ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองส่งเสริมอาชีพ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สำนักพัฒนาสังคมในฐานะกำกับดูแลโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครที่จัดการศึกษาในสาขาอาชีพต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสังคม ช่วยเหลือผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในเวลาปกติผู้ว่างงานและผู้ถูกเลิกจ้างงานได้มีโอกาสศึกษาต่อด้านวิชาชีพตามความถนัด ความสามารถ ความต้องการของผู้เรียน สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างพอเพียง ตลอดจนการจัดหลักสูตรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น หลักสูตรระยะสั้นของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการใช้เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนและนำพาผู้สอนและผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันอย่างต่อเนื่องสำนักงานการส่งเสริมอาชีพจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้มีความหลากหลายและทันต่อการเปลี่ยนแปลงและตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานตลอดจนสามารถนำมาพัฒนาระบบการศึกษาวิชาชีพให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
24040000/24040000
เพื่อปรับปรุงหลักสูตรระยะสั้นแบบฐานสมรรถนะของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพ มีความทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
ปรับปรุงหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร 1 หลักสูตร
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-29)
29/09/2566 : นักศึกษาจากโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร หลักสูตรพนักงานแม่บ้านโรงแรมระดับต้น 54 ชั่วโมง ผ่านหลักสูตร 64 คน ได้ทำงาน ณ โรงแรมที่ฝึกงาน จำนวน 6 คน
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-29)
29/08/2566 : - หลักสูตรงานพนักงานแม่บ้านโรงแรมระดับต้น จำนวน 54 ชั่วโมง ทบทวนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นแบบฐานสมรรถนะของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 ณ โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ดินแดง 1) โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมประชุม มติที่ประชุมให้เพิ่มระยะเวลาฝึกปฏิบัติให้มากขึ้นและปรับจำนวนเนื้อหาให้มากขึ้นเดิมฝึกปฏิบัติ 7 วัน ปรับเป็นไม่เกิน 15 วัน เพิ่มการฝึกปฏิบัติจริงที่โรงเรียน โดยจัดให้มีห้องจำลอง สถานที่เสมือนจริง ก่อนที่จะไปฝึกภาคปฏิบัติที่สถานประกอบการโรงแรม และการรับสมัครครั้งต่อไป ต้องคัดกรองผู้ที่มาสมัครเรียน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้สมัครเรียนมีความต้องการที่จะประกอบอาชีพ โดยให้สถานประกอบการเป็นผู้คัดเลือก เนื่องจากผู้สมัครเรียนบางคนต้องการทำงานจริง บางคนต้องการทำเป็นงานอดิเรก บางคนต้องการไปทำงานต่างประเทศและบางคนอยากได้ใบประกาศนียบัตร บางกลุ่มมีงานทำอยู่แล้ว มาเรียนเพื่อต้องการรู้ทักษะอาชีพใหม่ - หลักสูตร Care Giver “ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง เริ่มจัดการเรียนการสอน วันที่ 7 สิงหาคม 2566 ณ โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ดินแดง 1) มีนักศึกษา 40 คน โดยรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รศ.ดร.ทวิดา กมลเวช และนายศานนท์ หวังสร้างบุญ เป็นประธานพิธีเปิดหลักสูตร
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-07-27)
27/07/2566 : - หลักสูตรงานพนักงานแม่บ้านโรงแรมระดับต้น จำนวน 54 ชั่วโมง แบ่งเป็นภาคทฤษฎี จำนวน 12 ชั่วโมง โดยวิทยากรผู้สอนเป็นผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิตและชมรมผู้บริหารงานแม่บ้านประเทศไทย และภาคปฏิบัติ จำนวน ๔๒ ชั่วโมง ทำการฝึกปฏิบัติงานในโรงแรมที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการ เช่น โรงแรม Centaragrand at central Plaza ladprao ,โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท , โรงแรมทองธาราริเวอร์วิว , โรงแรมแกรนด์ไดมอนด์สวีท มีผู้ให้ความสนใจสมัครเรียนผ่านระบบออนไลน์ รวม 212 คน รายงานตัวลงทะเบียนเรียน 80 คน ผู้ผ่านหลักสูตร จำนวน 64 คน ได้ทำงาน ณ โรงแรมที่ฝึกงาน จำนวน 6 คน และบางส่วนได้งานสถานที่อื่น เช่น จังหวัดภูเก็ต (หาดป่าตอง) , บางคนอยู่ระหว่างรอเดินทางไปทำงานต่างประเทศ กำหนดประเมินผลและทบทวนการใช้หลักสูตรในวันที่ 3 สิงหาคม 2566 ณ โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ดินแดง 1) เพื่อปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร และเปิดการเรียนการสอนต่อไป - หลักสูตร Care Giver “ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง” สำนักพัฒนาสังคม ร่วมกับโรงพยาบาลรามาธิบดีโดยโรงพยาบาลรามาธิบดีขอใช้หลักสูตรจากกระทรวงสาธารณสุข พร้อมจัดหาวิทยากร และอุปกรณ์การเรียนการสอนสำนักพัฒนาสังคมจัดหาสถานที่สำหรับการเรียนการสอน กำหนดเปิดเรียนวันที่ 7 สิงหาคม 2566 - พฤศจิกายน 2566 ณ โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ดินแดง 1)
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-06-29)
29/06/2566 : ผู้สมัครเรียน หลักสูตรแม่บ้านโรงแรมระดับต้น 54 ชั่วโมง จำนวน 212 คน ผู้เรียนจบหลักสูตร จำนวน 64 คน ได้งานที่ไปฝึกงานที่โรงแรม 6 คน 1. โรงแรม Centara grand at central Plaza ladprao จำนวน 1 คน 2. โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท จำนวน 3 คน 3. โรงแรมทองธาราริเวอร์วิว จำนวน 1 คน 4. โรงแรมแกรนด์ไดมอนด์สวีท จำนวน 1 คน ได้งานสถานที่อื่น เช่น จังหวัดภูเก็ต (หาดป่าตอง) , บางคนอยู่ระหว่างเตรียมตัวเดินทางไปทำงานต่างประเทศ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 69.00 (2023-05-31)
31/05/2566 : หลักสูตรแม่บ้านโรงแรมระดับต้น 54 ชม.เปิดการเรียนการสอน วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 ณ โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับชุมชนและโรงแรม เพื่อความสะดวกของผู้เรียนในการเดินทาง จำนวน ๖ แห่ง ได้แก่ 1. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ดินแดง ๑) 2. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (คลองเตย) 3. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ม้วน บำรุงศิลป์) 4. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (บางรัก) 5. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ประเวศ) 6. โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (กาญจนสิงห์หาสน์ฯ)
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-04-27)
หลักสูตรพนักงานแม่บ้านโรงแรมระดับต้น ได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2566 กำหนดเปิดเรียนตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-29)
อยู่ระหว่างดำเนินการ จัดทำหลักสูตรพนักงานแม่บ้านโรงแรม ระดับต้น โดยร่วมกับสมาคมโรงแรมไทย และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ปัจจุบันอยู่ระหว่างเสนอ และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบอนุมัติ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-02-27)
27/02/2566 : ได้รับอนุมัติหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นแบบฐานสมรรถนะ จำนวน 39 หลักสูตร เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 และอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำหลักสูตรแม่บ้านการโรงแรม ระดับ 1 โดยร่วมกับสมาคมโรงแรมไทยและสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-30)
30/01/2566 : วางแผนการดำเนินงาน
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2022-12-27)
27/12/2565 : วางแผนการดำเนินงาน
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-11-29)
29/11/2565 : -
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของหลักสูตรวิชาชีพ ที่เปิดสอนใหม่ตอบโจทย์ ตลาดงาน
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 5
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **