ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 0
ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ผลกระทบที่เกิดจากการสูบบุหรี่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญกับบุคคลที่อยู่บริเวณใกล้เคียง และก่อให้เกิดโรคร้ายกับผู้ที่ได้รับควันบุหรี่ จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2560 พบว่า ทั่วประเทศมีประชากรอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ ๑0.๗ ล้านคน เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 72,656 คน สูญเสียทางเศรษฐกิจกว่า 22,000 ล้านบาท สำหรับกรุงเทพมหานครมีผู้สูบบุหรี่ประมาณ 1.2 ล้านคน เป็นผู้สูบประจำ ประมาณ 1 ล้านคน อายุส่วนใหญ่ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรก 16 - 20 ปี รองลงมาอายุ 7 - 15 ปี แสดงให้เห็นว่าเด็กและเยาวชนยังสามารถเข้าถึงบุหรี่ได้ง่าย ในการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ การป้องกันและแก้ไขปัญหาจากการบริโภคยาสูบนั้น มีพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 และ แผนยุทธศาสตร์ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2559 - 2562 เป็นกลไกหลักในการดำเนินงาน ซึ่งคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบกรุงเทพมหานครได้มีมติเห็นชอบให้จัดทำแผนปฏิบัติการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2563 - 2565 โดยมีเป้าหมายลดความชุกของการเสพยาสูบ ของประชากรกรุงเทพมหานคร อายุ 15 ปีขึ้นไป ไม่เกินร้อยละ 13 และความชุกของการได้รับควันบุหรี่ ของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ลดลงร้อยละ 10 จากปี 2560 เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2565 โดยบรรจุกิจกรรมจัดตั้งเครือข่ายการดำเนินงานกรุงเทพมหานครเขตปลอดบุหรี่ การป้องกันมิให้เกิดผู้เสพยาสูบรายใหม่ และเฝ้าระวังธุรกิจยาสูบที่มุ่งเป้าไปยังเด็ก เยาวชนและนักสูบหน้าใหม่ และการบำบัดผู้เสพยาสูบ ไว้ในแผนปฏิบัติการ ที่ผ่านมาสำนักอนามัย โดยสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดได้ดำเนินโครงการกรุงเทพมหานครเขตปลอดบุหรี่ต่อเนื่อง มาตั้งแต่ ปี 2562 - ปัจจุบัน เพื่อสร้างพื้นที่เขตนำร่องในการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ และแผนปฏิบัติการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2563 - 2565 ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานกรุงเทพมหานครเขตปลอดบุหรี่มีความต่อเนื่อง คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตยานนาวา จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพมหานครเขตปลอดบุหรี่ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ สนับสนุนดำเนินงานให้มีเกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเป็นการสร้างสังคมกรุงเทพมหานครเป็นสังคมที่ปลอดภัยจากควันบุหรี่ต่อไป
50060400/50060400
1. เพื่อดำเนินงานควบคุมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบในพื้นที่เขตยานนาวาให้เป็นไปตามกฎหมาย และแผนยุทธศาสตร์ควบคุมยาสูบแห่งชาติ 2. เพื่อให้ความรู้ถึงอันตรายของยาสูบต่อสุขภาพของประชาชน
1.ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่ผู้จำหน่ายยาสูบและผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่เขตยานนาวา จำนวน 100 คน 2.ให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยและอันตรายของยาสูบต่อสุขภาพแก่เด็กและเยาชนในสถานศึกษาเพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่ จำนวน 100 คน
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๑ - ปลอดมลพิษ |
๑.๑.๒ เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพผู้ติดเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีมาตรฐานแ% |
๑.๑.๒.๑ เพิ่มระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด |