มเขตกรุงธนใต้
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-02-28)
อยู่ระหว่างขออนุมัติกิจกรรมสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลพหุวัฒนธรรมเพื่อคัดเลือกวัฒนธรรมที่โดดเด่นของกรุงเทพมหานคร 6 กลุ่มเขต
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-31)
อยู่ระหว่างการเตรียมขออนุมัติดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **