ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร : 50050000-3363

สำนักงานเขตปทุมวัน : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็น 1 ใน 5 ของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2564 พบว่าผู้ป่วยสะสม จำนวน 1,853 ราย อัตราป่วย 33.16 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต จำนวน 0 ราย ซึ่งอัตราป่วยอยู่ในระดับสูง และยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในลำดับต้นๆ ของกรุงเทพมหานคร ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในด้านการเจ็บป่วย เสียชีวิต สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวม เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและพื้นที่ของกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นชุมชนเมืองอาศัยอยู่กันอย่างแออัด มีการเดินทางของประชาชนต่างถิ่นเข้ามาทำงานและพักอาศัยจำนวนมาก ประกอบกับสภาพครัวเรือนไม่ถูกหลักสุขาภิบาลที่พักอาศัย ทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ต่างๆ โดยปัจจุบันสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตปทุมวัน ยังมีการระบาดต่อเนื่องตลอดทั้งปี จากสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเขตปทุมวัน 5 ปีย้อนหลัง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2564 พบมีผู้ป่วย จำนวน 160 172 72 35 และ 30 ราย ตามลำดับ การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก ให้มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน โดยให้ความสำคัญกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนยุงลายพาหะนำโรคซึ่งเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันควบคุมโรค ดังนั้น การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่จึงมีความสำคัญ และสอดคล้องกับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ได้มีการรับรองมติ “สานพลังปราบยุงลาย โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาเรื่องไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน เริ่มจากครัวเรือน ชุมชน หน่วยงาน ทำทุกคน ทำทุกที่ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วน ทั้งเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ โดยนำแนวทางจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน (Integrated Vector Management) มาบริหารจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขตปทุมวัน ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก รวมทั้งรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคไข้เลือดออกและสามารถป้องกันโรคได้ด้วยตัวเอง อันเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตปทุมวันบรรลุเป้าหมาย

50050400/50050400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทุกระดับให้เกิดความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง 2.2 เพื่อให้พื้นที่ในเขตปทุมวัน เป็นพื้นที่ปลอดลูกน้ำยุงลายตามเกณฑ์ที่กำหนด

เป้าหมายของโครงการ

3.1 ชุมชนในพื้นที่เขตปทุมวัน มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงต่ำ 3.2 มีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเป็นประจำ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-22)

100.00

22/09/2566 :

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-21)

100.00

21/08/2566 :

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-24)

100.00

24/07/2566 : -

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-06-27)

95.00

27/06/2566 : สรุปและจัดทำรายงานการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกและควบคุมลูกน้ำยุงลาย

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-05-23)

90.00

23/05/2566 : สรุปและจัดทำรายงาน

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-04-19)

80.00

19/04/2566 : ดำเนินกิจกรรมการป้องกัน ควบคุมโรคนำโดยยุงลาย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-21)

50.00

21/03/2566 : ดำเนินการป้องกัน ควบคุมโรคน้ำโดยยุง ในพื้นที่เขตปทุมวัน ตามแผน

** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-02-20)

40.00

20/02/2566 : เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 11 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 23,320.-บาท (สองหมื่นสามพันสามร้อยยี่สิบบาทถ้วน)

** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-23)

10.00

23/01/2566 : ดำเนินการป้องกัน ควบคุมโรคน้ำโดยยุง ในพื้นที่เขตปทุมวัน ตามแผน

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:ดำเนินการป้องกัน ควบคุมโรคนำโดยยุงลาย ในพื้นที่เขตปทุมวัน
:90.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:สรุปและจัดทำรายงานการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกและควบคุมลูกน้ำยุงลาย
:10.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50050000-3363

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50050000-3363

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5005-2043

ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเรีจของการดำเนินงานตามโครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ค่าเป้าหมาย : 0

ผลงานที่ทำได้ :

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
()
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
0.00

0 / 0
3
0.00

0 / 0
4
0.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **