ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย : 50010000-6311

สำนักงานเขตพระนคร : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

ด้วยกรุงเทพมหานครได้มีแนวคิดเรื่องการวางยุทธศาสตร์กรุงเทพเมืองอาหารปลอดภัย นับแต่ปี 2548 และได้ประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพเมืองอาหารปลอดภัย ภายใต้วิสัยทัศน์ “กรุงเทพฯ จะเป็นเมืองอาหารปลอดภัย อาหารปลอดโรค ปลอดสารพิษ บริโภคได้อย่างมั่นใจ” โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน โดยกำหนด ยุทธศาสตร์ไว้ 3 ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน เน้นการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการวางระบบการตรวจสอบ และเฝ้าระวังการปนเปื้อนของอาหาร โดยมีมาตรการคือ เพิ่มการตรวจสุขลักษณะของอาหารโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ตรวจทั้งด้านจุลชีววิทยา และพิษวิทยา การเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยงของโรคระบบทางเดินอาหาร โดยการสุ่มตัวอย่างเพื่อการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาทุกปี และมีการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือสารสนเทศทางลึก การจัดให้มีระบบการตรวจรับรองด้านสุขลักษณะสถานที่และสุขลักษณะอาหารโดยหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่ได้มาตรฐานที่กรุงเทพมหานครให้การรับรองขึ้นทะเบียนไว้อย่างเป็นทางการ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างหลักประกันเพื่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค มีมาตรการโดยการจัดตั้งองค์กรทำหน้าที่ตรวจประเมิน และให้การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยในร้านอาหาร โรงอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ตลาด และซูเปอร์มาร์เก็ต และมีการมอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยให้แก่สถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขลักษณะของสถานที่และสุขลักษณะอาหาร ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเปิดระบบให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีมาตรการคือ ปรับเปลี่ยนทัศนคติของเจ้าหน้าที่ทั้งระดับบริหาร หัวหน้าหน่วยงานทุกระดับ และระดับผู้ปฏิบัติงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร ให้เห็นความสำคัญของยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดช่องทางให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อก่อประโยชน์ต่อประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองสุขภาพจากการบริโภคอาหารปลอดภัย และได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยมุ้งเน้นกิจกรรมการทำให้กรุงเทพเป็นเขตอาหารปลอดภัยภายใต้ยุทธศาสตร์กรุงเทพเมืองอาหารปลอดภัย กิจกรรมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกรุงเทพเมืองอาหารปลอดภัยโดยการสร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสารด้านอาหารปลอดภัย การจัดอบรมสัมมนาให้กับชมรมและสมาคมด้านอาหารปลอดภัย และการริเริ่มให้มีอาสาสมัครด้านอาหารปลอดภัย กิจกรรมการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยให้แก่ร้านอาหารที่ผ่านเกณฑ์ด้านสุขลักษณะ และผู้ประกอบการได้รับการอบรมด้านการสุขาภิบาลอาหารตามหลักสูตรที่กรุงเทพมหานครกำหนด กิจกรรมการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ในตลาด ในร้านจำหน่ายอาหาร ในแผงลอยริมบาทวิถี ในซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท และคอนวีเนียนสโตร์ เป็นต้น เพื่อก่อประโยชน์ต่อประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองสุขภาพจากการบริโภคอาหารปลอดภัย จนปัจจุบันสถานการณ์ด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มที่ดีขึ้น กรุงเทพมหานครถูกจัดเป็นอันดับ 1 ของเมืองที่มีอาหารข้างทางดีที่สุดในโลก โดยเว็บไซต์ของสำนักข่าว CNN รายงานผลการจัดอันดับ 23 เมืองที่มีอาหารข้างทางดีที่สุดในโลก ปรากฏว่า กรุงเทพมหานคร อยู่อันดับที่ 1 ถึงสองปีซ้อน คือ ในปี 2559-2560 และรองลงมาจากย่านไชน่าทาวน์ ถนนเยาวราช ซึ่งเป็นจุดที่มีอาหารริมทางดีที่สุด ก็คือบริเวณถนนข้าวสาร ซอยรามบุตรี และย่านบางลำพู ซึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในพื้นที่เขตพระนครและมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวนมาก เนื่องจากมีอาหารมีให้เลือกมากมาย สะดวก สบาย พร้อมรับประทานทันที ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายในเรื่องอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีความยั่งยืนและเกิดประโยชน์ต่อชาวกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยสูงสุด สำนักงานเขตพระนครจึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ขึ้น

50010400/50010400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบการ 2.2 เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร 2.3 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย

เป้าหมายของโครงการ

3.1 ส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารในพื้นที่เขตพระนครสามารถพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหารให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ได้รับป้ายรับรองฯ คิดเป็นร้อยละ 100 3.2 จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจอาหารไม่พบการปนเปื้อน คิดเป็นร้อยละ 90 3.3 จำนวนตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจอาหารไม่พบการปนเปื้อนสารเคมีอันตราย คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-29)

100.00

29/09/2566 : สรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานคร

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 86.00 (2023-07-25)

86.00

25/07/2566 : ดำเนินกิจกรรมเครือข่ายการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ระดับเขต เอกชนที่เกี่ยวข้อง (จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการจัดนิทรรศการและจัดประชุม) และปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 67.00 (2023-05-25)

67.00

25/05/2566 : .ดำเนินกิจกรรมเครือข่ายการสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ระดับเขต

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-04-26)

55.00

26/04/2566 : ตรวจประเมินและส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี (มีการจัดซื้อตัวอย่างอาหาร)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 48.00 (2023-03-27)

48.00

27/03/2566 : ตรวจประเมินและส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี (มีการจัดซื้อตัวอย่างอาหาร)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 41.00 (2023-02-28)

41.00

28/02/2566 : ตรวจประเมินและส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี (มีการจัดซื้อตัวอย่างอาหาร)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 32.00 (2023-01-25)

32.00

25/01/2566 : ตรวจประเมินและส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี (มีการจัดซื้อตัวอย่างอาหาร) และดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย (จัดซื้อวัสดุเคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการล้างตลาดและจัดประชุม)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-30)

10.00

30/12/2565 :

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:สำรวจจำนวนสถานประกอบการอาหารในพื้นที่ ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:จัดทำแผนปฏิบัติงาน
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ตรวจประเมินและส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี โดยดำเนินการตรวจด้านกายภาพวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อโรคและสารเคมีอันตรายในอาหารและน้ำ ในสถานที่เป้าหมาย ได้แก่ ตลาดสด ภัตตาคาร ร้านอาหาร ศูนย์อา
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:จัดกิจกรรมพัฒนาการสุขาภิบาลอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว
:10.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบปรุงและผู้สัมผัสอาหาร ตามหลักสูตรของกรุงเทพมหานคร
:10.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:ดำเนินกิจกรรมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ระดับเขต โดยกำหนดจัดประชุมเครือข่ายฯ จำนวน 1-2 ครั้ง/ปี (ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่เขต ผู้แทนจากโรงเรียน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง)
:10.00%
เริ่มต้น :2023-05-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-05-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:ดำเนินกิจกรรมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ระดับเขต โดยกำหนดจัดประชุมเครือข่ายฯ จำนวน 1-2 ครั้ง/ปี (ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่เขต ผู้แทนจากโรงเรียน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง)
:10.00%
เริ่มต้น :2023-07-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-07-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:ส่งรายชื่อสถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ให้กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย
:10.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 9
:ติดตาม กำกับ สถานประกอบการอาหารที่ได้รับป้ายรับรองฯ ให้มีการรักษาคุณภาพมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 10
:สรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-15 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-15 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50010000-6311

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50010000-6311

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5001-806

ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมให้สถานประกอบการอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของ กรุงเทพมหานครมีบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00

0 / 0
2
50.00

0 / 0
3
80.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **