ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
โรคไข้เลือดออกเป็น ๑ ใน ๕ ของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจากรายงานสถานการณ์โดยรวมของประเทศจำแนกตามเขตสุขภาพ 13 เขตโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าสถานการณ์โรคไข้เลือดออกย้อนหลังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีอัตราป่วยสะสมสูง ๑ ใน ๕ อันดับแรกของประเทศจำแนกตามเขตสุขภาพเกือบทุกปีคือปี ๒๕๕๙ อยู่ในลำดับที่ ๓ อัตราป่วยสะสม เท่ากับ 129.39 ต่อแสนประชากร ปี 2560 เป็นอันดับ ๑ อัตราป่วยสะสมเท่ากับ 158.76 ต่อแสนประชากร ปี 2561 เป็นอันดับ ๕ อัตราป่วยสะสมเท่ากับ 154.47 ปี 2562 อันดับ ๔ อัตราป่วยสะสมเท่ากับ 219.77 ต่อแสนประชากร ปี 2563 อันดับที่ ๖ อัตราป่วยสะสมเท่ากับ 102.47 ต่อแสนประชากร และในปี ๒๕๖๔ กรุงเทพมหานคร อยู่ในอันดับ ๒ อัตราป่วยสะสมเท่ากับ ๒๒.๕๕ ต่อแสนประชากร โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตสัมพันธวงศ์ ย้อนหลัง 5 ปี มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมดังนี้ ปี 2561 มีผู้ป่วยสะสมจำนวน 43 คน ปี 2562 มีผู้ป่วยสะสมจำนวน 29 คนปี 2563 มีผู้ป่วยสะสมจำนวน 31 คน ปี 2564 มีผู้ป่วยสะสมจำนวน 13 คน และปี 2565 มีผู้ป่วยสะสมจำนวน 5 คน ทั้งนี้ปัจจัยการแพร่ระบาดที่สำคัญของโรคไข้เลือดออก มาจากความหนาแน่นและการเคลื่อนย้ายของประชากร การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน ขณะเดียวกันการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายในพื้นที่ นับว่ามีความสำคัญมากในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๖๗๕) มีเป้าหมายการพัฒนากรุงเทพมหานครสู่การเป็นมหานครปลอดภัย ปลอดโรคคนเมือง จึงกำหนดให้โรคไข้เลือดออกเป็นหนึ่งในเป้าหมายการดำเนินงานด้านการควบคุมโรคติดต่อ และในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๖๖๕) เป็นต้นมา ได้กำหนดมาตรการด้านการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่สำคัญ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคติดต่อไว้ สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครขึ้น โดยมุ่งเน้นการบูรณาการและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรค สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและมีการดำเนินการด้านควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกตามมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง ส่งผลต่อการป้องกันไม่ให้คนในชุมชนป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและไม่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานครอีกต่อไป
50030400/50030400
2.1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
3.1 เชิงคุณภาพ ชุมชนเป้าหมายมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-31)
31/08/2566 : ดำเนินการครบถ้วน พร้อมสรุปรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารรับทราบ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-24)
24/07/2566 : ดำเนินการณรงค์ ป้องกัน และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 25/25 ครั้ง และอยู่ระหว่างดำเนินการตั้งเบิกเงินค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ เป็นเงิน 32,080 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-26)
26/06/2566 : อยู่ระหว่างการณรงค์ ป้องกัน และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 20 ครั้ง/25ครั้ง และตั้งเบิกเงินค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ เป็นเงิน 12,720+10,600 = 23,320 บาท
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-05-25)
25/05/2566 : อยู่ระหว่างการณรงค์ ป้องกัน และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 15 ครั้ง/25ครั้ง และตั้งเบิกเงินค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ เป็นเงิน 12,720+10,600 = 23,320 บาท
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-24)
24/04/2566 : อยู่ระหว่างการณรงค์ ป้องกัน และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 13 ครั้ง/25ครั้ง และตั้งเบิกเงินค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ เป็นเงิน 12,720+10,600 = 23,320 บาท
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2023-03-27)
อยู่ระหว่างการณรงค์ ป้องกัน และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 11 ครั้ง/25ครั้ง และตั้งเบิกเงินค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ เป็นเงิน 12,720 บาท
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2023-02-20)
20/02/2566 : อยู่ระหว่างการณรงค์ ป้องกัน และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 6 ครั้ง/25ครั้ง และตั้งเบิกเงินค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์ เป็นเงิน 12,720 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-23)
23/01/2566 : อยู่ระหว่างการณรงค์ ป้องกัน และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 6 ครั้ง/25ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : อยู่ระหว่างการณรงค์ ป้องกัน และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 4 ครั้ง/25ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของรายงานผลการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายของชุมชน (HI) อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 70
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 70
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **