ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สำนักงานเขตปทุมวันได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ กรุงเทพเมืองอาหารปลอดภัย ตามวิสัยทัศน์ “กรุงเทพฯ จะเป็นเมืองอาหารปลอดภัย อาหารปลอดโรค ปลอดสารพิษ บริโภคได้อย่างมั่นใจ” ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 – 2565 เพื่อเป็นการป้องกันและเฝ้าระวังการปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษในอาหารและน้ำ กระตุ้นให้ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร เกิดจิตสำนึกในการประกอบปรุงอาหารที่สะอาดปลอดภัย โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ภัตตาคาร ร้านอาหาร ศูนย์อาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาด บาทวิถี และโรงอาหารของสถานศึกษา ในพื้นที่เขตปทุมวัน ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยในกรุงเทพมหานครมีความยั่งยืน ให้หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตื่นตัว ตระหนักถึงความสำคัญของการสุขาภิบาลอาหาร เสริมสร้างภาพลักษณ์ และเป็นการประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง สำนักงานเขตปทุมวันจึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย ประจำปี พ.ศ. 2566 ขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองจากการบริโภคอาหารปลอดภัย
50050400/50050400
2.1 เพื่อปรับปรุง พัฒนามาตรฐานสถานประกอบการอาหาร และโรงอาหารของสถานศึกษาในพื้นที่เขตปทุมวันให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กรุงเทพมหานครกำหนด 2.2 เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารและผู้สัมผัสอาหารในสถานประกอบการ และในสถานศึกษาในเรื่องอาหารปลอดภัย
กิจกรรมที่ 1 ตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานที่จำหน่ายและสะสมอาหารตลาดในพื้นที่เขตปทุมวัน โดยจัดซื้อตัวอย่างอาหารจากสถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ตลาด ในพื้นที่เขตปทุมวัน เพื่อตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อน จำนวน 1,250 ตัวอย่าง กิจกรรมที่ 2 ปรับปรุง ยกระดับมาตรฐานด้านสุขลักษณะการจำหน่ายอาหารในสถานประกอบการอาหาร โดยออกปฏิบัติงานนอกเวลาราชการจำนวน 32 ครั้ง เพื่อตรวจสอบประเมินสุขลักษณะด้านกายภาพของสถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ตลาด ในพื้นที่เขตปทุมวันให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด กิจกรรมที่ 3 คุ้มครองผู้บริโภคและสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย พร้อมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร โดยปฏิบัติงานนอกเวลาราชการจำนวน 8 ครั้ง เพื่อสุ่มตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนทางเคมีและจุลชีววิทยาในตัวอย่างอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น และตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยของอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร ตลาด ในพื้นที่เขตปทุมวัน กิจกรรมที่ 4 พัฒนาความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึก และความร่วมมือของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารและผู้สัมผัสอาหารในสถานศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอาหารปลอดภัย โดยจัดประชุมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษา พื้นที่เขตปทุมวัน จำนวน 2 ครั้ง (เทอมละ 1 ครั้ง) มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 60 คน/ครั้ง รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 120 คน ประกอบด้วย - ผู้สัมผัสอาหารและครู จำนวน 100 คน - เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน กิจกรรมที่ 5 จัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องการสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตปทุมวัน จำนวน 7 แห่ง กิจกรรมที่ 6 พัฒนาความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึก และความร่วมมือของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหาร และผู้สัมผัสอาหารในสถานประกอบการตลาดเกี่ยวกับเรื่องอาหารปลอดภัย โดยจัดประชุมเรื่องการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในตลาดพื้นที่เขตปทุมวัน มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 120 คน ประกอบด้วย - ผู้ประกอบการ ผู้จำหน่ายอาหารในตลาดพื้นที่เขตปทุมวัน จำนวน 110 คน - เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 10 คน กิจกรรมที่ 7 พัฒนาความรู้ความเข้าใจ จิตสำนึก และความร่วมมือของผู้ประกอบการอาหารริมบาทวิถี และผู้สัมผัสอาหารริมบาทวิถีเกี่ยวกับเรื่องอาหารปลอดภัย โดยจัดประชุมเรื่องการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการอาหารริมบาทวิถีในตลาดพื้นที่เขตปทุมวัน มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 100 คน ประกอบด้วย - ผู้ประกอบการ ผู้สัมผัสอาหารอาหารริมบาทวิถี จำนวน 80 คน - เจ้าหน้าที่ดำเนินการ (ฝ่ายสิ่งแวดล้อม ฯ + ฝ่ายเทศกิจ) จำนวน 20 คน
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
๑.๕ - เมืองสุขภาพดี (Healthy City) |
๑.๕.๒ ความครอบคลุมในการจัดให้มีระบบสุขภาพทุติยภูมิและตติยภูมิ% |
๑.๕.๒.๓ พัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-23)
23/08/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-03)
03/08/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-06-21)
21/06/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-05-23)
23/05/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-04-20)
20/04/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2023-03-21)
21/03/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-02-20)
20/02/2566 : 1. ค่าวัสดุในการจัดประชุมกิจกรรมที่ 4 ประชุมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษา พื้นที่เขตปทุมวัน ครั้ง 1/2566 มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 60 คน จำนวน 4 รายการ 2. ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรมที่ 5 นิทรรศการให้ความรู้เรื่องการสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตปทุมวัน จำนวน 7 แห่ง จำนวน 8 รายการ
** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี -
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-01-26)
26/01/2566 :จัดซื้อตัวอย่างอาหารจากสถานประกอบการในพื้นที่เขตปทุมวัน จำนวน 425 ตัวอย่าง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : จำนวนตัวอย่างอาหารที่วางจำหน่ายในเขตปทุมวัน ได้รับการสุ่มตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อน
ค่าเป้าหมาย ตัวอย่าง : 1250
ผลงานที่ทำได้ ตัวอย่าง : 75
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **