ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล (โทร. 6566)
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
โรคไข้เลือดออกเป็น ๑ ใน ๕ ของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานครในปี ๒๕๖๑ (๗ มกราคม ๒๕๖๑ – ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๑) พบว่า มีผู้ป่วยสะสมจำนวน ๗,๘๑๖ ราย อัตราป่วย ๑๓๗.๕๕ ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต ๑๐ ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ ๐.๑๓ โดยจำนวนผู้ป่วยที่พบมากที่สุดเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง ๑๐ – ๑๔ ปี รองลงมา ได้แก่ กลุ่มอายุ ๕ – ๙ ปี และ ๑๕ – ๒๔ ปี ตามลำดับ โดยอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ ๘๐ (ปี ๒๕๕๖ – ๒๕๖๐) มีค่าเท่ากับ ๓๑๒.๖๒ ต่อแสนประชากร ซึ่งอัตราป่วยอยู่ในระดับสูงและยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในลำดับต้นๆ ของกรุงเทพมหานครที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตทั้งในด้านการเจ็บป่วย เสียชีวิต สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลประชาชน และความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวม ซึ่งโรคไข้เลือดออกมีปัจจัยสนับสนุนมาจากความหนาแน่น แออัด วิถีชีวิต และการเคลื่อนย้ายของประชาชน ทำให้ไม่สามารถจัดการกับภาชนะแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ ตามเป้าหมาย การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและแรงขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน โดยให้ความสำคัญกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันควบคุมโรค ดังนั้น การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่จึงมีความสำคัญ และสอดคล้องกับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๙ ซึ่งได้มีการรับรองมติ “สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาเรื่องไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน เริ่มจากในครัวเรือน ชุมชน หน่วยงาน ทำทุกคน ทำทุกที่ จำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วนทั้งเครือข่ายความร่วมมือต่าง ๆ องค์กร ชุมชน สังคม ครอบครัวและบุคคล โดยนำแนวทางจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน (Integrated Vector Management) มาบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ รวมถึงการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชน ผู้บริหารองค์กร และผู้เกี่ยวข้องทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและประสานความร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครขึ้น เพื่อขยายเครือข่ายให้ครอบคลุม และส่งเสริม พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้มีการดำเนินการด้านควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกตามมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร อย่างยั่งยืนต่อไป
50010400/50010400
1 เพื่อเสริมสร้างระบบกลไกในการดำเนินงานด้านการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทุกระดับ ให้เกิดความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง 3 เพื่อให้ชุมชนจัดตั้งในเขตพระนครเป็นพื้นที่ปลอดลูกน้ำยุงลายและมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายตามเกณฑ์ที่กำหนด
1 เชิงคุณภาพ 1.1 ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สามารถ นำแนวคิดหลักการ องค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาปรับปรุงด้านการ เฝ้าระวังควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่นำโดยยุงลาย รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 ชุมชนจัดตั้งในพื้นที่เขตพระนคร ปลอดลูกน้ำยุงลายและมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด 2 เชิงปริมาณ 2.1 ดำเนินกิจกรรมการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนจัดตั้งในพื้นที่ เขตพระนคร จำนวน 20 ชุมชน โดยมีกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การนำเสนอประเด็นปัญหาและแนวทางการแก้ไขเรื่องโรคไข้เลือดออก กิจกรรมที่ 2 การดำเนินกิจกรรมตามประเด็นปัญหาในชุมชน โดยจัดกิจกรรมกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน กิจกรรมที่ 3 การสรุปรายละเอียด ข้อคิดเห็นการดำเนินกิจกรรม
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-07-27)
27/07/2564 : สรุปผลการดำเนินงานรายงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-06-28)
28/06/2564 : การติดตามความก้าวหน้าและประเมินผล
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2021-05-28)
28/05/2564 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2021-04-28)
28/04/2564 : รณรงค์ให้ความรู้
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2021-03-26)
26/03/2564 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-02-25)
25/02/2564 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-01-29)
29/01/2564 : ดำเนิน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2020-12-25)
25/12/2563 : นำเสนอประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขเรื่องโรคไข้เลือดออก
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-26)
26/11/2563 : จัดทำคำสั่งและแผนดำเนินการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-29)
29/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...การเตรียมการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของการจัดทำโครงการประจำของสำนักงานเขตพระนคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 52.08
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **