ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล (โทร. 6566)
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานครยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร เป็นผลจากขาดการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชนต้องสัมผัสสภาวะมลพิษทั้งจาก เสียงดัง กลิ่นเหม็น ฝุ่นละออง ควันพิษ มูลฝอย และน้ำเสีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน ผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบกิจการ และชุมชน โดยพบว่า มีสถิติการร้องเรียนปัญหาเหตุรำคาญในเขตกรุงเทพมหานครปี 2557 - 2559 จำนวน 3,672 9,175 และ 9,666 ราย และความเจ็บป่วยที่เกิดจากความบกพร่องด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ปี 2557 (1 ม.ค. - 31 ต.ค.57) พบ โรคอุจาระร่วง โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ ไข้เลือดออก และโรคอาหารเป็นพิษ มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนราย เท่ากับ 567.54 295.55 116.47 60.03 45.00 ตามลำดับ และข้อมูลกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม รายงานว่าในปี 2558 จังหวัดที่มีจำนวนการประสบอันตรายสูงสุดคือกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวน 27,500 ราย (ร้อยละ 28.74 ) ปัญหาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมมีสาเหตุปัจจัยเกี่ยวเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะภาวะโลกร้อน มีการเพิ่มขึ้นของโรคระบาด โรคระบาดอุบัติใหม่ที่แพร่กระจายข้ามพื้นที่อย่างรวดเร็ว เช่น โรคไข้หวัดซาร์ส ไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา เป็นต้น การเกิด สาธารณภัยที่มีแนวโน้มเกิดถี่และรุนแรงขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลกระทบสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนจำนวนมาก ซึ่งกระทบต่อการดำรงชีพทั้งเรื่องที่พักอาศัย อาหาร น้ำ ขยะ การจัดการสิ่งปฏิกูล นอกจากนี้การเข้าร่วมประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการอพยพเคลื่อนย้ายประชากรระหว่างประเทศสมาชิก การขยายตัวทางเศรษฐกิจภาคการผลิต การคมนาคม การท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งจะมีปัญหาทางด้านสาธารณสุข มลพิษสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตตามมา การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อการดำเนินการแก้ไขปัญหาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมยังอยู่ในขอบเขตจำกัด ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครมีการดำเนินการในลักษณะการปฏิบัติ ฝ่ายเดียวโดยเป็นการสั่งการหรือใช้มาตรการทางกฎหมายบังคับ ซึ่งอาจทำให้ประชาชนไม่เข้าใจหรือบางครั้งอาจเกิดการต่อต้านหรือหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นผลจากขาดการส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการรู้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านสุขลักษณะตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่กฎหมายกำหนด และส่งผลต่อกระบวนการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ยังขาดประสิทธิภาพ การตอบสนองประชาชนในการแก้ไขปัญหาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ต้องมีความแม่นยำ รวดเร็ว และได้มาตรฐานสากล เป็นความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ด้วยการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้านการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและกฎหมาย ประกอบการวิเคราะห์แก้ไขปัญหามากขึ้น บุคลากรด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมจึงต้องมีการอบรมพัฒนาองค์ความรู้และทักษะให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของปัญหาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานครมีความพยายามแก้ไขปัญหาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเพราะเกี่ยวข้องและกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยประชาชน มีหน่วยงานรองรับ คือ สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย และฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล 50 สำนักงานเขต เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ได้แก่ กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 135 ประเภท รวม 41,772 แห่ง อาคารที่พักอาศัยและอาคารสาธารณะ รวม 2,630,651 หลังคาเรือน (ปี 2557) และเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่3) พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 และมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 กำหนดให้หน่วยงานราชการต่างๆ ต้องมีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในหน่วยงานของตนไม่ต่ำกว่ามาตรฐานตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นต้น โดยมีโครงการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอยู่ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ.2556 - 2575) และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ.2561 - 2565) ด้านที่ 1 มหานครปลอดภัย มิติที่ 1.6 ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย และการพัฒนาบุคลากรสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในด้านที่ 7 การบริหารจัดการเมืองมหานคร มิติที่ 7.3 การบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งปรากฏในแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานครประจำปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักอนามัย ซึ่งเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อให้แก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน สำนักงานเขตพระนครจึงได้จัดทำโครงการค่าใช้จ่ายกรุงเทพฯเมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย ปีงบประมาณ 2564 ขึ้นเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงการจัดทำฐานข้อมูลจากสถานประกอบการทุกแห่งในพื้นที่เขตพระนคร การจัดการและควบคุมปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมที่เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะกับการดำรงชีพของประชาชนกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองสุขภาพ
50010400/50010400
1 เพื่อส่งเสริมการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการ และการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของอาคารที่พักอาศัย และสถานที่ทำงานให้มีสภาวะสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยที่ดี 2 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ คนงาน ชุมชน และประชาชนทั่วไป 3 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ คนงาน ชุมชน และประชาชนทั่วไป
1 สนับสนุนการปฏิบัติงานหรือการบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่เขตพระนคร ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง 2 แก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในเรื่องการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันปัญหาด้านสาธารณสุข ปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญและการส่งเสริมสุขภาพ นอกเหนือจากการปฏิบัติงานปกติ 3 เพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ คนงาน ชุมชน และประชาชนทั่วไป ให้ทราบและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4 ส่งเสริมสุขภาพและสร้างเสริมความรู้ด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือการดำรงชีวิตประจำวัน และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องในกรณีจำเป็น เร่งด่วนหรือฉุกเฉิน
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-07-27)
27/07/2564 : สรุปผลการดำเนินงานรายงานให้ผู้อำนวยการเขต
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2021-06-28)
28/06/2564 : สรุปผลการดำเนินงานรายงานให้ผู้อำนวยการเขต
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2021-05-28)
28/05/2564 : ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ในการตรวจและส่งเสริมให้สถานประกอบการมีการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการ อาคารที่พักอาศัย สถานที่ทำงานให้มีสภาวะสุขาภิบาลและอาชีวอนามัยที่ดี และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนการปฏิบัติงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-04-28)
28/04/2564 : ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ในการตรวจและส่งเสริมให้สถานประกอบการมีการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการ อาคารที่พักอาศัย สถานที่ทำงานให้มีสภาวะสุขาภิบาลและอาชีวอนามัยที่ดี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-03-26)
26/03/2564 : ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ในการตรวจและส่งเสริมให้สถานประกอบการมีการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการ อาคารที่พักอาศัย สถานที่ทำงานให้มีสภาวะสุขาภิบาลและอาชีวอนามัยที่ดี
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-02-25)
25/02/2564 : ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ในการตรวจเฝ้าระวัง ประชาสัมพันธ์และบังคับใช้กฎหมายกับร้านค้า สถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ สถานที่ควบคุมการสูบบุหรี่
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-01-29)
29/01/2564 : ปฏิบัติงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2020-12-25)
25/12/2563 : .ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ในการตรวจเฝ้าระวัง ประชาสัมพันธ์และบังคับใช้กฎหมายกับร้านค้า สถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ สถานที่ควบคุมการสูบบุหรี่
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-26)
26/11/2563 : จัดทำแผนปฏิบัติงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-29)
29/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...การเตรียมการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของการจัดทำโครงการประจำของสำนักงานเขตพระนคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 52.08
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **