ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองส่งเสริมอาชีพ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สำนักพัฒนาสังคมมีหน้าที่ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบหรือนอกระบบ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบที่หมายถึง ผู้มีงานทำที่ไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน (ตามกฎหมายประกันสังคม และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541) และกรุงเทพมหานครก็ให้ความสำคัญไม่น้อยกว่ากลุ่มแรงงานที่อยู่ในระบบ เนื่องจากเป็นแรงงานที่ทำงานอิสระ ไม่มีสัญญาการจ้างงานจึงไม่ได้รับการคุ้มครองในระบบการประกันสังคมและสวัสดิการ ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่แน่นอน มีทักษะฝีมือในระดับล่างขาดโอกาสที่เพียงพอในการเข้าถึงองค์ความรู้ ทรัพยากร แหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพส่งให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม สำนักพัฒนาสังคมเล็งเห็นว่าแรงงานนอกระบบว่ามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจต้องได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเทียมแรงงานในระบบเพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงในการดำรงชีวิต จึงได้จัดทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้แรงงานนอกระบบและประชาชนทั่วไปรับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสวัสดิการทางสังคมและแหล่งทุนในการประกอบอาชีพ เพื่อผลักดันให้แรงงานนอกระบบ สามารถเข้าถึงสวัสดิการ/สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เกิดความมั่นคงในการดำเนินชีวิต อาทิ การประกันสังคมตามมาตรา 40 กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนที่ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมของกลุ่มอาชีพ เช่น กองทุนพัฒนาชุมชนกรุงเทพมหานคร กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การเข้ารับบริการของสถานธนานุบาล บริการสินเชื่อของธนาคารต่าง ๆ และแนะนำโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร 10 แห่ง เพื่อการพัฒนาทักษะในวิชาชีพเดิมและฝึกอบรมอาชีพใหม่ เพื่อสร้างอาชีพเสริมให้ตนเองและครอบครัว กลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอย และกลุ่มเกษตรกร
24040000/24040000
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-29)
29/09/2566 : สำนักงานการส่งเสริมอาชีพ ส่งหนังสือสำนักพัฒนาสังคม ที่ กท 1504/1748 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2566 ประชาสัมพันธ์การรับทราบและสำรวจการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมและแหล่งเงินทุนของแรงงานนอกระบบประจำปี พ.ศ.2566 พร้อมสำรวจการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมและแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ 50 เขต ตามกลุ่มเป้าหมาย มี 27 เขตทำแบบสำรวจการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมและแหล่งเงินทุน 1.กลุ่มอาชีพเสริมสวย ตัดผม ทำเล็บ นวดสปา จำนวน 55 คน 2.กลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอย 124 คน 3.กลุ่มเกษตรกร 65 คน 4.กลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานรับจ้างสาธารณะ 83 คน ผู้ทำแบบสำรวจ เข้าถึงสิทธิประโยชน์จากสวัสดิการที่รัฐมอบให้ 1. บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2. บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 3. ประกันสังคม มาตรา 40
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-08-29)
29/08/2566 : ประสานตามหนังสือที่ กท 1504/1948 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2566 ประชาสัมพันธ์การรับทราบและสำรวจการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมและแหล่งเงินทุนของแรงงานนอกระบบประจำปี พ.ศ.2566 เพื่อเตรียมรวบรวมประเมินผล
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-07-27)
27/07/2566 : ติดตาม ประสานงานสำนักงานเขต ตามหนังสือที่ กท 1504/1948 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2566 ประชาสัมพันธ์การรับทราบและสำรวจการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมและแหล่งเงินทุนของแรงงานนอกระบบประจำปี พ.ศ.2566
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-29)
29/06/2566 : ส่งหนังสือประสานสำนักงานเขตเพื่อประชาสัมพันธ์ให้แรงงานนอกระบบและประชาชนทั่วไปรับทราบสวัสดิการทางสังคมและแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-05-31)
31/05/2566 : จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 ณ โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (ดินแเดง 1) โดยเชิญหน่วยงานร่วมกิจกรรมดังนี้ 1.ประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3 (มาตรา 40) 2. กองทุนการออมแห่งชาติ 3. สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) 4. ธนาคารออมสิน
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-27)
27/04/2566 : อยู่ระหว่างปิดการเรียนการสอน เปิดเรียนการสอนวันที่ 16 พค.66
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-29)
1.วันที่ 25 มกราคม 2566 ประชุมวางแผนร่วมกับธนาคารออมสินเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งเงินทุน 2. วันที่ 9 มีนาคม 2566 ประชุมหารือเรื่องการดำเนินการโครงการออมสิน กทม ฝึกอาชีพ พิชิตฝัน เพื่อสนับสนุนและต่อยอดการประกอบของนักเรียนโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้แรงงานนอกระบบที่มาฝึกอาชีพได้รับทราบ และเข้าถึงแหล่งเงินทุน กำหนดจัดกิจกรรมครั้งที่ 1 วันที่ 28 มีนาคม 2566 โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (หลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุปถัมภ์)
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 39.00 (2023-02-27)
27/02/2566 : ประชุมวางแผนร่วมกับธนาคารออมสินเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งเงินทุน เริ่มกิจกรรม ประมาณภาคเรียนที่ 1/2566 (เปิดเรียนวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 – 25 สิงหาคม 2566) โดยกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาวิชาชีพระยะสั้นโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร 10 แห่ง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-30)
30/01/2566 : วางแผนการดำเนินงาน
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2022-12-27)
27/12/2565 : วางแผนการดำเนินงาน
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-11-29)
29/11/2565 : -
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------