ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย : 50060000-3676

สำนักงานเขตยานนาวา : (2566)

0

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 0

ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2556-2575) กำหนดวิสัยทัศน์ให้กรุงเทพมหานครเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” ภายในปี พ.ศ.2575 โดยยุทธศาสตร์ที่ 1 “มหานครปลอดภัย” ให้ความสำคัญกับการเป็นมหานครที่มีอาหารปลอดภัยสำหรับการบริโภค มีเป้าหมาย คือ “ประชาชนบริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ที่กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ครอบคลุมความรอบรู้ด้านสุขภาพ การควบคุมและป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามต่อสุขภาพ การสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี ปัจจุบันกรุงเทพมหานครยังคงเผชิญกับสภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยด้านอาหาร แม้ว่าสถานการณ์โดยรวมจะดีขึ้นโดยลำดับ ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์รวมของวัตถุดิบอาหาร เป็นแหล่งกระจายสินค้า วัตถุดิบอาหาร ส่วนใหญ่ มีการนำเข้ามาจากต่างจังหวัด จากหลากหลายช่องทาง การผลิตวัตถุดิบอาหาร ซึ่งคือต้นน้ำของอาหาร ขั้นตอนการผลิต บางส่วนอยู่นอกเหนือการควบคุมกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้ผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครยังคงพบความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนด้านจุลินทรีย์ สารเคมีอันตรายต่างๆ ในวัตถุดิบอาหาร จากการดำเนินการด้านอาหารปลอดภัยตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นต้นมา ในภาพรวมพบว่าสถานการณ์ ความไม่ปลอดภัยด้านอาหารมีแนวโน้มลดลง ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2558-2562) พบว่าอัตราป่วยต่อแสนประชากรเท่ากับ 68.2 87.8 91.1 100.6 และ 91.20 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี พ.ศ.2558-2561 และลดลงในปี พ.ศ.2562 เพื่อให้การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยในกรุงเทพมหานครมีความยั่งยืนและเกิดประโยชน์ต่อชาวกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองสุขภาพจากการบริโภคอาหารปลอดภัย ดังนั้น สำนักงานเขตยานนาวา จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัยปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ขึ้นต่อเนื่องจากโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อเป็นการคุ้มครองและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ได้บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย อาหารปลอดโรค ปลอดสารพิษ บริโภคได้อย่างมั่นใจ โดยมีภารกิจหลัก 4 ประการ คือ การตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อโรคและสารเคมีในอาหารและน้ำ การจัดอบรม ผู้ประกอบปรุง ผู้สัมผัสอาหารและอาสาสมัครอาหารปลอดภัย การสร้างเครือข่ายอาหารปลอดภัยและการจัดจ้างเจ้าหน้าที่ตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาลเพื่อปฏิบัติงานตามโครงการฯ ทั้งนี้เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนได้ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญ ในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานด้านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่เขตยานนาวาและทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยวได้รับการคุ้มครองสุขภาพจากการบริโภคอาหารปลอดภัย

50060400/50060400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อปรับปรุง พัฒนา ยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการอาหาร ๒.๒ เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานประกอบการอาหาร ๒.3 เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ จิตสำนึกและความร่วมมือขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไปในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย ๒.4 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความมั่นใจในการบริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย

เป้าหมายของโครงการ

3.1 สถานประกอบการด้านอาหารในพื้นที่เขตยานนาวา ได้รับการตรวจสุขลักษณะผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัย ร้อยละ 100 3.2 ร้อยละ 100 ของอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรคเกินเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3.3 ร้อยละ 100 ของตัวอย่างอาหารที่ได้รับการสุ่มตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารพิษ 3.4 ร้อยละ 50 ของสถานประกอบการด้านอาหารมีการปฏิบัติได้มาตรฐาน Green Service 3.5 ร้อยละ 100 ของสถานประกอบการด้านอาหารมีมาตรการในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:จัดทำแผนปฏิบัติงานและดำเนินการตรวจสุขลักษณะและตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อโรคและสารพิษในอาหารและน้ำในกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ตลาดสด ภัตตาคาร/ร้านอาหาร/ศูนย์อาหาร ซูเปอร์มาร์เก็ตและแผงลอยจำหน่ายอาหารริมบาทวิถีในจุดผ่อนผัน
:10.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:จัดทำแผนตรวจสถานประกอบการด้านอาหาร และตรวจประเมินสถานประกอบการด้านอาหาร
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:จัดประชุมเครือข่ายสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน
:10.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:จัดอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครอาหารปลอดภัยในโรงเรียน
:10.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในการทำความสะอาดตลาด
:20.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:ตรวจแนะนำผู้ประกอบการ/ผู้ค้าในตลาด
:20.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ค้าริมบาทวิถีในเรื่องการสุขาภิบาลอาหาร
:10.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50060000-3676

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50060000-3676

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5006-1000

ตัวชี้วัด : ความสำเร็จในการเสนอนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน

ค่าเป้าหมาย : 0

ผลงานที่ทำได้ : 0

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
()
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
25.00

0 / 0
2
40.00

0 / 0
3
0.00

0 / 0
4
0.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **