ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
การดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนการพัฒนา กรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดและปลอดภัย เนื่องด้วยเป็นการ ดำเนินงานที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย ตั้งแต่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกัน ความเสี่ยงต่อสุขภาพก่อนเกิดความเจ็บป่วย การพัฒนานโยบายและมาตรการทางกฎหมายและมาตรฐาน ทางวิชาการบนฐานความรู้ การสื่อสารสาธารณะ รวมถึงการสนับสนุน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน อย่างต่อเนื่องเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างมีสมดุลได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ. ๒๕56 – ๒๕7๕) โดยสร้างความเข้มแข็งของระบบการบริหารจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาในระยะยาวเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร ทั้งบุคลากรจากหน่วยงานภาคการผลิตที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการความสะอาดและความปลอดภัยของเส้นทางการรับสัมผัสสู่ร่างกายและส่งเสริมพฤติกรรมสุขอนามัยและบุคลากรจากหน่วยงานด้านการดูแลรักษาสุขภาพอันเนื่องมาจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เร่งสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจความมั่นคงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพอนามัยของประชาชน ผู้ประกอบอาชีพและนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดปลอดภัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดปลอดภัย ซึ่งจะส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของประชาชนให้ดี
50020400/50020400
2.1 เพื่อส่งเสริมการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยของสถานประกอบกิจการให้มีสภาวะสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยที่ดี
3.1 ร้อยละ 86 ของสถานประกอบกิจการ ได้รับการตรวจสอบแนะนำปรับปรุงด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ เพื่อปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยอย่างถูกต้อง
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-29)
29/09/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-25)
25/08/2566 :อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผน
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-26)
26/07/2566 : ออกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ในการตรวจสถานประกอบที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบและสถานที่ปลอดบุหรี่
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-26)
26/06/2566 : ออกปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ การบังคับใช้กฏหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 จำนวน 12 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ขาดบุคลากรตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข จำนวน 4 ตำแหน่ง
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 58.00 (2023-05-30)
30/05/2566 : อยู่ระหว่างการออกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการตรวจสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบและสถานที่สาธารณะ ตามประกาศ ให้เป็นเขตปลอดบุหรี่
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-28)
28/04/2566 : ออกปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-30)
30/03/2566 : อยู่ระหว่างการออกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการในการตรวจสุขลักษณะ แนะนำสถานประกอบกิจการ
** ปัญหาของโครงการ :ขาดบุคลากรตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของสถานประกอบการ อาคารสถานที่ได้รับการตรวจด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยตามเกณฑ์ที่กำหนด
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 60
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **